dc.contributor.author |
วินัย ดะห์ลัน |
|
dc.contributor.author |
สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล |
|
dc.contributor.author |
พิมพ์พร อินนพคุณ |
|
dc.contributor.author |
สุพันธิตรา ชาญประเสริฐ |
|
dc.contributor.author |
โสภณา จาตนิลพันธ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.date.accessioned |
2008-11-13T06:42:04Z |
|
dc.date.available |
2008-11-13T06:42:04Z |
|
dc.date.issued |
2541 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8441 |
|
dc.description.abstract |
การผลิตปลาป่นและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของไทยมีมูลค่าลดลงติดต่อกันหลายปี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าปลาป่นโดยใช้เป็นแหล่งผลิตเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จากนั้นนำเลซิทินดังกล่าวไปใช้ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อนเพื่อตรวจสอบว่าจะสามารถใช้เพิ่มผลผลิตกุ้งและ/หรือเพิ่มจากสะสมกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเนื้อเยื่อกุ้งได้หรือไม่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กุ้งกุลาดำอีกทางหนึ่ง การศึกษาวิจัยทำโดยเปรียบเทียบผลกับเลซิทินจากถั่วเหลือง การพัฒนาเทคนิคการสกัดเลซิทินจากปลาป่นพบว่าการใช้สารละลายอินทรีย์สามชนิดคือ acetone, n-hexane และ alcohol จะให้ผลต่อการสกัดเลซิทินได้ดี โดยพบว่า methanol สามารถสกัดเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง docosahexaenoic acid (DHA) ได้มากกว่าการใช้ ethanol ปลาป่นไทยเกรด 3 ถูกใช้เป็นตัวแทนของปลาป่นไทยเนื่องจากมีองค์ประกอบของ DHA สูงกว่าปลาป่นเกรด 1, 2 และ 4 การศึกษาพบว่าเลซิทินที่สกัดจากปลาป่นนอกและปลาป่นไทยมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ปริมาณสูงขณะที่เลซิทินสกัดจากถั่วเหลืองมีกรดไขมันโอเมก้า 6 สูง นำเลซิทินจากปลาป่นนอก ปลาป่นไทยและจากถั่วเหลืองผสมลงในอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อนให้มีปริมาณเลซิทิน 1.5% เลี้ยงกุ้งด้วยอาหารทั้ง 3 ชนิด เปรียบเทียบผลกับอาหารควบคุมที่ไม่เติมเลซิทิน ผลจากการวิจัยที่ความเค็ม 25 และ 30 ppt กุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เติมเลซิทินจากถั่วเหลืองมีอัตราการเจริญสูงกว่าทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามที่ความเค็ม 30 ppt กุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เติมเลซิทินจากปลาป่นไทยมีการเจริญเติบโตดีเช่นกัน อัตราการรอดของกุ้งกุลาดำวัยอ่อนไม่มีความแตกต่างกันในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรต่างๆ แต่พบว่ากุ้งกลุ่มที่ได้รับเลซิทินมีความสามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้ดีกว่ากุ้งกลุ่มที่ไม่ได้รับเลซิทิน และกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เติมเลซิทินจากปลาป่นไทยสะสมกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโอเมก้า 3 ไว้ในตัวกุ้งมากที่สุด |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2540 |
en |
dc.format.extent |
5277346 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
เลซิติน |
en |
dc.subject |
กุ้งกุลาดำ -- การเพาะเลี้ยง |
en |
dc.subject |
ปลาป่น |
en |
dc.subject |
กรดไขมัน |
en |
dc.title |
การผลิตเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เพื่อใช้เพิ่มผลผลิตกุ้งกุลาดำ : รายงานวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Produce of omega-3 polyunsaturated fatty acid containing lecithins for increasing penaeus monodon production |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
dwinai@netserv.ac.th, winaidahlan@yahoo.com |
|
dc.email.author |
Psomkiat@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
supantitra@chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|