DSpace Repository

การนำกลับทองจากน้ำเสียการผลิตแผงวงจรโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงคู่ควบทังสเตนไตรออกไซด์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เก็จวลี พฤกษาทร
dc.contributor.advisor มะลิ หุ่นสม
dc.contributor.author สัจจพร สังขนาค
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:38:44Z
dc.date.available 2024-02-05T10:38:44Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84442
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษากัมมันตภาพในการนำกลับทองจากน้ำเสียผลิตแผงวงจรพิมพ์โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงคู่ควบทังสเตนไตรออกไซด์ ตัวแปรที่ศึกษา คือ ปริมาณของซิงค์ออกไซด์ (2.5 – 25 โดยน้ำหนัก) พีเอชเริ่มต้นของน้ำเสีย (ประมาณ 7.02 – 11.2) ชนิดของสารล่าโฮล (เมทานอล เอทานอล และไอโซโพรพานอล) ปริมาณสารล่าโฮล (ร้อยละ 10 – 30 โดยโมล) และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา (1.0 – 2.5 กรัมต่อลิตร) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงคู่ควบ ZnO/WO3 ที่ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (5.0ZW) สามารถนำกลับทองได้มากที่สุดคือร้อยละ  99.87 ภายใน 5 ชั่วโมง ค่าพีเอชเริ่มต้นของน้ำเสียจากการผลิตแผงวงจรพิมพ์เท่ากับ 11.21 ความเข้มข้นเอทานอลร้อยละ 20 โดยปริมาตร ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 2 กรัมต่อลิตร ความเข้มแสง 3.57 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง 5.0ZW มีปริมาณที่ว่างออกซิเจนและมีโครงสร้างแบบเฮเทอโรจังชัน (Heterojunction) ที่เหมาะสมส่งผลให้อัตราการรวมตัวกลับระหว่างอิเล็กตรอนและโฮลลดลง รวมทั้งมีตำแหน่งแถบพลังงานเหมาะสมกับช่วงของศักย์ไฟฟ้าการเกิดปฏิกิริยารีดักชันของสารประกอบเชิงซ้อนทองไซยาไนด์ โดยตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวมีเสถียรภาพคงที่แม้ผ่านการใช้งานซ้ำ 6 ครั้ง
dc.description.abstractalternative This research was carried out to recover gold from printed circuit board wastewater using coupled WO3 photocatalysts. The investigated parameters were the ZnO contents coupled with WO3 (2.5 – 25 wt.%), initial pH of wastewater (7.02 – 11.2), type of hole scavenger (methanol, ethanol and iso-propanol), hole scavenger concentration (10 – 30 vol.%) and photocatalyst loading (1.0 – 2.5 g/l). It was found that the ZnO/WO3 photocatalyst synthesized with 5 wt.% of ZnO (5.0ZW) showed the highest gold recovery of 99.87% within 5 h, at initial pH of wastewater of 11.21, ethanol concentration of 20 vol.%, photocatalyst loading of 2 g/l and light intensity 3.57 mW/cm2. An improved photocatalytic activity of 5.0ZW photocatalyst was attributed to the synergetic effect of oxygen vacancies and the constructed heterojunction which can suppress the rate of electron-hole recombination. Besides, the presence of appropriate band alignment with respect to the reduction potential of gold cyanide-complexes promoted the photocatalytic reaction. The 5.0ZW photocatalyst exhibited a high stability even at 6 cycles.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Chemistry
dc.subject.classification Water supply; sewerage, waste management and remediation activities
dc.subject.classification Mining and extraction
dc.title การนำกลับทองจากน้ำเสียการผลิตแผงวงจรโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงคู่ควบทังสเตนไตรออกไซด์
dc.title.alternative Gold recovery from circuit board wastewater using coupled WO3 photocatalysts
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เคมีเทคนิค
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record