dc.contributor.advisor |
บรรเจิด จงสมจิตร |
|
dc.contributor.author |
ปณต ปิ่นสุภา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T10:45:18Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T10:45:18Z |
|
dc.date.issued |
2566 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84475 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาคุณลักษณะและประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาโมลิบดินัมออกไซด์และทังสเตนออกไซด์บนตัวรองรับไบโอชาร์ที่ทำมาจากไม้ไผ่ (Mo/BOC และ W/BOC) โดยการทำปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของเอทานอลไปเป็นเอทิลีนที่อุณหภูมิ 200 - 400 องศาเซลเซียสและทำการแปรค่าเปอร์เซ็นของโลหะที่ใส่ลงไปที่ 2, 5, 7 และ 10% โดยน้ำหนัก วิธีการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาจะใช้วิธีการเคลือบฝังทั้งหมด หลังจากนั้นจะนำตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้ไปทำการทดสอบคุณลักษณะด้วยวิธีต่างๆ เช่น SEM-EDX, XRD และอื่นๆ เป็นต้น ต่อมาจะได้ทำการหาตัวเร่งปฏิกิริยาที่ให้ค่าเปอร์เซ็นคอนเวอร์ชันสูงสุด ค่าการเลือกเกิดของเอทิลีนที่ดีที่สุดและอุณหภูมิที่ทำให้เกิดเอทิลีนมากที่สุด อีกทั้งยังทำการเปรียบเทียบตัวรองรับไบโอชาร์ที่ทำมาจากวัสดุอื่นอีก ได้แก่ ไบโอชาร์จากชานอ้อยและกัญชง โดยผลการทดลองจะได้ว่าเปอร์เซ็นของโลหะที่เหมาะสมที่สุดคือ 10% ทั้งของโมลิบดินัมออกไซด์และทังสเตนออกไซด์ โดย 10%Mo/BOC จะให้ค่าคอนเวอร์ชันสูงที่สุดเท่ากับ 44.6% ค่าการเลือกเกิดเอทิลีนมากสุด 57.5% และอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 400 องศาเซลเซียส 10%W/BOC จะให้ค่าคอนเวอร์ชันสูงที่สุดคือ 6.8% ค่าการเลือกเกิดเอทิลีนสูงสุดเท่ากับ 49.6% และอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 400 องศาเซลเซียส |
|
dc.description.abstractalternative |
This research investigated the characteristics and efficiency of molybdenum oxide catalysts (Mo/BOC) and tungsten oxide catalysts (W/BOC) supported on bamboo-derived biochar. The catalysts demonstrated their efficacy through catalyzing the dehydration of ethanol to ethylene over a temperature range of 200 to 400 degrees Celsius, with various metal loadings of 2, 5, 7, and 10 wt%. The catalyst preparation involved a complete impregnation method, followed by characterization of the catalysts using various techniques such as SEM-EDX, XRD, and other techniques subsequently. The research aimed to identify the catalyst that provides the highest ethanol conversion, optimal selectivity for ethylene, and the temperature yielding maximum ethylene yield. Additionally, a comparison was made with biochar supports derived from other raw materials including bagasse and hemp. The experimental results indicated that the most suitable metal loading was 10 wt% for both for molybdenum oxide and tungsten oxide catalysts, especially, the 10 wt% Mo/BOC was the best catalyst among other catalysts in this study. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Chemical Engineering |
|
dc.subject.classification |
Professional, scientific and technical activities |
|
dc.subject.classification |
Chemical and process |
|
dc.title |
ดีไฮเดรชันของเอทานอลไปเป็นเอทิลีนบนตัวเร่งปฏิกิริยาโมลิบดีนัมออกไซด์และทังสเตนออกไซด์บนตัวรองรับไบโอชาร์ |
|
dc.title.alternative |
Dehydration of ethanol to ethylene over molybdenum oxides and tungsten oxides catalysts on biochar support |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเคมี |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|