DSpace Repository

การปรับปรุงเวลาสิ้นสุดการหยิบแบบรอบเวฟของพาหนะ ลำเลียงวัสดุระบบรางในศูนย์กระจายสินค้าวัสดุก่อสร้าง

Show simple item record

dc.contributor.advisor โอฬาร กิตติธีรพรชัย
dc.contributor.author จุฑามาศ เลขศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-04-17T02:48:24Z
dc.date.available 2024-04-17T02:48:24Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84756
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract ในฐานะงานที่กินเวลา งานขนถ่ายไม่สร้างมูลค่าเพิ่มแต่มีความจำเป็นในกิจกรรมการหยิบสินค้าซึ่งควรถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติในศูนย์กระจายสินค้า ประกอบกับการขาดแคลนแรงงาน ศูนย์กระจายสินค้ากรณีศึกษาจึงได้ประยุกต์ใช้พาหนะลำเลียงวัสดุอัตโนมัติระบบราง หรือ Rail Guided Vehicle (RGV) เพื่อขนถ่ายพาเลทระหว่างอาคารและระบบกึ่งอัตโนมัติ การวิเคราะห์เบื้องต้นของอุปกรณ์ RGV พบว่ามีอรรถประโยชน์การใช้งานต่ำและการปิดรอบการหยิบสินค้า (เวฟ) ที่ล่าช้า เนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างกิจกรรมคลังสินค้าและการขนส่งในทิศทางเดียวของอุปกรณ์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบการกำหนดนโยบายจากปัจจัยต่อไปนี้ 1.การเลือกรับงานจากความสำคัญของงาน 2. การเลือกรับงานจากการพิจารณางานถัดไป 3. การมอบหมายงานให้ RGV และ 4. การเพิ่มจำนวน RGV โดยทำการวิเคราะห์จากการสร้างแบบจำลองสถานการณ์แบบ Monte Carlo ด้วยคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากระบบการลำเลียงงานเป็นแบบไม่สิ้นสุด ดังนั้นการทดลองแต่ละครั้งจึงมีช่วงเวลาก่อนเข้าสู่สภาวะคงตัวระยะเวลา 12 ชั่วโมง ทำซ้ำทั้งหมด 30 ครั้ง ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่เหมาะสม คือ การจัดลำดับความสำคัญของงานจากการพิจารณางานถัดไปแบบจับคู่ โดยมอบหมายงานให้ RGV ที่อยู่ใกล้สถานีมากที่สุด โดยคงจำนวน RGV ในระบบ 38 ตัว ผลลัพธ์ที่ได้ ให้ค่าอรรถประโยชน์ต่อชั่วโมง และ จำนวนพาเลทต่อรอบการเคลื่อนที่ เพิ่มขึ้น 5% และ 21% ตามลำดับ ส่วนเวลาที่ใช้ในการทำงานเวฟ และค่าพลังงานไฟฟ้าต่อวัน ลดลงประมาณ 28.75% และ 23% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ของสถานการณ์ปัจจุบัน
dc.description.abstractalternative As a time-consuming task, transferring has been a necessary non-value added task in the picking activity that should be automated in a distribution center. Coupled with the recent labor shortage, a case study distribution center implemented a Rail Guided Vehicle (RGV) for transferring pallets between buildings and across multiple semi-automatic systems. Because of the imbalance of warehousing activities and the one-directional transportation of RGV, a preliminary analysis of the equipment reveals its low utilization and the delay in executing wave picking. Therefore, the researcher proposed the following operational policies. 1. allocating policy from task priority 2. allocating policy from possible situations 3. dispatching policy and 4. increasing the number of RGVs policy. The policies and the RGV configuration were embedded into a Monte Carlo computer simulation. As a non-terminating simulation, each experiment requires a 12-hour warm-up period and 30 replications. The results suggest that the most suitable policy is the look-ahead task allocation using the closest RGV with 38 RGVs. This policy increases the utilization per hour of RGV and the number of pallets transported per cycle to 5% and 21% while reducing wave picking cut-off time and the electrical cost per day by approximately 28.75% and 23% compared to the current policy.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การปรับปรุงเวลาสิ้นสุดการหยิบแบบรอบเวฟของพาหนะ ลำเลียงวัสดุระบบรางในศูนย์กระจายสินค้าวัสดุก่อสร้าง
dc.title.alternative Improving Wave Picking Cut-Off Time of Rail Guide Vehicles in a Construction Distribution Center
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record