dc.contributor.author |
ดุษฎี ทายตะคุ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
กรุงเทพมหานคร |
|
dc.date.accessioned |
2008-12-02T03:51:41Z |
|
dc.date.available |
2008-12-02T03:51:41Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8489 |
|
dc.description |
วิวัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์ภายใต้เศรษฐกิจในรูปแบบประเพณี -- วิวัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์ภายใต้เศรษฐกิจรูปแบบการค้าเสรี -- วิวัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์ในแนวนิยมความทันสมัยของวัฒนธรรมตะวันตก -- การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและแนวทางการใช้ที่ดิน บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ในอนาคต |
en |
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการศึกษาวิวัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อทำความเข้าใจในพัฒนาการของลักษณะการตั้งถิ่นฐานชุมชนเมืองในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นจุดกำเนิดของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ นับตั้งแต่การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง เทคนิควิทยาการ และความคิด-ความเชื่อ ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องนานกว่าสองร้อยปี จากผลความเข้าใจนี้จะนำไปสู่ข้อสรุปของภาพการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและแนวโน้ม เพื่อเสนอแนะแนวความคิดในอันที่จะเป็นแนวทางของการใช้ที่ดินกรุงรัตนโกสินทร์ในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า บริเวณที่เป็นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ได้มีความเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญดังมีชื่อเรียก “ขนอนบางกอก” มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา จวบจนกระทั่งได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์จึงเป็นศูนย์กลางของการปกครองประเทศซึ่งองค์พระมหากษัตริย์ได้ทรงสร้างพระราชวังต่างๆ ขึ้นเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการแผ่นดิน การใช้ที่ดินในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ช่วงต้น จึงเป็น วัง และชุมชนพักอาศัย โดยมีวัดและตลาดกระจายตัวอยู่ตามชุมชนเหล่านั้น จุดเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญยิ่งเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ได้ทรงปฏิรูปการปกครอง การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ อันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเป็นอย่างมาก คือการ้ที่ดิน-วัง ลดปริมาณลง ขณะที่มีการใช้ที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ราชการเกิดขึ้นมาก นอกจากนี้ได้มีการขยายตัวของการใช้ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมในรูปของอาคารแถว 2 ชั้นขนานไปตามแนวถนนมากยิ่งขึ้น และมีความหนาแน่นแออัดมากขึ้นเมื่อมีการเชื่อมถนนสายหลักเข้าด้วยกันด้วยถนนสายรองในสมัยรัชกาลที่ 7 ตลอดจนเทคนิคการก่อสร้างอาคารได้สูงเกินกว่า 3 ชั้น ในสมัยรัชกาลปัจจุบันได้ทำให้บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์หนาแน่นแออัดไปด้วยอาคารสถานที่ราชการ อาคารพาณิชย์ และอาคารที่จอดรถ การใช้ที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ราชการ และเพื่อพาณิชยกรรมจะเด่นชัดมากขณะที่การพักอาศัยน้อยลง และมีแนวโน้มว่าปริมาณกิจกรรมข้าราชการ และการพักอาศัยของชาวเมืองในบริเวณนี้จะลดลง ขณะที่กิจกรรมในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางต่างๆ ยังคงคึกคักอยู่ และกิจกรรมการพักอาศัยชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นคึกคักมากขึ้น ข้อเสนอทางการใช้ที่ดินในกรุงรัตนโกสินทร์ได้มุ่งไปที่การสืบสานลักษณะการใช้ที่ดินแบบผสม (mixed use) เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูบูรณะเมืองเก่า-ที่ซึ่งคงเอกลักษณ์อันน่าภาคภูมิใจและที่ซึ่งมีวิถีชีวิตเมืองคึกคัก น่าอยู่ อย่างเหมาะสมกับกำลังของพื้นที่ที่จะรองรับได้ |
en |
dc.description.abstractalternative |
This research aims at studying the evolution of Krung Rattanakosin, the origin of Bangkok, for the clear understanding of its development over time in terms of settlement patterns resulted from the interrelationship among may signficant factors; i.e., system of administration, economy, social organization, culture, and technology. The study outcome, then, focuses on the changes and trends of land utilization in order to formulate the land use concept for balancing heritage conservation and urban development. The findings indicate that this area was known as Canen Ban Cock since [Ayutthaya] period. Up until King Rama I had established its as the capital, it then became the administrative centre where many palaces were built for royal residences and government offices. The signficant change was marked in the reign of King Rama V. By reforming the administrative power, education and other infrastructure, the mixed use of palaces were consequently changed into the government office. The urban culture had altered from water- oriented to land-oriented as seen in the form of 2 storey shophouses along the streets. Its density went up higher in the reign of King Rama VII when distributor roads were constructed to link the main arterials. Moreover the construction method in the time of King Rama IX had made the area very compact. The decline in intensity of land uses for government and residential is obviously observed while commercial activity is tending to progress. The recommendation of land use concept is the continuation of the mixed land use for revitalising this old city as our national pride as well as the productive and habitable place within its caring capacity. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.format.extent |
45358573 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การใช้ที่ดิน -- กรุงเทพฯ |
en |
dc.subject |
กรุงเทพฯ -- ประวัติศาสตร์ |
en |
dc.subject |
กรุงเทพฯ -- ภาวะเศรษฐกิจ |
en |
dc.subject |
กรุงเทพฯ -- ภาวะสังคม |
en |
dc.subject |
กรุงเทพฯ -- การเมืองและการปกครอง |
en |
dc.title |
วิวัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์ : การศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางการใช้ที่ดินในอนาคต : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
The evolution of Krung Rattanakosin: a study for land use guidelines |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|