dc.contributor.author | สุวิมล ธนะผลเลิศ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2008-12-08T03:52:55Z | |
dc.date.available | 2008-12-08T03:52:55Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8500 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อ เพื่อ วิเคราะห์กระบวนการฝึกการทำงานที่เหมาะสม เพื่อการติดตามผลการฝึกการทำงาน และเสนอแนวทางส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อด้วยกระบวนการเรียนรู้การฝึกทำงาน ในศูนย์บรรณ สารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ ประชากร คือ ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อ ของโครงการการศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน เป็นชายสมมติชื่อ มิวสิค เป็นหญิงสมมติชื่อ ลูกโป่ง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบหลัก 3 ประการ ประการแรก จากการมอบหมายงานในระยะแรก 13 งานได้แก่ ประทับตราหนังสือ แยกประเภทหนังสือจัดหมวดหมู่ พิมพ์บัตร พิมพ์ซอง ติดแถบแม่เหล็ก ประทับตราวารสาร ตัดปะข่าวการศึกษา ซ่อมหนังสือ บริการวิทยานิพนธ์ ตรวจหนังสือและรับฝากสิ่งของ จัดเก็บจัดเรียงหนังสือภาษาไทยจัดเก็บจัดเรียงหนังสือภาษาอังกฤษ จัดเก็บจัดเรียงวารสารภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ บริการสื่อประสม และสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ พบว่ามิวสิคผ่านเกณฑ์ 6 งาน ไม่ผ่านเกณฑ์ 7 งาน ส่วนลูกโป่ง ผ่านเกณฑ์ 11 งาน ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 งาน ในระยะที่สองให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อเลือกคนละ 4 งาน ผู้เรียนที่ต้องการพิเศษทั้งสองคนเลือก งานใหม่ 2 งานคือ บริการคอมพิวเตอร์และบริการยืม-คืนหนังสือ ผลการฝึกการทำงานในระยะที่สอง พบว่าทั้ง มิวสิคและลูกโป่งผ่านเกณฑ์ 2 งาน ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 งาน ประการที่สอง ผลการติดตามการฝึกการทำงานของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อ จากกลุ่มผู้ใช้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษากลุ่มนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและผู้ปกครองมิวสิคและลูกโป่งโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ พบว่า การเรียนรู้ด้วยกระบวนการฝึกการทำงานเป็นการให้โอกาส ให้ความหวัง ให้ประสบการณ์ ในการพัฒนาการเรียนรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆ จากการทำงานจริง มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น กล้าพูดคุย สามารถปรับตัวได้ มีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงาน มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยงานผู้ปกครองได้มากขึ้น พฤติกรรมปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สามารถนั่งทำงานได้นานและ มีสมาธิมากขึ้น กระบวนการฝึกการทำงานในลักษณะนี้ทำให้ได้สัมผัสสภาพสังคมที่เป็นจริง ช่วยพัฒนาทักษะอารมณ์และสังคม ประการสุดท้าย กระบวนการฝึกการทำงานต้องมีกระบวนการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดควบคู่กันไปด้วย อีกทั้ง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมืออย่างจริงจังรวมทั้งให้ความรัก ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จะสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อมีความพร้อมในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น ช่วยปลูกฝังทักษะการทำงานให้มีระบบ ระเบียบ มีความอดทน มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุขข้อเสนอแนะ หน่วยงานต่างๆ อาจ ใช้กระบวนการฝึกอบรมเช่นเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อได้พัฒนาทักษะการทำงานอันนำไปสู่ความสามารถในการประกอบอาชีพต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study the state and the problems of special need students in transitional period on work-based learning, to analyze and to follow-up the training process, and to propose ways of learning motivation of the students. The research took place at Educational Information Resources Center, Faculty of Education, Chulalongkorn University. It was qualitative and quantitative. The population was 2 special need students in transitional period of special study project of Chulalongkorn University Demonstration School, named Music-Boy and Balloon-Girl. The results of the research consisted of 3 important findings. Firstly, from the 13 assignments : book stamping, book classifying, typing, journal stamping, education news clipping, book repairing, thesis servicing, book checking, Thai and English book shelving, Thai and English journal shelving, multi-media servicing, and learning information searching, it was found that Music-Boy was able to pass 6 assignments and failed 7 while Balloon-Girl passed 11 and failed 2. The two were then allowed to choose 4 works independently. Both chose 2 new works, computer servicing and book borrowing. Music-Boy as well as Balloon-Girl passed 2 works and failed 2. Secondly, the repetition thru interviewing and observing from the three groups, the users, the apprentices, and Music-Boy’s and Balloon-Girl’s parents, showed that the training helped create opportunity, inspiration and experience in learning development, ability and skills, self-confidence, self-opening, selfadjustment, pride of working, responsibility, helping their parents, better conducts, lengthening their work hours, and longer concentration. In shorts, the training helped the trainees experience real life, and develop emotional and social skills. Finally, the training required closed coaching process. Moreover, each group concerning the process must cooperate by giving love and care in order to develop special need students in transitional period to be self-reliant, patient, responsible and punctual, and to gain systematic working skills so that their were able to live happily in their family and in the society. Recommendation was that organizations may adapt this training approaches to give opportunity for special need students to build–up their work skills in order that they could earn their livings. | en |
dc.format.extent | 10343995 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา | |
dc.subject | การศึกษาพิเศษ -- หลักสูตร | |
dc.subject | เด็กพิเศษ -- การทำงาน | |
dc.subject | การเรียนรู้ | |
dc.subject | การฝึกงาน | |
dc.title | การศึกษาสภาพและปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อด้วยกระบวนการเรียนรู้การฝึกการทำงาน: กรณีศึกษาในศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | A study of state and problem of special needs students in transitional period on work-based learning at Educational Information Resources Center, Faculty of Education, Chulalongkorn University | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | suvimon@chulkn.car.chula.ac.th |