DSpace Repository

รูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.author สุวิมล ธนะผลเลิศ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-12-23T04:36:29Z
dc.date.available 2008-12-23T04:36:29Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ภาควิชาที่ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านผลของการให้บริการ ด้านความน่าเชื่อถือของการ ให้บริการ ด้านการสืบค้นสารสนเทศ ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ และด้านสถานที่และ สิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน โดย เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 3) นำเสนอรูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการของศูนย์บรรณ สารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกระดับการศึกษา จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 68 ข้อ และแบบสังเคราะห์ผลการดำเนินงานแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยรวม และเป็นรายด้านทุกด้านว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ด้านผลของการให้บริการ ด้านความน่าเชื่อถือของการให้บริการ ด้านการสืบค้นสารสนเทศ ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ และด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม จำแนกตามตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา ภาควิชาที่ศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า2.1 นิสิตชายและนิสิตหญิงคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็น ต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นิสิตชายและนิสิตหญิงมีความคิดเห็นต่อการจัดบริการของห้องสมุดในด้านความน่าเชื่อถือของการให้บริการด้านการสืบค้นสารสนเทศ ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ และด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 2.2 นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาต่างกันมีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 2.3 นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาในภาควิชาต่างกัน มีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นิสิตในภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยี มีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้านการสืบค้นสารสนเทศ แตกต่างจากนิสิตภาควิชาศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา นิสิตภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 2.4 นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับสูง มีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม แตกต่างจากนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3. นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นต่อการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรวมและเป็นรายด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. รูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ (1) ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากภายใน ประกอบด้วย 1) การวางแผน ได้แก่ การนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ การปรับปรุงโครงสร้าง องค์กร 2) การพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาระบบงาน การพัฒนาบุคลากร 3) สมรรถนะ ได้แก่ บทบาทของผู้นำ และ 4) ความรับผิดชอบ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร (2) กระบวนการที่ส่งผลความสำเร็จ ประกอบด้วย การทำงานอย่างมีคุณภาพ การบริหารจัดการ และการให้บริการ และ (3) ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากภายนอก ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และคุณภาพการบริการ en
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study students’ opinion toward the Education Information Resources Center (EIRC) at the Faculty of Education, Chulalongkorn University in all aspects and in separate aspects: effect of service, believe of service, search of information, access of resources and environment 2) to compare the opinion toward the EIRC service in all and five aspects among students with different sex, class standing, department, and learning achievement, 3) to compare the students’ opinion toward the EIRC service in all and five aspects with the prescribed criteria, and 4) to study the effects of the model toward the success of the service of EIRC. The sample of the study consisted of 410 students in all class levels at the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The research instrument included collecting data with a questionnaire of 68 items regarding students' opinion toward the EIRC service with the reliability of 0.85 Arithmetic mean, standard deviation, t–test, one-way analysis of variance and Scheffe’s method were utilized for data analysis. The results of the study revealed that: 1. The opinion toward EIRC service at the Faculty of Education, Chulalongkorn University in all and each aspect were at the high level. 2. When comparing the opinion toward the EIRC service at the Faculty of Education, Chulalongkorn University in all and each of five aspects among students with different sex, class standing, department, and learning achievement, it was found that: 2.1 There was a statistically significant difference between male and female students regarding the opinion toward the EIRC service in overall aspect at .05 level. When considering each of five aspects, it was found that there was a statistically significant different of the opinion toward EIRC service in the aspect of believe of service, search of information, access of resources and environment in EIRC between male and female students at .05 level. 2.2 There was no significant difference in the opinion toward the EIRC service in all and each of five aspects among students with different class standing. 2.3 There was no significant difference in the opinion toward the EIRC service in all aspect among students in different department. When considering each of five aspects, it was found that there was a statistically significant different of the opinion between students in the development of Curriculum, Instruction, and Educational Technology and those in the department of Arts, Music, and Dance Education, department of Educational Policy, Management, and Leadership, 2.4 There was no significant difference in the opinion toward the EIRC service in all aspect among students with different learning achievement. When considering each of five aspects, it was found that there was a statistically significant different of the opinion between students with high learning achievement and those with low learning achievement at .05 level regarding the EIRC service in the aspect of environment of the EIRC 3. When comparing the opinion toward the EIRC service at the Faculty of Education, Chulalongkorn University of students with the prescribed criteria, it was found that there was a statistically significant difference both in all and each of five aspects. 4. Effect of the model on the success service of EIRC, Composed of 4.1 Internal Success: Planning (Vision and Structure) Development (Person and Work plan) Competencies (Leader) and Responsibilities (Organization culture) 4.2 Process Success: Quality of work, Administration and management, and Services. 4.3 External Success: Higher Education, Academic Library and Service of Quality. en
dc.format.extent 1194225 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา
dc.subject ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด
dc.subject ห้องสมุด -- การบริหาร
dc.title รูปแบบที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title.alternative The model that enhances successful services of Education Information Resource Center, Faculty of Education, Chulalongkorn University en
dc.type Technical Report es
dc.email.author suvimon@chulkn.car.chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record