dc.contributor.author |
มงคล เตชะกำพุ |
|
dc.contributor.author |
จงกลวรรณ มุสิกทอง |
|
dc.contributor.author |
วิชัย ทันตศุภารักษ์ |
|
dc.contributor.author |
วันเพ็ญ ศรีอนันต์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-12-26T04:33:18Z |
|
dc.date.available |
2008-12-26T04:33:18Z |
|
dc.date.issued |
2539 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8569 |
|
dc.description.abstract |
จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อนำวิธีการปฏิสนธินอกร่างกายมาทดสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร (การทดลองที่ 1) และเพื่อศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บน้ำเชื้อสดเจือจางที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส, 5 องศาเซลเซียส และน้ำเชื้อแช่แข็งที่ -196 องศาเซลเซียส นาน 0, 2, 4 และ 6 วัน ต่ออัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิภายนอกร่างกายของสุกร (การทดลองที่ 2) การทดลองที่ 1: นำน้ำเชื้อที่รีดจากพ่อสุกรพันธุ์ดูร็อค ลาร์จไวท์ และแลนด์เรช จำนวนสายพันธุ์ละ 3 ตัว ที่ใช้อยู่ในฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ มาปฏิสนธิกับโอโอไซต์ที่เก็บมาจากรังไข่ของสุกรสาวและนำมาเลี้ยงเพื่อให้พร้อมปฏิสนธิ (นาน 40-44 ชม.) โดยเลี้ยงรวมกันนาน 18 ชม. ที่อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศ 5% คาร์บอนไดออกไซด์ แล้วนำตัวอ่อนที่ได้ไปเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนชนิด ทีซีเอ็ม 199 หรือน้ำยา บี ทู +20% ฟีตัล คาร์ฟ ซีรั่ม นาน 5 วัน เพื่อตรวจดูการแบ่งตัวของตัวอ่อน จากการศึกษาพบว่าพ่อพันธุ์สุกรแต่ละตัวในแต่ละพันธุ์ มีอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิ คืออัตราการแบ่งตัวและอัตราการพัฒนาของตัวอ่อนเป็นระยะมอรูล่าแตกต่างกัน (P<0.001), (P<0.05) ในกรณีที่ไม่พบความแตกต่างของอัตราการแบ่งตัวในระยะแรกระหว่างพ่อสุกรแต่ละตัว การใช้อัตราการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าจะเป็นตัวตัดสินได้ การทดลองที่ 2 : รีดน้ำเชื้อจากพ่อสุกร 2 ตัว (สุกร เอ และสุกร บี) ที่มีคุณภาพดีเพื่อนำไปปฏิสนธิภายนอกร่างกายกับโอโอ-ไซต์ วิธีการปฏิสนธิและการเลี้ยงตัวอ่อนใช้เช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 นำตัวอ่อนประมาณ 10% ในกลุ่มที่ได้จากการปฏิสนธิด้วยน้ำเชื้อที่เก็บที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ตามระยะเวลาต่างๆมาย้อมสีอาซิโต-ออซิน เพื่อสังเกตอัตราการปฏิสนธิ และที่เหลือนำมาเลี้ยงในน้ำเพาะเลี้ยงเพื่ออัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนเช่นเดียวกับกลุ่ม 5 องศาเซลเซียส และ -196 องศาเซลเซียส ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเก็บน้ำเชื้อเป็นระยะเวลา 0, 2, 4, 6 วัน ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส อัตราการแบ่งตัวอ่อนลดลงตามระยะเวลาที่เก็บรักษาน้ำเชื้อ (P<0.05, P<0.01 และ 0.001) โดยอัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนเมื่อใช้น้ำเชื้อจากสุกร บี มีแนวโน้มสูงกว่าเมื่อใช้น้ำเชื้อจากสุกรเอ แต่ผลนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อนำน้ำเชื้อจากสุกร บี มาเก็บที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 0, 2, 4, 6 วัน พบว่าอัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนต่ำกว่าเมื่อเก็บน้ำเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส (P<0.01) โดยระยะเวลาในการเก็บน้ำเชื้อไม่มีผลต่ออัตราการแบ่งตัวของตัวอ่อนเมื่อเก็บน้ำเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับที่พบในกรณีของน้ำเชื้อแช่แข็ง ผลการวิจัยทั้งสองการทดลองนี้สรุปได้ว่าสามารถนำวิธีการปฏิสนธินอกร่างกายไปทดสอบคุณภาพของน้ำเชื้อในแง่ความสมบูรณ์พันธุ์ และระยะเวลาการเก็บน้ำเชื้อของสุกรที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส มีผลต่ออัตราการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย แต่ผลดังกล่าวไม่พบในกรณีที่เก็บน้ำเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และ -196 องศาเซลเซียส |
en |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of the studies were to apply the in vitro fertilization technique for testing boar semen quality (experiment I) and to examine the effect of the length of semen preservation time (0, 2, 4, 6 days) at 15 degree Celsius , 5 degree Celsius and frozen semen at -196 degree Celsius on the success of in vitro fertilization (experiment II) In experiment I, ejaculate semen from 3 different breeds, actually used in breeder farm; Duroc, Large White and Landrace, 3 boar from each breed. After sperm preparation, the spermatozoa were co-incubated with 40-44 h-IVM porcine follicular oocytes. The processes were performed at 39 degree Celsius under 5% CO [subscript 2] in air. After 18h of sperm-oocyte incubation, the embryos were cultivated TCM 199 or B2 medium+20% fetal calf serum for 5 days to observe embryo development. The result of culture showed that the cleavage rate and the morula formation rate were significantly different among 3 boars in each breed (P<0.001, P<0.05). The rate of morula formation can finally used to differentiate the quality of semen in case of no difference of early cleavage from boars (P<0.05) was found. In Experiment II, semen was collected from 2 mature boars (Boar A and Boar B). The processes of IVF were similar to the above experiment. After IVF, 10% of embryos in 15 degree Celsius group were fixed and stained by aceto-orcein to evaluate the fertilization. The embryos in all groups of treatment were cultured for 3 days to assess the fertilization and cleavage rate. The results showed that the fertilization and cleavage rates at 15 degree Celsius reduced significantly (P<0.05, P<0.01 and P<0.001) when the time of preservation was prolonged from 0 to 2, 4, 6 days. No difference of IVF success was found between Boar A and Boar B although it seemed that Boar B’s was better than Boar A’s. Semen preservation at 5 degree Celsius reduced the success rate compared to 15 degree Celsius (P<0.01). However, the effect of the length of the time preservation was not found at 5 degree Celsius and -196 degree Celsius. In conclusion, these two studies showed that the technique of in vitro fertilization can be used for testing the boar semen quality in term of fertilizing ability and the success of IVF was affected by the length of the time of semen preservation at 15 degree Celsius while they were not in case of 5 degree Celsius and -196 degree Celsius preservation. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2539 |
en |
dc.format.extent |
5077934 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สุกร -- ตัวอ่อน |
en |
dc.subject |
อสุจิ |
en |
dc.subject |
ปฏิสนธิในหลอดแก้ว |
en |
dc.title |
การศึกษาผลของคุณภาพน้ำเชื้อและระยะเวลาในการเก็บน้ำเชื้อ ต่อความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายในสุกร : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
The effect of semen quality and time of semen preservation on in vitro fertilization in the pig |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
mongkol.t@chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
wichai.t@chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|