DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการรับกฎหมายต้นแบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศมาใช้ในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.author พิมพาวดี โกมลฐิติ, 2521-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial มาเลเซีย
dc.date.accessioned 2006-07-18T12:47:56Z
dc.date.available 2006-07-18T12:47:56Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9745310123
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/857
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎหมายอนุญาโตตุลาการของประเทศมาเลเซียและประเทศไทยที่มีการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายต้นแบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแล้ว โดยเน้นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างร่างกฎหมายอนุญาโตตุลาการของประเทศมาเลเซียและพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ของประเทศไทย ว่าหลังจากการรับกฎหมายต้นแบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศมาใช้แล้วมีปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง จากการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนพบว่าบทบัญญัติส่วนใหญ่ของกฎหมายอนุญาโตตุลาการทั้งสองประเทศนั้น มีความใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง เนื่องจากมีการรับเอากฎหมายต้นแบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (UNCITRAL) มาใช้เกือบทั้งหมด มีเพียงรายละเอียดเพียงเล็กน้อยที่ได้มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับกฎหมายของแต่ละประเทศ หลังจากการรับเอากฎหมายต้นแบบฯ มาเป็นหลักในการร่างกฎหมายใหม่ของตนแล้วพบว่ามีปัญหาในทางปฎิบัติบางประการ โดยผู้เขียนได้ตั้งประเด็นปัญหาไว้ 6 ประการ คือ ความรับผิดของอนุญาโตตุลาการ การไม่แบ่งแยกระหว่างการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศและการอนุญาโตตุลาการภายในประเทศ เขตอำนาจและบทบาทของศาล การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ จำนวนอนุญาโตตุลาการ และเรื่องการกำหนดข้อบังคับเพิ่มเติมของหลักการเลือกใช้และเลือกไม่ใช้ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนได้สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นและได้เสนอความคิดเห็นที่มีต่อปัญหาดังกล่าว ซึ่งหากได้รับการพิจารณานำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเช่นว่านั้น จะส่งผลให้ระบบกฎหมายอนุญาโตตุลาการได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับจากนานาอารยะประเทศ ทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต่อไปในอนาคต en
dc.description.abstractalternative This thesis intends to study arbitration law in Malaysia and Thailand, the two countries in which the Model Law on International Commercial Arbitration have been used to reform the lex arbitri. The study compares the draft law of Malaysia and the Arbitration Act of B.E. 2545 (A.D. 1992) of Thailand to see the ensuing problems of the adoption of Model Law. The study reveals that most provisions of the two countries are quite similar for the Model Law is being adopted almost en bloc in both countries. Only minor adaptations were made to make the arbitration law of each country to suit the local legal system. There are six practical subjects which this author pays attention to, namely the liability of the arbitrator, the non-differentiation between International Commercial Arbitration and the local one, jurisdiction and the role of the court, the permission of expatriate to work as arbitrator, number of arbitrator and finally the opt. in and opt. out provision. However, this author has summed up the problems and proposed her opinions to cure those problems and once a revision is made to recognize the need to avoid those defects; such action would render the arbitration law of the land to meet international standard and acceptable to civilized nations. Thailand in particular, would be able to offer itself as a service center to help resolving commercial disputes among the countries in the ESCAP region in the very near future. en
dc.format.extent 32019211 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การอนุญาโตตุลาการ--ไทย en
dc.subject การอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ en
dc.subject การอนุญาโตตุลาการ--มาเลเซีย en
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการรับกฎหมายต้นแบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศมาใช้ในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย en
dc.title.alternative Comparative studies concerning the adoption of model law on international commercial arbitration in Malaysia and Thailand en
dc.type Thesis en
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Phijaisakdi.H@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record