Abstract:
ศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียน เหตุผล ของเด็กวัยเรียนในการตัดสินใจเลือกที่จะ แสดงออกหรือไม่แสดงออกทางอารมณ์ เมื่อมีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์ และวิธีการที่เด็กใช้ในการแสดงออกหรือไม่แสดงออกทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 7 ปี จำนวน 200 คน (เด็กชาย 100 คน เด็กหญิง 100 คน) ในเขตกรุงเทพมหานคร เริ่มแรกแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มตามเงื่อนไขบุคคลสำคัญทางสังคม ได้แก่ บิดา มารดา ครู และเพื่อน จากนั้นเล่าสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจหรืออารมณ์โกรธให้กลุ่มตัวอย่างฟัง แล้วถามคำถามเกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เหตุผลที่เด็กใช้ในการตัดสินใจ และวิธีการที่เด็กใช้ในการแสดงออกหรือไม่แสดงออกทางอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.เด็กวัยเรียนทั้งชายและหญิงมีการแสดงออกทางอารมณ์น้อยกว่าไม่แสดงออกทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทั้งในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจและอารมณ์โกรธ และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในการแสดงออกทางอารมณ์ในทุกสถานการณ์ โดยในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจเด็กวัยเรียนแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อมีบิดาและ มารดาอยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ เด็กวัยเรียนแสดงออกทางอารมณ์เมื่อมีบิดาและมารดาอยู่ร่วมในสถานการณ์ มากกว่าเมื่อมีครูอยู่ร่วมในสถานการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 2. ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคม ของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น เด็กวัยเรียนเลือกใช้เหตุผล การคาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือหรือผลประโยชน์บางอย่างจากบุคคลอื่น มากที่สุดในการแสดงออกทางอารมณ์ และใช้เหตุผลประเภทนี้เมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนเหตุผลที่ใช้ ในการไม่แสดงออกทางอารมณ์นั้น เด็กวัยเรียนเลือกใช้เหตุผลการหลีกเลี่ยงการได้รับปฏิสัมพันธ์ทางลบ จากผู้อื่นมากที่สุดในทุกสถานการณ์ และใช้เหตุผลประเภทนี้เมื่อมีเพื่อน อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีบิดามารดาและครู อยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนี้เด็กวัยเรียนยังเลือกใช้เหตุผลว่าเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องของบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเมื่อมีครู อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมี เพื่อน อยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สำหรับในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น เด็กวัยเรียนเลือกใช้ เหตุผล การคาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือหรือผลประโยชน์บางอย่าง จากบุคคลอื่นมากที่สุดในการแสดงออกทางอารมณ์ และเหตุผลที่ใช้มาก ที่สุดในการไม่แสดงออกทางอารมณ์ คือเพื่อหลีกเลี่ยงผลในทางลบที่จะตามมา 3. ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์ เด็กวัยเรียนใช้วิธีการแสดงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงอารมณ์มากที่สุด ในการแสดงออกทางอารมณ์ และใช้วิธีการนี้เมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเด็กวัยเรียนยังใช้วิธีการแสดงออกทางสีหน้าเมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนวิธีการที่ใช้ในการไม่แสดงออกทางอารมณ์นั้น การแสดงกริยาเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นวิธีการที่เด็กวัยเรียนใช้มากที่สุดในทุกสถานการณ์ และใช้วิธีการนี้เมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วม ในสถานการณ์ มากกว่าเมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็ก อยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น เด็กวัยเรียนใช้วิธีการ การแสดงออกทางสีหน้ามากที่สุดในการแสดงออกทางอารมณ์ทุกสถานการณ์ และใช้การแสดงกริยาเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากที่สุด ในการไม่แสดงออกทางอารมณ์ในทุกสถานการณ์