DSpace Repository

การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียน เมื่อมีบุคคลสำคัญทางสังคมของตนอยู่ร่วมในสถานการณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิรางค์ ทับสายทอง
dc.contributor.author ปรารถนา กระแสสินธุ์, 2519-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2006-05-27T05:33:32Z
dc.date.available 2006-05-27T05:33:32Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740314678
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/87
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract ศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียน เหตุผล ของเด็กวัยเรียนในการตัดสินใจเลือกที่จะ แสดงออกหรือไม่แสดงออกทางอารมณ์ เมื่อมีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์ และวิธีการที่เด็กใช้ในการแสดงออกหรือไม่แสดงออกทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 7 ปี จำนวน 200 คน (เด็กชาย 100 คน เด็กหญิง 100 คน) ในเขตกรุงเทพมหานคร เริ่มแรกแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มตามเงื่อนไขบุคคลสำคัญทางสังคม ได้แก่ บิดา มารดา ครู และเพื่อน จากนั้นเล่าสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจหรืออารมณ์โกรธให้กลุ่มตัวอย่างฟัง แล้วถามคำถามเกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เหตุผลที่เด็กใช้ในการตัดสินใจ และวิธีการที่เด็กใช้ในการแสดงออกหรือไม่แสดงออกทางอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.เด็กวัยเรียนทั้งชายและหญิงมีการแสดงออกทางอารมณ์น้อยกว่าไม่แสดงออกทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทั้งในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจและอารมณ์โกรธ และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศในการแสดงออกทางอารมณ์ในทุกสถานการณ์ โดยในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจเด็กวัยเรียนแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อมีบิดาและ มารดาอยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ เด็กวัยเรียนแสดงออกทางอารมณ์เมื่อมีบิดาและมารดาอยู่ร่วมในสถานการณ์ มากกว่าเมื่อมีครูอยู่ร่วมในสถานการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 2. ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคม ของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น เด็กวัยเรียนเลือกใช้เหตุผล การคาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือหรือผลประโยชน์บางอย่างจากบุคคลอื่น มากที่สุดในการแสดงออกทางอารมณ์ และใช้เหตุผลประเภทนี้เมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนเหตุผลที่ใช้ ในการไม่แสดงออกทางอารมณ์นั้น เด็กวัยเรียนเลือกใช้เหตุผลการหลีกเลี่ยงการได้รับปฏิสัมพันธ์ทางลบ จากผู้อื่นมากที่สุดในทุกสถานการณ์ และใช้เหตุผลประเภทนี้เมื่อมีเพื่อน อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีบิดามารดาและครู อยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนี้เด็กวัยเรียนยังเลือกใช้เหตุผลว่าเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องของบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเมื่อมีครู อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมี เพื่อน อยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สำหรับในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น เด็กวัยเรียนเลือกใช้ เหตุผล การคาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือหรือผลประโยชน์บางอย่าง จากบุคคลอื่นมากที่สุดในการแสดงออกทางอารมณ์ และเหตุผลที่ใช้มาก ที่สุดในการไม่แสดงออกทางอารมณ์ คือเพื่อหลีกเลี่ยงผลในทางลบที่จะตามมา 3. ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เสียใจ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็กอยู่ร่วมในสถานการณ์ เด็กวัยเรียนใช้วิธีการแสดงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงอารมณ์มากที่สุด ในการแสดงออกทางอารมณ์ และใช้วิธีการนี้เมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเด็กวัยเรียนยังใช้วิธีการแสดงออกทางสีหน้าเมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์มากกว่าเมื่อมีครูอยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนวิธีการที่ใช้ในการไม่แสดงออกทางอารมณ์นั้น การแสดงกริยาเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นวิธีการที่เด็กวัยเรียนใช้มากที่สุดในทุกสถานการณ์ และใช้วิธีการนี้เมื่อมีครูและเพื่อนอยู่ร่วม ในสถานการณ์ มากกว่าเมื่อมีบิดาและมารดา อยู่ร่วมในสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ ที่มีบุคคลสำคัญทางสังคมของเด็ก อยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น เด็กวัยเรียนใช้วิธีการ การแสดงออกทางสีหน้ามากที่สุดในการแสดงออกทางอารมณ์ทุกสถานการณ์ และใช้การแสดงกริยาเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากที่สุด ในการไม่แสดงออกทางอารมณ์ในทุกสถานการณ์ en
dc.description.abstractalternative To study emotional expression of school-age children, reasons of their decision to express or not express emotion at the presence of their significant persons in a specific situation, and means of emotional expression or nonexpression. Subjects were 200 children aged 7 (100 boys and 100 girls) in the Bangkok Metropolis. The subjects were randomly tested in a conditions which their significant persons : father, mother, teacher, and peer were present. They were told stories which stimulated two types of emotion : sadness or anger. Subjects were then individually interviewed about their display of emotion, reasons of their decision, and means of emotional expression or nonexpression. The results of the study are as follows : 1.Both boys and girls display emotional expression less than emotional nonexpression in both sad and angry situations at the significant level of 0.001. There is no sex difference in emotional expression of school-age children in both situations. In the sad situation, they display emotion at the presence of father and mother more than of teacher and peer at the significant level of 0.001. But in the angry situation, they display emotion at the presence of father and mother more than of teacher at the significant level of 0.001. 2.In the sad situation at the presence of significant persons, school age children choose the reason in expecting to receive help or benefit from others most and they use it at the presence of father and mother more than of teacher and peer at the significant level of 0.001. However, the most popular reason for emotional nonexpression of school-age children is avoiding negative interpersonal interaction and they use this reason at the presence of peer more than of father, mother and teacher at the significant level of 0.001. Moreover, school-age children also choose the reason that the incident do not concern other persons at the presence of teacher more than of father, mother and peer at the significant level of 0.001. In the angry situation at the presence of significant persons, school-age children choose the reason in expecting to receive help or benefit from others most for their emotional expression and the most popular reason for emotional nonexpression was avoiding negative consequences. 3. In the sad situation at the presence of significant persons, school-age children use affective behavior as most popular means and they use it at the presence of father and mother more than of teacher and peer at the significant level of 0.001. They use facial expression at the presence of father and mother more than of teacher at the significant level of 0.001. However, the most popular means for emotional nonexpression is passive manner and they use at the presence of teacher and peer more than of father and mother at the significant level of 0.001. In the angry situation at the presence of significant persons, school-age children use facial expression as the most popular means for emotional expression, and passive manner for emotional nonexpression. en
dc.format.extent 1820353 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อารมณ์ en
dc.subject อารมณ์ในเด็ก en
dc.subject การแสดงออก (จิตวิทยา) en
dc.subject การแสดงออกในเด็ก en
dc.title การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียน เมื่อมีบุคคลสำคัญทางสังคมของตนอยู่ร่วมในสถานการณ์ en
dc.title.alternative Emotional expression of school-age children at the presence of their social significant persons en
dc.type Thesis en
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Psy@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record