Abstract:
การเปรียบเทียบการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อภาวะแล้งและภาวะเค็มของถั่วเหลืองพันธุ์สจ.5 และ มข.35 พบว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 สามารถเจริญเติบโตในภาวะแล้งได้ดีกว่าถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.5 โดยที่ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 สามารถรักษาระดับปริมาณรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงไว้ได้ดีกว่าในช่วงที่เผชิญกับภาวะแล้ง ทั้งยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าด้วย นอกจากนี้ ยังพบการทำงานของเอนไซม์ catalase ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในใบบริเวณยอดและใบล่างของถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 อย่างไรก็ตาม ในการตอบสนองต่อภาวะเค็ม พบว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.5 มีความสามารถในการรักษาน้ำหนักแห้งต้น
ไว้ได้ถึง 15 วันหลังจากเผชิญกับภาวะเค็มที่ 80 mM ในขณะที่ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 มีความสามารถในการรักษาน้ำหนักแห้งต้นไว้ได้เพียง 12 วันหลังเผชิญกับภาวะเค็มที่ 40 และ 80 mM นอกจากนี้ ถั่วเหลืองพันธุ์สจ.5 ยังสามารถรักษาระดับปริมาณรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงในใบล่างไว้ได้ดีกว่าถั่วเหลืองพันธุ์มข.35 ตลอดระยะเวลา 18 วันที่อยู่ในภาวะเค็ม การทนต่อภาวะเค็มของถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.5 นี้มีความสัมพันธ์กับระบบขจัด ROSs อย่างชัดเจน โดยพบว่าเป็นการทำงานร่วมกันของเอนไซม์ superoxide dismutase และcatalase ในใบบริเวณยอด catalase ascorbate peroxidase และ glutathione reductase ในใบล่าง ดังนั้นจากผลการทดลองดังกล่าว ทำให้ระบุได้ว่าประสิทธิภาพของถั่วเหลืองทั้งสองพันธุ์ในการต้านทานต่อภาวะ
แล้งและเค็มที่แตกต่างกันส่วนหนึ่งมาจากบทบาทในการขจัด ROSs ของเอนไซม์ในระบบ