Abstract:
ทดลองเหนี่ยวนำการเป็นสัดในแม่โคนมลูกผสมพันธุ์ โฮลสไตน์ ฟรีเชียน จากฟาร์มโคนม 3 ฟาร์ม และแบ่งโคออกเป็น 3 กลุ่ม โคกลุ่มแรก (26 ตัว) ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นสัดด้วยวิธีฉีด PGF[subscript 2[alpha]] ขนาด 500 [mu]g เข้ากล้ามเนื้อ (กลุ่มควบคุม) โคกลุ่มที่ 2 (30 ตัว) และกลุ่มที่ 3 (30 ตัว) ถูกเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วย PGF [subscript 2[alpha]] 125 [mu]g และ 62.5 [mu]g ตามลำดับ โดยวิธีฉีดเข้าปีกมดลูกข้างเดียวกับที่ตรวจคลำพบคอร์ปัสลูเตียมบนรังไข่โดยใช้เทคนิคเช่นเดียวกับการผสมเทียม ระดับฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในกระแสเลือดในวันเริ่มการทดลอง (วันที่ 0) ในแม่โคทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกัน (P>0.05) คือ 3.10+-1.52, 3.06+-1.13 และ 3.44+-1.43 นาโนกรัม/มล. ตามลำดับ ระดับโปรเจสเทอโรนในวันที่ 1 และ 3 หลังการทดลอง ลดต่ำลงทั้ง 3 กลุ่ม ลำบไม่แตกต่างกัน (P>0.05) คือ 0.58+-0.75, 0.92+-1.01 และ1.20+-1.39 นาโนกรัม/มล. ตามลำดับในวันที่ 3 หลังการทดลอง จำนวนโคที่มีระดับโปรเจสเทอโรนลดลงต่ำกว่า 0.5 นาโนกรัม/มล. ภายใน 3 วันทั้ง 3 กลุ่ม หลังฉีดไม่แตกต่างกัน (P>0.05) คือ 84.62, 73.33 และ 63.33% ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการลดขนาด PGF [subscript 3[alpha]] เหลือ ¼ และ 1/8 โด๊ส ฉีดเข้าสู่ปีกมดลูก ด้านเดียวกับที่ตรวจคลำพบคอร์ปัสลูเตียม สามารถใช้เหนี่ยวนำให้แม่โคหลังคลอดให้เป็นสัดได้ วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตทุนการผลิตและปรับใช้ในภาคสนาม