Abstract:
พ่อค้ามุสลิมชาวอินเดียมีบทบาทต่อการค้าผ้าของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ่อค้าเหล่านี้เป็นผู้นำผ้าชนิดต่างๆ เข้ามาขายในสยาม ทั้งยังเป็นผู้กระจายสินผ้าอินเดียไปสู่ชาวสยามตั้งแต่ชนชั้นสูงถึงไพร่บ้านพลเมือง ผ้าที่นำเข้าจากอินเดียมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่สองภูมิภาคคือจากแคว้นกุจราต (Gujarat) ทางตะวันตกของอินเดีย และชายฝั่งโคโรเมนเดล (Coromandel Coast) ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย การค้าผ้าในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่อยู่ในมือของพ่อค้าเปอร์เซียและพ่อค้าอินเดียซึ่งมีทั้งผ้าที่ผลิตตามแบบแขกและที่ออกแบบส่งลายไปให้ช่างอินเดียผลิตตามรสนิยมของชาวสยาม ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์พ่อค้าชาวอินเดียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการค้าผ้า พวกเขาได้ตั้งห้างจำหน่ายสินค้ามีชื่อเสียง เช่น ห้างมัสกาตีของพ่อค้าอินเดียตระกูลมัสกาดี มุสลิมนิกายชีอะห์เชื้อสายอินเดียกลุ่มโบราห์จากเมืองสุรัตที่เดินทางเข้ามาทำการค้าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตธนบุรี การค้าผ้าของพ่อค้ามุสลิมเริ่มซบเซาลงเมื่อมีการตั้ง