Abstract:
ศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อปัญหาการทารุณกรรมเด็กในครอบครัว เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดในการกระทำทารุณกรรมเด็ก และเพื่อศึกษาถึงอุปสรรคต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในเขตปทุมวัน จำนวน 200 ราย และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสำคัญ (Key Informant Interview) จำนวน 5 ราย เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และค่าสถิติที่ใช้ทดสอบค่าความสัมพันธ์คือ ค่า t-test โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า อายุ สถานภาพการสมรส จำนวนบุตร อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อปัญหาการทารุณกรรมเด็กในครอบครัว ส่วนเพศและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ ต่อปัญหาการทารุณกรรมเด็กในครอบครัว