dc.contributor.advisor |
สุภางค์ จันทวานิช |
|
dc.contributor.author |
ปิยะวัฒน์ คงช่วย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2009-07-30T03:01:28Z |
|
dc.date.available |
2009-07-30T03:01:28Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9743471251 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9397 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่องระบบการจัดหางานไปต่างประเทศในประเทศไทยและการร้องเรียนของแรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดหางานไปต่างประเทศของบริษัทจัดหางาน และศึกษาผลกระทบของระบบการจัดหางานโดยบริษัทจัดหางานที่มีต่อคนหางาน กรณี การร้องเรียนของแรงงาน การศึกษาใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ระบบการจัดหางานเพื่อเดินทางไปทำงานต่างประเทศแบ่งตามลักษณะของการเดินทางไปทำงานได้เป็น 5 วิธี ได้แก่ การเดินทางด้วยตนเอง นายจ้างพาลูกจ้างไปทำงาน นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกงาน กรมการจัดหางานจัดส่ง และการเดินทางโดยบริษัทจัดหางาน ระบบการจัดหางานไปต่างประเทศของบริษัทจัดหางานในประเทศไทยมีการแข่งขันกันอย่างเสรี โดยมีรัฐควบคุมดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ในปี พ.ศ.2543 มีบริษัทจัดหางานไปต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจำนวน 257 ราย จากกรณีศึกษาบริษัทจัดหางานแห่งหนึ่งพบว่าระบบการจัดหางานไปต่างประเทศมีองค์ประกอบ 5 ฝ่าย คือ นายจ้างต่างชาติ ตัวแทนนายจ้าง(Broker) บริษัทจัดหางาน สาย/นายหน้า และแรงงาน ภายในระบบการจัดหางานพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น คือ นายจ้างและตัวแทนนายจ้างร่วมกันกำหนดราคาตำแหน่งงานและปล่อยให้มีการแข่งขันกันประมูลทำให้ราคาตำแหน่งงานสูงมากประมาณ 25,000-135,000 บาท/ตำแหน่ง แรงงานเดินทางไปแล้วงานไม่เป็นไปตามสัญญา บริษัทจัดหางานมีการรับสมัครแรงงานเป็นการล่วงหน้าก่อนได้รับอนุญาต มีการซื้อตำแหน่งงานและแรงงานจากบริษัทจัดหางานรายอื่น บริษัทจัดหางานมีพฤติการณ์หลบเลี่ยงกฎหมายโดยเปิดบริษัทจัดหางานสาขาเป็นเครือข่ายจัดหางานเดียวกัน จัดเก็บค่าบริการจัดหางานสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดประมาณ 64,000-200,000 บาท เรียกเก็บเงินค่าบริการจากแรงงานเป็นการล่วงหน้าเกิน 30 วัน จ่ายค่าบริการจัดหางานแล้วไม่ได้เดินทาง บริษัทจัดหางานที่ถูกสั่งพักหรือยกเลิกใบอนุญาตแต่ยังคงมีการรับสมัครงาน สาย/นายหน้าไม่ได้จดทะเบียนถูกต้อง สาย/นายหน้ามีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินความเป็นจริงประมาณ 6,000-30,000 บาท สาย/นายหน้ารับเงินค่าบริการจัดหางานแทนบริษัทจัดหางานแล้วไม่ดำเนินการจัดส่ง ตัวแรงงานก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน คือ แรงงานไม่ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสาย/นายหน้า ให้ความร่วมมือกับบริษัทจัดหางานหลบเลี่ยงกฎหมาย ยอมรับความเสี่ยงไว้กับตัวเองโดยการสมยอมกับบริษัทจัดหางาน และแรงงานไม่ไปรายงานตัวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเดินทางถึงประเทศปลายทาง ผลกระทบของระบบการจัดหางานโดยบริษัทจัดหางานที่มีต่อคนหางาน เมื่อพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนของแรงงานพบว่าสาเหตุของการร้องเรียนมาจากปัญหาในระบบการจัดหางาน ในเบื้องต้นเมื่อแรงงานประสบปัญหาแรงงานจะช่วยเหลือตนเองใน 2 ลักษณะ คือ กรณีที่ยังไม่ได้เดินทางแรงงานจะติดต่อขอไกล่เกลี่ยกับสาย/นายหน้า และบริษัทจัดหางาน กรณีที่แรงงานเดินทางไปต่างประเทศแล้วแรงงานจะขอไกล่เกลี่ยปัญหากับเอเยนต์ ล่าม และนายจ้าง หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขจะขอความช่วยเหลือกับ สำนักงานแรงงานไทย และสถานทูต/กงสุลไทยในต่างประเทศ แต่ถ้าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น แรงงานจะร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นกับฝ่ายรับเรื่องและวินิจฉัยคำร้องทุกข์ กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน ในช่วงปี 2539-2541 มีแรงงานร้องเรียนจำนวน 15,324 ราย มูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกคิดเป็นเงิน 463 ล้านบาท กรมการจัดหางาน สามารถช่วยเหลือได้ 6,985 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.58 และสามารถติดตามให้บริษัทจัดหางานชดใช้ความเสียหายได้ 202 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.60 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด |
en |
dc.description.abstractalternative |
The research on Overseas Employment Recruitment Systems in Thailand and Labourers Complaints aims to study the overseas employment recruitment system, an impact from the recruitment systems by the recruiting companies and cases of labourers complaints. The study was based on the qualitative methodology. The overseas employment recruitment systems include 5 methods : self-traveling ; employers escorting their employees to work overseas ; employers sending their employees for on-the-job training ; recruitment department sending them to work overseas and traveling abroad to work as arranged by the recruiting companies. The recruiting companies in Thailand for overseas employment operate in the deregulation system, or in other words the openly competitive market, under the management of government agency according to the Recruitment and Job Seekers Protection Act B.E. 2528. There are 257 authorised overseas employment recruiting companies in Thailand. From the case study of one overseas employment recruiting company, it was found that the system comprised of 5 parties i.e. foreign employers, brokers, recruiting companies, agents and labourers. The overseas employment recruitment systems have the problems that foreign employers and broker co-operated to set the position price and freed the bidding competitively. This caused the position fee to be as high as about Baht 25,000-135,000 per position; job placement not in accordance with the contract; job applications submitted prior to permission; buying the job position and labours from the other recruiting companies; avoiding government recruitment regulations and Job Seeker Protection Act by opening many branches; charging the commission fee higher than the rate stated by the Act, charging the commission fee more than 30 days in advance; unable to arrange travel after having received payment; recruiting companies continuing their business while under probation or termination order; agents overcharging from job-seekers. Besides, the labourers are also a part of problems such as not checking the information about the recruiting companies; co-operating with the unauthorised recruiting companies; accepting risk proposed by the recruiting companies and not reporting to the government units upon arrival at destination. When problems arise prior to traveling most labourers initially help themselves by trying to negotiate with agents and recruiting companies. If problems arise after travelling the labourers try to negotiate with agents, interpreter and employers. If problems were not successful, they file their complaints with Office of labour Affairs, Royal Thai Embassy, Thai Consulate in those countries. However, if the problems remain unsolved, they would file their complaints with the Complaints Admission Unit and appealed their complaints. The Foreign Labour Protection Division received 15,324 complaints during B.E. 2539-2541. The damage caused by these illegal and cheating practices valued Baht 463 millions. The Recruiting Committee was able to resolve 6,985 complaints or 45.58% of the cases filed and compensation to labourers from recruiting companies Baht 202 millions or 43.60% of the total damage. |
en |
dc.format.extent |
1967332 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
แรงงานต่างด้าวไทย |
en |
dc.subject |
บริการจัดหางาน -- ไทย |
en |
dc.subject |
แรงงาน -- ไทย |
en |
dc.title |
ระบบการจัดหางานไปต่างประเทศในประเทศไทยและการร้องเรียนของแรงงาน |
en |
dc.title.alternative |
Overseas employment recruitment systems in Thailand and labourers' complaints |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
สังคมวิทยา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Supang.C@Chula.ac.th |
|