DSpace Repository

การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแพะสู่ชุมชน : การศึกษาสมบัติพื้นฐานทางด้านเคมี กายภาพ และจุลชีววิทยา ของน้ำนมแพะจากแหล่งต่างๆ : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author สุทธิศักดิ์ สุขในศิลป์
dc.contributor.author สุวรรณา สุภิมารส
dc.contributor.author กัลยา เลาหสงคราม
dc.contributor.author สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ
dc.contributor.author รมณี สงวนดีกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-07-31T09:42:56Z
dc.date.available 2009-07-31T09:42:56Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9453
dc.description.abstract แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ และยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ จึงได้รับความสนใจจากเกษตรกรในการเลี้ยงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงเพื่อรีดน้ำนม และนำน้ำนมแพะมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากชุมชนยังขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำนมแพะ และขาดความรู้ในการแปรรูป ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์นมแพะของชุมชนยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลายหลายและเหมาะสม ทั้งๆ ที่น้ำนมแพะมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี และร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและรวดเร็ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติพื้นฐานของน้ำนมแพะที่เลี้ยงในประเทศไทย ทั้งทางด้านเคมี กายภาพและจุลชีววิทยา เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์นมแพะ โดยทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมทั่วประเทศ แล้วคัดเลือกเพื่อลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะในแต่ละฟาร์มและเก็บตัวอย่างน้ำนมแพะของทั้ง 9 เขต เขตละอย่างน้อย 1 จังหวัด จำนวน 36 ฟาร์ม ในระหว่างเดือนกันยายน 2550 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงแพะนมมานานประมาณ 5-9 ปี และกว่าครึ่งจะเลี้ยงเป็นอาชีพหลัก โดยมีประสบการณ์หรือเคยเลี้ยงสัตว์อื่นมาก่อน ขนาดของฟาร์มแพะนมส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 10-50 ตัว พันธุ์แพะที่นิยมเลี้ยงคือพันธุ์ซาแนนและซาแนนลูกผสม โดยเลี้ยงแบบขังคอกยกพื้น อาหารข้นที่ให้แพะนมกินส่วนใหญ่จะใช้อาหารสำเร็จรูปของบริษัท ที่นิยมคืออาหารข้น CP สูตร 16 ให้กินวันละ 1-2 มื้อ ส่วนอาหารหยาบที่เกษตรกรให้แพะนมกินส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้าชนิดต่างๆ ทั้งสดและแห้ง โดยให้วันละ 1-3 มื้อ หลังแม่แพะคลอดลูก เกษตรจะเว้นระยะก่อนรีดนมประมาณ 15-30 วัน และส่วนใหญ่จะรีดวันละครั้งในตอนเช้า ซึ่งทุกครั้งก่อนรีดนมเกษตรกรจะทำความสะอาดเต้านมโดยนิยมใช้คลอรีนและเดทตอล เกษตรกรส่วนใหญ่จะรีดนมด้วยมือลงในขวดปากแคบ โดยจะได้น้ำนมประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน โดยมากเกษตรกรจะขายน้ำนมแพะในรูปน้ำนมดิบ แต่มีเพียง 44.44% ที่น้ำนมแพะมาแปรรูปเป็นน้ำนมพาสเจอไรซ์ ตัวอย่างที่เก็บจากฟาร์มของแต่ละพื้นที่จำนวนรวม 36 ตัวอย่างจะนำมาวิเคราะห์ทางด้านต่าง ๆ คือ ด้านเคมี พบว่า น้ำนมแพะมีปริมาณไขมัน 4.22 +- 1% โปรตีน 3.44 +- 0.38% น้ำตาลแลคโตส 4.21 +- 0.59% Fatty acid profile ของน้ำนมแพะพบว่ามีกรดไขมัน palmitic acid(C16:0) มากที่สุด รองลงมาเป็นกรดไขมัน oleic acid (C18:1) โดยมีกรดไขมันสายขนาดกลางประมาณ 20-30% มีปริมาณ Free fatty acid ต่ำกว่า 0.10 Uequiv/mL ค่า pH เฉลี่ย 6.61+-0.22 ปริมาณเถ้าเฉลี่ย (ash) 0.84+-0.07% Amino acid profile ของน้ำนมแพะในประเทศไทยจะมีกรดอะมิโนต่าง ๆ ใกล้เคียงกับน้ำนมแพะที่มีการรายงานไว้ ยกเว้น leucine lysine และ phenylalanine มีค่าสูงกว่า และกรดอะมิโน threonine มีค่าต่ำกว่า ส่วนวิตามินเอ วิตามินบีสอง วิตามินดี และ แคลเซียมในน้ำนมแพะ มีค่าเฉลี่ย 45.03+-20.46 Ug/100ml 0.15+-0.05 mg/100ml ต่ำกว่า 0.10Ug/100ml และ 130+-18mg/100g ตามลำดับ ส่วนทางด้านกายภาพ พบว่า น้ำนมแพะมีขนาดอนุภาคไขมันเฉลี่ย 3.327+-0.583 ไมโครเมตร ปริมาณของแข็งไม่รวมไขมัน (SNF) 8.77+-0.62% ของแข็งทั้งหมด (TS) 13.00+-1.16% จุดเยือกแข็ง -0.576+-0.028 [degrees Celsius] Density 1.029+-0.002 กรัม/ลบ.ซม. Colour (L,a,b) มีค่าไม่แตกต่างกันแต่ละตัวอย่าง และทางด้านจุลชีววิทยา พบว่า ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในน้ำนมแพะมีค่าเฉลี่ย log 4.75+-1.31 cfu/mL ส่วนปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์ม ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในช่วง 0-50 cfu/mL และปริมาณแบคทีเรียกลุ่มทนร้อนส่วนใหญ่ประมาณ 92% จะมีจำนวนต่ำกว่า 50 cfu/mL สำหรับ Escherichia coll นั้นทุกตัวอย่างตรวจไม่พบ นอกจากนี้เมื่อตรวจสารปฏิชีวะตกค้างในน้ำนมแพะ พบว่าทุกตัวอย่างตรวจไม่พบสารปฏิชีวะนะตกค้างในระดับที่จะวัดได้
dc.description.abstractalternative Goat is easily raised and bred, only requiring small area for feeding and thus low capital cost on goat farming. The farmer are interested in goat husbandry especially in raising for milk production. The goat milk is further processed to other products. But because of lack of basic information about goat milk and the knowledge in its processing. The products that were produced was off standard. So, the goat milk products from the the rural community were not successful. Especially, the appropriate variety of products is still needed to be developed. Inspite of the fact that the goat milk has high nutritive value, easily and rapidly utilized by our body. This research aims to study the basic physical, chemical and microbiological properties of goat milk raised in Thailand in order to use for further product development. The information about the farm that raise goat for milk were collected. The studied areas and farms were chosen by selecting at least one province from each region in the total 9 regions of farming. The samples were collected from 36 farms during September 2007 to February 2008. The informations were obtained by personal interview at farming site, It was found that most of the farmer have raised to goat for milk for 5-9 years and most of them had the experiences in raising other animal before. More than half of them did these as main source of income. The size of farm was 10-50 goats and the breed were Saanen and Saanen hybrid. The goats were kept in elevated pen and fed 1-2 meals of concentrated feed each day with commercial feed, the popular one is CP formula 16,The roughaged feed depended on the area of the farm. It could be grasses or agricultural waste, the goats were fed 1-3 meals for each day. After the mother gives birth, the farmer will let the cubs get the milk from their mother 15-30 days before start milking. The milking was done once every day in the morning. Before milking, the farmer will clean the breast with chlorine water or dettol. The milking was done manually into the narrow mouth bottle, one-two kilograms of milk was obtained per goat per day. The farmer then sold it as raw milk, only 44.44% of the farmer processed the milk to pasteurized milk. Sample collected from each farm were analysed Chemical analysis showed that goat milk contained 4.22+-1.0% fat, 3.44+-0.38% protein and 4.21+-0.59% lactose. Fatty acid profile exhibited that palmitic acid(C16:0) was the highest one, follow by oleic acid (C18:1). The medium chain fatty acids were 20-30% and free fatty acid less than 0.10% Uequiv/mL. The average pH was 6.61+-0.22, ash content was 0.84+-0.07% Amino acid profile of goat milk was similar to that reported for goat milk in literature except that leucine. Lysine and phenylalanine were higher and threonine was lower. While vitamin A, B[subscript2],D and calcium were 45.03+-20.46 Ug/100mL, 0.15+-0.05 mg/100mL, < 0.10 ug/100mL and 130+-18 mg/100gm respectively, which were the same level as in previous reports. For physical properties, it was found that average diameter goat milk fat globule was 3.327+-0.583 Um. Total solid non fat (SNF) and total solid (TS) were 8.77+-0.62% and 13.0+-1.16% respectively. The freezing point was-0.576+-0.028 [degrees Celsius]and the density was 1.029+-0.002 gm/cm[superscript3]. The colour (L,a,b) of each goat milk sample was not significant difference. Microbiological qualities revealed that total bacterial count of the goat milk was 4.75+-1.31 log cfu/mL, The level of coliforms ranged from 0 to 50 cfu/mL. Most of goat milk samples(92%) contain less than 50 cfu/mL of thermoduric bacteria. No Escherichia coli was found in the samples. Furthermore, the antibiotic residue in goat milk samples was non detectable.
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2550 ผ่านทาง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย en
dc.format.extent 6157460 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแพะสู่ชุมชน : การศึกษาสมบัติพื้นฐานทางด้านเคมี กายภาพ และจุลชีววิทยา ของน้ำนมแพะจากแหล่งต่างๆ : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ en
dc.type Technical Report es
dc.email.author suttisak@sc.chula.ac.th, Suttisak.S@Chula.ac.th
dc.email.author Suwanna.S@Chula.ac.th
dc.email.author Kalaya.L@Chula.ac.th
dc.email.author Saiwarun.C@Chula.ac.th
dc.email.author Romanee.S@Chula.ac.th, romanee@sc.chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record