DSpace Repository

การบังคับใช้กฎหมายอาญาในทะเลอาณาเขต : ศึกษากรณีการ กระทำความผิดอาญา เหนือเรือเอกชนต่างชาติขณะผ่านโดยสุจริต

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author ประเสริฐชัย ทัฬหิกรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-07T10:10:14Z
dc.date.available 2009-08-07T10:10:14Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741311729
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9820
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract รัฐชายฝั่งไม่พึงใช้อำนาจทางอาญาเพื่อจับกุมหรือสอบสวนบุคคลใดในความผิดซึ่งได้กระทำขึ้นเหนือเรือเอกชนต่างชาติขณะผ่านโดยสุจริตในทะเลอาณาเขต เว้นแต่การกระทำผิดนั้นเป็นอาชญากรรมที่กระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของทะเลอาณาเขตซึ่งการกระทำตาม ข้อ 19(2) ของอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยทะเล ค.ศ. 1982 จะเห็นได้ว่า การผ่านโดยไม่สุจริต ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง ตามข้อ 27(1)b ของอนุสัญญาฯ ที่บัญญัติว่า "อาชญากรรมนั้นเป็นประเภทที่รบกวนความสงบสุขของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของทะเลอาณาเขต รัฐชายฝั่งจึงมีอำนาจดำเนินการทางอาญาเพื่อจับกุมบุคคลใดหรือสอบสวนการกระทำผิดอาญาใดซึ่งได้กระทำขึ้นเหนือเรือต่างชาติในขณะที่เรือนั้นใช้สิทธิการผ่านโดยสุจริตในทะเลอาณาเขต คำว่า การกระทำที่เป็นความสงบเรียบร้อยที่กล่าวถึงในข้อ 19(2) นั้น หมายถึงหลักกฎหมายที่ถือว่าผลประโยชน์ของสังคมย่อมอยู่เหนือผลประโยชน์ของเอกชน เนื่องจากกรณีข้อ 19(2) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม เป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ จากการศึกษาทราบว่าบรรดากฎหมายของประเทศไทยที่สามารถนำมาบังคับใช้ต่อการกระทำความผิดอาญาเหนือเรือเอกชนต่างชาติขณะผ่านโดยสุจริตนั้น ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรการใด ที่จะแสดงให้เห็นว่าอาชญากรรมประเภทที่รบกวนความสงบสุขของรัฐชายฝั่ง หรือความสงบเรียบร้อยในทะเลอาณาเขตมีลักษณะอย่างไร ในส่วนนี้ประเทศไทยควรบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอาญากับการกระทำผิดที่เกิดขึ้นเหนือเรือเอกชนต่างชาติขณะผ่านโดยสุจริตไว้เป็นกฎหมายพิเศษ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่มีแนวทางในการปฏิบัติและมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น en
dc.description.abstractalternative The criminal jurisdiction of coastal states should not be exercised on board a foreign vessels passing through a territorial sea to arrest any person of to conduct any investigation in connection with a crime committed on board during its passage, except the offence is prejudicial to the public order of territorial sea. As provided in article 19(2) of the 1982. One should noted that a passage which is not innocent its regarded as prejudicial to the public order or security of the coastal state as provided in article 27(1)b of the convention. It provides "the crime is of a kind of to disturb the peace of the country of the public order of the territorial sea" for this reason the coastal states have the power to exercise criminal process to arrest any person of to conduct any investigation against and offence which committed on foreign private vessel during it the territorial sea passing the "public order" as mentioned in article 19(2) is a doctrinal legal concept which regards the public interest to be always above the private interest. Since article 19(2) is related to security and public order of the country be they related to politics, government or social-economy of the country. Any offences committed as such is there by prejudicial to the public order of the country. The study finds that laws which Thailand can apply to the offence committed on board a foreign private vessels during innocent passage are still short of measures or principles to identify the type of offence which are against public order of the coastal states or to govern the details of the public order of the territorial sea for this Thailand should pass special law on enforcement of penal law regarding to offence committed on board a foreign private vessel during innocent passage, hence the law enforcement officials could have a guideline to follow and there by more confident in performing their duty in a more efficient way en
dc.format.extent 1515402 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การบังคับใช้กฎหมาย en
dc.subject กฎหมายทะเล en
dc.subject เรือ -- สัญชาติ en
dc.subject ทะเลอาณาเขต en
dc.subject เขตอำนาจศาลเหนือการกระทำความผิดบนเรือต่างชาติ en
dc.subject อำนาจพิจารณาคดีอาญา en
dc.title การบังคับใช้กฎหมายอาญาในทะเลอาณาเขต : ศึกษากรณีการ กระทำความผิดอาญา เหนือเรือเอกชนต่างชาติขณะผ่านโดยสุจริต en
dc.title.alternative The enforcement of criminal law in the territorial sea : a case study of criminal offences committed on board foreign private vessels while passing through territorial en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record