Abstract:
จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบการเจาะผ่านของตัวอสุจิของพ่อสุกรสายพันธุ์แลนด์เรซ 3 ตัว (A B และ C) โดยนำไปตรวจการเจาะผ่านกับโอโอไซต์ชนิดที่ไม่พร้อมปฏิสนธิ (การทดลองที่ 1) และชนิดพร้อมปฏิสนธิ (การทดลองที่ 2) โดยใช้โอโอไซต์ 3 ชนิด คือชนิดสด ชนิดแช่สารละลายเกลือ และชนิดแช่แข็ง ในการทดลองที่ 1 เมื่อนำโอโอไซต์ที่ไม่พร้อมปฏิสนธิชนิดต่างๆ มาทำการตรวจสอบการเจาะผ่านของตัวอสุจิสุกร A อัตราการเจาะผ่านมีค่า 59.6%, 78.1% และ 77.8% และมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 2.79+-0.42, 2.97+-0.29 และ 2.29+-0.26 สำหรับโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือ และแช่แข็งตามลำดับ พบว่าตัวอสุจิสามารถเจาะผ่านโอโอไซต์ชนิดสดน้อยกว่าโอโอไซต์อีกสองชนิดที่เหลือ (p<0.05) ขณะที่จำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) สำหรับสุกร B พบว่าอัตราการเจาะผ่านมีค่า 65.3%, 76.8% และ 67.0% ตามลำดับและมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 2.25+-0.28, 3.63+-0.42 และ 2.57+-0.36 สำหรับโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือ และแช่แข็งตามลำดับ พบว่าอัตราการเจาะผ่าน และจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์สูงสุดในโอโอไซต์ชนิดแช่สารละลายเกลือ (p<0.05) สำหรับสุกร C อัตราการเจาะผ่านมีค่า 51.5%, 58.2% และ 53.2% ตามลำดับ มีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 1.00+-0.13, 1.39+-0.18 และ 1.44+-0.20 อัตราการเจาะผ่านและจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ในโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือและแช่แข็งตามลำดับซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ในการทดลองที่ 2 ทำการเลี้ยงโอโอไซต์ในพร้อมปฏิสนธิในหลอดทดลองก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาในสารละลายเกลือและแช่แข็ง เมื่อนำโอโอไซต์ดังกล่าวมาทำการตรวจสอบพบว่าในสุกร A อัตราการเจาะผ่านมีค่า 85.1%, 86.1% และ 89.1% สำหรับจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 13.87+-1.45, 17.69+-2.61 และ 14.45+-1.75 สำหรับโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือและแช่แข็งตามลำดับพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ในสุกร B อัตราการเจาะผ่านมีค่าน้อยที่สุดในกลุ่มโอโอไซต์สด 52.6% เปรียบเทียบกับชนิดแช่สารละลายเกลือและแช่แข็ง 67.3% และ 67.0% (p<0.05) และมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ต่ำที่สุดเท่ากับ 1.55+-0.31, 2.80+-0.35 และ 2.87+-0.40 ตัว (p<0.05) ตามลำดับ ในสุกร C อัตราการเจาะผ่านในโอโอไซต์ชนิดแช่สารละลายเกลือมีค่าสูงสุดคือมีค่า 76.8% (p<0.05) เทียบกับชนิดสดคือ 65.3% และ 67.0% สำหรับชนิดแช่แข็ง และมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ชนิดแช่สารละลายเกลือสูงสุดคือ 3.63+-0.42 เทียบกับที่เหลือคือ 2.25+-0.28 และ 2.57+-0.36 ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปว่าพ่อสุกรและวิธีการเก็บรักษาโอโอไซต์มีผลทำให้อัตราการเจาะผ่านและจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์สูงขึ้น และมีความเป็นไปได้ในการนำวิธีนี้ไปใช้ตรวจสอบความแตกต่างของความสามารถในการปฏิสนธิของพ่อสุกรได้