DSpace Repository

การเปรียบเทียบการใช้โอโอไซต์ที่ยังไม่พร้อมปฏิสนธิและพร้อมปฏิสนธิทั้งชนิดสดแช่สารละลายเกลือและแช่แข็งในการทดสอบการเจาะผ่านของตัวอสุจิสุกร

Show simple item record

dc.contributor.advisor มงคล เตชะกำพุ
dc.contributor.advisor สุดสรร ศิริไวทยพงศ์
dc.contributor.author อดิศร อดิเรกถาวร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-10T05:00:07Z
dc.date.available 2009-08-10T05:00:07Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740303064
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9857
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบการเจาะผ่านของตัวอสุจิของพ่อสุกรสายพันธุ์แลนด์เรซ 3 ตัว (A B และ C) โดยนำไปตรวจการเจาะผ่านกับโอโอไซต์ชนิดที่ไม่พร้อมปฏิสนธิ (การทดลองที่ 1) และชนิดพร้อมปฏิสนธิ (การทดลองที่ 2) โดยใช้โอโอไซต์ 3 ชนิด คือชนิดสด ชนิดแช่สารละลายเกลือ และชนิดแช่แข็ง ในการทดลองที่ 1 เมื่อนำโอโอไซต์ที่ไม่พร้อมปฏิสนธิชนิดต่างๆ มาทำการตรวจสอบการเจาะผ่านของตัวอสุจิสุกร A อัตราการเจาะผ่านมีค่า 59.6%, 78.1% และ 77.8% และมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 2.79+-0.42, 2.97+-0.29 และ 2.29+-0.26 สำหรับโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือ และแช่แข็งตามลำดับ พบว่าตัวอสุจิสามารถเจาะผ่านโอโอไซต์ชนิดสดน้อยกว่าโอโอไซต์อีกสองชนิดที่เหลือ (p<0.05) ขณะที่จำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) สำหรับสุกร B พบว่าอัตราการเจาะผ่านมีค่า 65.3%, 76.8% และ 67.0% ตามลำดับและมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 2.25+-0.28, 3.63+-0.42 และ 2.57+-0.36 สำหรับโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือ และแช่แข็งตามลำดับ พบว่าอัตราการเจาะผ่าน และจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์สูงสุดในโอโอไซต์ชนิดแช่สารละลายเกลือ (p<0.05) สำหรับสุกร C อัตราการเจาะผ่านมีค่า 51.5%, 58.2% และ 53.2% ตามลำดับ มีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 1.00+-0.13, 1.39+-0.18 และ 1.44+-0.20 อัตราการเจาะผ่านและจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ในโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือและแช่แข็งตามลำดับซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ในการทดลองที่ 2 ทำการเลี้ยงโอโอไซต์ในพร้อมปฏิสนธิในหลอดทดลองก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาในสารละลายเกลือและแช่แข็ง เมื่อนำโอโอไซต์ดังกล่าวมาทำการตรวจสอบพบว่าในสุกร A อัตราการเจาะผ่านมีค่า 85.1%, 86.1% และ 89.1% สำหรับจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ 13.87+-1.45, 17.69+-2.61 และ 14.45+-1.75 สำหรับโอโอไซต์สด แช่สารละลายเกลือและแช่แข็งตามลำดับพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ในสุกร B อัตราการเจาะผ่านมีค่าน้อยที่สุดในกลุ่มโอโอไซต์สด 52.6% เปรียบเทียบกับชนิดแช่สารละลายเกลือและแช่แข็ง 67.3% และ 67.0% (p<0.05) และมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ต่ำที่สุดเท่ากับ 1.55+-0.31, 2.80+-0.35 และ 2.87+-0.40 ตัว (p<0.05) ตามลำดับ ในสุกร C อัตราการเจาะผ่านในโอโอไซต์ชนิดแช่สารละลายเกลือมีค่าสูงสุดคือมีค่า 76.8% (p<0.05) เทียบกับชนิดสดคือ 65.3% และ 67.0% สำหรับชนิดแช่แข็ง และมีจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์ชนิดแช่สารละลายเกลือสูงสุดคือ 3.63+-0.42 เทียบกับที่เหลือคือ 2.25+-0.28 และ 2.57+-0.36 ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปว่าพ่อสุกรและวิธีการเก็บรักษาโอโอไซต์มีผลทำให้อัตราการเจาะผ่านและจำนวนอสุจิต่อโอโอไซต์สูงขึ้น และมีความเป็นไปได้ในการนำวิธีนี้ไปใช้ตรวจสอบความแตกต่างของความสามารถในการปฏิสนธิของพ่อสุกรได้ en
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to compare the penetration ability of spermatozoa from three Landrace boars (A, B and C) to either immature or mature oocytes that devided into three groups ; fresh, salt-stored and frozen. The first experiment used immature oocytes showed that the penetration rates of sperm from Boar A to the fresh, salt-stored and frozen oocytes were 59.6%, 78.1% and 77.8% (respectivelly; p<0.05). The number of sperms per oocyte from those 3 groups were 2.79+-0.42, 2.97+-0.29 and 2.29+-0.26 (mean+-SEM ; p>0.05). Moreover, the penetration rate of sperm from Boar B and Boar C to those 3 groups of oocytes were 65.3%, 76.8%, 77.8% and 51.5%, 58.2%, 53.2% while the number of sperms per oocyte were 2.25+-0.28, 3.63+-0.42, 2.57+-0.36 and 1.00+-0.13, 1.39+-0.18, 1.44+-0.20, respectively. In this experiment, there is no significant difference among groups using sperm from Boar C. The mature oocytes were used in the second experiment which found that there was no difference on sperm penetration rate and number of sperm per oocyte in all groups of oocyte (85.1%, 86.1%, 89.1% and 13.87+-1.45, 17.69+-2.61, 14.45+-1.75 respectively) using sperm from Boar A. However, the sperm from Boar B demonstrated lowest rate of sperm penetration and number of sperm per oocyte when using fresh oocyte (52.6% and 1.55+-0.31) compared to those using salt-stored and frozen oocytes (67.3%, 69.1% and 2.80+-0.35, 2.87+0.40 respectively). The similar figures were found using sperm from Boar C to 3 groups of oocyte which were 65.3%, 76.8%, 67% and 2.25+-0.28, 3.63+-0.42, 2.57+-0.36 (sperm penetration rate and number of sperms per oocyte, respectively). Morover, the remarkable high penetration ability was found when using salt-stored mature oocyte. In conclusion, sperm penetration ability is vary among boars and it is affected by oocytes (immature and mature) and their preservation techniques (fresh, salt-stored and frozen). This in vitro sperm penetration assay can be possibly used to determine boar semen fertility in practice. en
dc.format.extent 5638445 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สุกร -- การผสมเทียม en
dc.subject โอโอไซต์ en
dc.title การเปรียบเทียบการใช้โอโอไซต์ที่ยังไม่พร้อมปฏิสนธิและพร้อมปฏิสนธิทั้งชนิดสดแช่สารละลายเกลือและแช่แข็งในการทดสอบการเจาะผ่านของตัวอสุจิสุกร en
dc.title.alternative Comparison of using fresh, salt-stored and frozen immature and mature pig oocytes on sperm-zona penetration en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Mongkol.T@Chula.ac.th  
dc.email.advisor Sudson.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record