Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับการพึ่งพาและระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ และผลของจำนวนของบุคคลอื่นที่ปรากฏตัวและระดับความรุนแรงของ สถานการณ์ที่ต้องการความ ช่วยเหลือที่มีต่อความตั้งใจแสดงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของเด็กอายุ 9 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กระดับ ประถมศึกษาที่มีอายุระหว่าง 9 ปี-9 ปี 11 เดือน จำนวน 60 คน โดยให้เด็ก ประเมินความตั้งใจแสดง พฤติกรรม เอื้อเฟื้อของตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทาง แบบวัดซ้ำ (Two-way ANOVA with repeated measures) ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กมีคะแนนความตั้งใจ แสดงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ในสถานการณ์ที่มีระดับการพึ่งพาสูง และมี ความรุนแรงมากและสถานการณ์ที่มีระดับการพึ่งพาสูงและมีความรุนแรงน้อยสูงกว่าสถานการณ์ ที่มีระดับการพึ่งพาต่ำ และมีความรุนแรงน้อย และสถานการณ์ที่มีระดับการพึ่งพาต่ำและมีความ รุนแรงมาก ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2. เด็กมีคะแนนความตั้งใจแสดง พฤติกรรมเอื้อเฟื้อในสถานการณ์ที่มีจำนวน คนมากและมีความรุนแรงน้อย และสถานการณ์ที่มี จำนวนคนน้อยและมีความรุนแรงน้อยสูงกว่า สถานการณ์ที่มีจำนวนคนมากและมีความรุนแรงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เด็กมี คะแนนความตั้งใจแสดงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อใน สถานการณ์ที่มีจำนวนคนมากและมีความรุนแรงน้อย สูงกว่าสถานการณ์ที่มีจำนวนคนน้อยและ มีความรุนแรงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ไม่พบความแตกต่างระหว่างคะแนน ความตั้งใจแสดงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของเด็กในสถานการณ์ ที่มีจำนวนคนน้อยและมีความรุนแรงมาก และสถานการณ์ที่มีจำนวนคนน้อยและมีความรุนแรงน้อย 5. ไม่พบความแตกต่างระหว่างคะแนน ความตั้งใจแสดงพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของเด็กในสถานการณ์ ที่มีจำนวนคนมากและมีความรุนแรงมาก และสถานการณ์ที่มีจำนวนคนน้อยและมีความรุนแรงมาก