DSpace Repository

อำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจในการทำความเห็นไม่ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือ เยาวชนกระทำผิด

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัมราวดี อังค์สุวรรณ
dc.contributor.advisor จิรนิติ หะวานนท์
dc.contributor.author อดิศร ตรีเนตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-11T05:52:09Z
dc.date.available 2009-08-11T05:52:09Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9731309775
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9926
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กที่กระทำความผิดมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขฟื้นฟูให้เด็กที่กระทำความผิดให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีเพื่อให้ "เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด" มาตรการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าวคือ "การผลักดันเด็กที่กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางศาล" เพื่อป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดได้รับผลกระทบทางลบจากกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นทางการและต้องถูกตราบาปว่าเป็นอาชญากร หรือมีประวัติว่าถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิด ประเทศไทยมีมาตรการดังกล่าวบัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 63 ซึ่งให้อำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดที่อาจกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาลส่งไปให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งไม่ฟ้อง แต่มาตรการดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้ได้ในทางปฏิบัติเนื่องจากความไม่ชัดเจนและความเหมาะสมของ บทบัญญัติกฎหมายซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหลายประการด้วยกัน เช่น "การพิจารณาเลือกสรรตัว เด็กหรือเยาวชน" ผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาแต่เฉพาะปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิดแต่เพียงอย่างเดียวไม่พิจารณาปัจจัยอื่นประกอบ ประเด็นเรื่องเด็กหรือเยาวชนผู้กระทำความผิดต้อง "ยินยอมอยู่ใน ความควบคุมในสถานพินิจ" และประเด็นความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม (Due Process) และขัดกับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย 2540 จากการศึกษาวิเคราะห์มาตรการดังกล่าวในต่างประเทศ พบว่าจะต้องกำหนดเงื่อนไขบางประการให้เด็กที่กระทำผิดต้องปฏิบัติตามก่อนที่จะยุติคดีโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล เงื่อนไขดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กที่กระทำผิดและในขณะเดียวกันก็ต้องให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการการทำของตน โดยการชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิด และจะต้องมีมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็กที่กระทำผิดตามหลักกระบวนการนิติธรรม (Due Process) เนื่องจากเป็นมาตรการที่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาของศาล ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างจากมาตรการของประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนได้สรุปผลการวิจัยและเสนอแนะแนวทางที่ควรจะเป็นในการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยดังกล่าว ข้างต้นไว้ด้วยแล้ว en
dc.description.abstractalternative Juvenile justice system intends to correct and rehabilitate juveniles who committed offences for the best interest of the juveniles. One of the most effective measures is" to divert juveniles who committed offences from adjudicative judicial process." Diversion aims to prevent the detrimental effects from the official judicial process and to protect juveniles from being called criminals or recorded as guilted wrongdoer. Thailand has this measure in section 63 of the Juvenile and Family Court Act B.E. 2534 which empowers the director of juvenile detention facilities to recommend the prosecutor not to sue juveniles who may reform themselves without official judicial process. But the aforesaid measure cannot practically be applied as a result of the ambiguity and unsuitability. Such weak points cause several practical problems; for example in selection of juveniles which the director considers only factors related to the offender but does not consider other relating factors, the consent of juveniles to be detention, due process of law and unconstitutionality. From the study of foreign practice, some measures must be made for juveniles without adjudication process. Such measures must aim to correct, rehabilitate and make the juvenile realize the consequences of their conduct by compensating to the injured person or the society. The due process of law is actually needed in juvenile protection measures because these measures are done without adjudicative process which are different from the Thai measures. The writer has already summarized and recommended the solution for Thailand. en
dc.format.extent 1977677 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การฟ้อง en
dc.subject เยาวชนผู้กระทำความผิดอาญา en
dc.subject อาชญากรรมวัยรุ่น en
dc.subject กระบวนการยุติธรรมทางอาญา en
dc.title อำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจในการทำความเห็นไม่ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือ เยาวชนกระทำผิด en
dc.title.alternative The authority of the director of juvenile detention facilities conducting criminal proceedings en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record