Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10049
Title: | แรงงานรับจ้างชาวจีนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2425-2492 |
Other Titles: | Chinese wage labour in Bangkok, 1882-1949 |
Authors: | เปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ |
Advisors: | สาวิตรี เจริญพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sawitree.C@Chula.ac.th |
Subjects: | ชาวจีน -- ไทย ชาวจีน -- ไทย -- กรุงเทพฯ แรงงานต่างด้าวจีน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาแรงงานรับจ้างชาวจีนในกรุงเทพฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2425-2492 เนื่องจากปี พ.ศ. 2425 ได้มีการเปิดเส้นทางการเดินเรือกลไฟระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศจีนโดยตรงเป็นครั้งแรก ส่งผลให้แรงงานรับจ้างชาวจีนอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพฯ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2492 เมื่อรัฐบาลออกกฎหมายกำหนดจำนวนชาวจีนเข้าประเทศไม่เกิน 200 คนต่อปี แรงงานรับจ้างชาวจีนจึงลดจำนวนการอพยพเข้าอย่างเห็นได้ชัด จากการศึกษาพบว่า เมื่อเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ คนจีนเหล่านี้ต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก เพราะอาชีพแรงงานรับจ้าง และวิถีชีวิตในสังคมเมืองแตกต่างจากสังคมชนบทในประเทศจีนอันเป็นถิ่นฐานเดิม ดังนั้นเมื่อแรกเข้ามาอยู่ในสังคมใหม่ แรงงานรับจ้างชาวจีนจึงต้องพึ่งพาอาศัย "จีนเก่า" ที่อยู่ในกรุงเทพฯ มาก่อน อาทิเช่น ความสัมพันธ์ในสมาคมลับอั้งยี่ สมาคมชาวจีน และระบบกงสี จำนวนแรงงานจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างปัญหาต่างๆ ทั้งต่อชุมชนชาวจีนและต่อรัฐไทย โดยความสัมพันธ์ระหว่างกันของชาวจีนเปลี่ยนแปลงไปในเชิงผลประโยชน์มากขึ้น ในขณะเดียวกันลัทธิชาตินิยมและแนวคิดทางการเมืองต่างๆ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยกับแรงงานรับจ้างชาวจีนเช่นกัน จนกระทั่งรัฐได้มีมาตรการในการจัดการควบคุมแรงงานรับจ้างชาวจีนอย่างเข้มงวด ความสัมพันธ์ระหว่างกันของชาวจีน และความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานรับจ้างชาวจีนกับรัฐบาลไทย เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทของแรงงานรับจ้างชาวจีนในรูปแบบต่างๆ ทั้งการเลื่อนสถานะของแรงงานไปสู่นายทุนน้อย การคงสถานะความเป็นแรงงานรับจ้าง และการลดสถานะของแรงงานรับจ้างไปสู่อาชีพที่ยากลำบากกว่า ประกอบกับมาตรการจำกัดจำนวนแรงงานชาวจีนเข้าประเทศของรัฐบาล และการเข้ามาของแรงงานไทย ทำให้แรงงานรับจ้างชาวจีนในสังคมกรุงเทพฯ ลดบทบาทลงและถูกทดแทนด้วยแรงงานไทยในที่สุด |
Other Abstract: | To study the Chinese wage labour in Bangkok from 1882 to 1949. At that time, the formation of a new direct trade route between Bangkok and the South China ports had brought them to Bangkok to begin their new life. Hence, they soon became the biggest non-agriculture wage labour force in Bangkok. The study ends with the enforcement of the law of 1949, when the government decided that the immigration of Chinese into Thailand should be limited to 200 people per year. The number of Chinese immigrants dropped drastically after that. From the research, it can be said that the Chinese had to adjust their life very much in settling down. This was due to their life as wage labour in Bangkok being far different from their life at home. So they had to depend very much on the 'Chinese who came before'. This situation had created many unique relationships like in the Ang-Yi secret society (triads), the Chinese associations and the kongsi. The rapid increase in Chinese wage labour had created a lot of impact on both the existing Chinese communities and the Thai Government. Relationships between the Chinese themselves developed into more profit-based relationships, which generated lots of troubles in general. At the same time, the government reacted to the nationalism and political ideology of the Chinese by taking control of Chinese wage labour. The relationships between the Chinese themselves, including that between the Chinese and the Thai Government, had brought change to the role of Chinese wage labour in Bangkok. Some of them had become entrepreneurs. Some stayed as wage labour. Thus, many of them suffered to hardship due to the restriction of law and the emerging of Thai wage labour. In no time, the Chinese wage labour who used to be the biggest non-agriculture wage labour in Bangkok was soon be replaced by a Thai labour forced. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10049 |
ISBN: | 9741742274 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayma.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.