Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10219
Title: ความรู้สึกต่อภาวะการดูแลและความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกที่เข้ารับการบำบัดรักษาในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
Other Titles: Burdens and stress in father and mother of children with autism at inpatients department of Yuwaprasatwitayopatum Hospital
Authors: นาฎยพรรณ ภิญโญ
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: chsrs@redcross.or.th, Siriluck.S@Chula.ac.th
Subjects: การสนับสนุนทางสังคม
ความเครียด (จิตวิทยา)
ผู้ป่วย -- การดูแล
บิดามารดาและบุตร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้สึกต่อภาระการดูแลของบิดามารดาเด็กอออทิสติก, ระดับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกต่อภาระการดูแลและความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่าง 110 ราย เป็นผู้ปกครองของเด็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก (Thai Youth Checklists : TYC), แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม, แบบสอบถามระดับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติก และแบบสัมภาษณ์ความรู้สึกต่อภาระการดูแล (Burden Interview : BI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการาวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยการคำนวณค่าไคสแควส์, Unpaired T-Test และ One - Way ANOVAผลการวิจัย พบว่า บิดามารดาเด็กออทิสติกส่วนใหญ่มีความรู้สึกต่อภาระการดูแลและความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าความรู้สึกต่อภาระการดูแลมีความสัมพันธ์กับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ p < .01และจากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านประวัติการเจ็บป่วยทางจิตหรือโรคประสาทของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ p<.01, ส่วนปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม,ปัญหาพฤติกรรม, อายุ, การศึกษา, รายได้ของผู้ปกครอง, การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม, การเข้ากับเด็กคนอื่นๆได้ และรูปแบบการรักษา มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 ในด้านการสนับสนุนทางสังคม พบว่า ผู้ปกครองเด็กออทิสติกส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง ในเรื่องปัญหาพฤติกรรมส่วนใหญ่เด็กออทิสติกมีปัญหาพฤติกรรมอยู่ในระดับมีปัญหา โดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาแบบแสดงออกและปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน ขาดสมาธิ และยังพบว่าปัญหาพฤติกรรมส่งผลต่อกับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกในระดับปานกลาง และปัจจัยในด้านประวัติการเจ็บป่วยทางจิตหรือโรคประสาทของบิดามารดาเด็กออทิสติก และ การปฏิบัติตนต่อพ่อแม่ของเด็กออทิสติก พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกต่อภาระการดูแลของบิดามารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p < .01 ส่วนปัจจัยด้านสถานภาพสมรส, ความพอเพียงของรายได้, การมีสมาชิกหรือญาติมีประวัติป่วยเป็นโรค ออทิซึม, อายุของผู้ป่วย, การเข้ากับเด็กคนอื่นๆได้ และระดับความรุนแรงของปัญหาพฤติกรรม พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกต่อภาระการดูแลของบิดามารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p < .05 ขณะที่ปัจจัยอื่นไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกต่อภาระการดูแลและความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of descriptive study was to find the burdens, the stress in father and mother of children with autism and to determine the relationships between related factors and burdens and stress in father and mother of children with autism at inpatients department of Yuwaprasatwitayopatum Hospital. The sample consisted of 110 parents. The instruments used in this study were the standard Thai Youth Checklist (TYC), The Personal Resource Questionnaire (PRQ Part II), The Stress In Parent Of Children With Autism Questionnaire and The Burden Interview (BI). The data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test Unpaired T-Test and One - Way ANOVA . The results of this study were as following :The burdens and stress of most father and mother of children with autism were at moderate degree and the burdens were significantly related to stress in parents of children with autism (p<.01). Factors were significantly related to stress in father and mother of children with autism were the history of psychiatric illness (p<.01), the social supporting system, behavioral problems, age, the level of education, income, participation in social activity, the interpersonal relationship and treatment pattern (p<.05). The social supporting system of most father and mother of children with autism were at moderate degree. The behavioral problems of children with autism were higher behavioral problems degree. They also have higher externalizing scores in the attention problems. The behavioral problems as mention were significantly related to stress in father and mother of children with autism were at moderate degree. Factors were significantly related to burdens in father and mother of children with autism were the history of psychiatric illness and interaction of children with autism (p<.01), the marital status, economic status, the history of autism illness, age of children, the interpersonal relationship and behavioral problems (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10219
ISBN: 9741717024
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NattyaphanPin.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.