Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1022
Title: | ความคาดหวังและการสื่อสารระหว่างข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานในยุคปฏิรูประบบราชการ |
Other Titles: | Expectation and communication among Thai government-scholarship officials, superiors, and co-workers in the period of bureaucratic reform |
Authors: | ปรียนุช เกตุนุติ, 2519- |
Advisors: | เมตตา วิวัฒนานุกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | ความคาดหวัง (จิตวิทยา) วัฒนธรรมองค์การ ส่วนราชการ--ไทย การสื่อสารในองค์การ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน และการปฏิสัมพันธ์ของข้าราชการทุนรัฐบาลไทยกับบุคลากรในองค์กรราชการ รวมถึงเปรียบเทียบความคาดหวังกับการปฏิบัติจริงของข้าราชการทุนรัฐบาลไทย ในมุมมองของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและข้าราชการทุนรัฐบาลไทยเอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ข้าราชการทุนรัฐบาลไทยซึ่งกลับมาชดใช้ทุนในช่วงการปฏิรูประบบราชการจำนวน 69 คน ผู้บังคับบัญชาจำนวน 50 คน และผู้ร่วมงานจำนวน 122 คน รวมทั้งสิ้น 241 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ในระดับปานกลางถึงมาก ได้แก่ การปรับความรู้มาใช้ การปรับตัวเข้ากับการทำงาน และการถ่ายทอดความรู้ แต่จากการหาค่าความแตกต่างทางสถิติพบว่า ระดับความคาดหวังของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและข้าราชการทุนรัฐบาลไทย มีความแตกต่างกันในเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศได้มีประสิทธิภาพ และการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาหน่วยงาน โดยผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานมีระดับความคาดหวัง สูงกว่าระดับความคาดหวังของข้าราชการทุนรัฐบาลไทย 2. โดยภาพรวม ความคาดหวังและการปฏิบัติจริงมีความสอดคล้องกัน แต่จากการหาค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องการได้รับการยอมรับในผลงาน การได้รับมอบหมายงานที่มีความสำคัญ การปรับตัวเข้ากับงานต่างๆ ในหน่วยงาน การมีความรับผิดชอบสูง การทำงานเป็นทีมและการมีทัศนคติเปิดกว้าง โดยระดับความคาดหวังต่ำกว่าระดับการปฏิบัติจริงในทุกข้อ 3. จากการปฏิบัติจริง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ข้าราชการทุนรัฐบาลไทยสามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อคำวิจารณ์ได้ดี แต่การแสดงประสิทธิภาพการทำงานไม่ต่างจากข้าราชการทั่วไป แม้ส่วนใหญ่เห็นว่าจะได้รับสิทธิพิเศษในการแสดงความสามารถ และความไว้วางใจในงานสำคัญ โดยพบว่าอุปสรรคนั้นคือ ลักษณะงานจำกัด ระยะเวลาการทำงานสั้น ความล่าช้าของบุคลากรในองค์กร และระเบียบขั้นตอนการทำงานมากเกินไป อย่างไรก็ดี ยังพบว่าในอนาคต หน่วยงานต่างๆ มีความต้องการข้าราชการทุนรัฐบาลไทยมาทำงานด้วย |
Other Abstract: | To study and compare work expectation and interaction of Thai government-scholarship officials and personnel in bureaucratic organizations, as well as a comparative study of the expectation and actual performance of Thai government-scholarship officials, from the viewpoint of their superiors, co-workers and from their self-report. The sample group used for the study consists of 69 Thai government-scholarship officials who have returned from their studies to work for the government during the period of bureaucratic reform, along with 50 of their superiors and 122 co-workers, totalling 241 samples. The main research tool used for collecting data are survey questionnaires. The findings of the research are as follow 1) Most samples of all three parties have similar expectations concerning work performance of Thai government-scholarship officials at medium to high level, namely : the officials' ability to adapt their knowledge for use in their work, their ability to adapt themselves in the workplace, and their ability to transfer knowledge. However, the only expectation which is found statistically significant is their foreign language proficiency and their potential to be a major human resource in developing the organization ; that is, the superiors and co-workers have higher expectation than Thai government scholarship officials themselves. 2) In general, actual work performance of Thai government-scholarship officials is in accordance with the expectation of most subjects. However, there are some statistically significant differences in degrees among the three groups in the following : the acceptance of work performed, the opportunity of being assigned towards important tasks, adaptability to various work within the organization, high responsibility towards work, ability to work as a team, and having an open attitude. In all of these cases, the level of expectation is lower than the level of actual performance. 3) Regarding the actual performance and interaction with others, Thai government-scholarship officials are perceived to respond to criticism and to received feedback in a positive manner. However, the superiors and co-workers perceived that work efficiency of Thai government-scholarship officials is not different from that of other government officials in general despite the fact that Thai government-scholarship officials are perceived to receive special privileges in expressing their full abilities and being entrusted with important assignments. In addition, It is found that the main obstacles to their work performance are : too limited scope of work, short period of work, slow working of personnel in the organization, and excessive work regulations. Still, it is found that there is a demand for Thai government-scholarship officials to work in the various governmental offices in future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1022 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.472 |
ISBN: | 9741754752 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.472 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeyanuch.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.