Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10236
Title: ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของหัวหน้าห้องปฏิบัติการชันสูตรทางคลินิกกลางในการจัดการของ เสียอันตรายของโรงพยาบาลขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในประเทศไทย พ.ศ. 2543
Other Titles: Knowledge, attitude and practice of central clinical laboratory chiefes about hazardous waste management in medium and large hospitals in Thailand, 2000
Authors: ภูวนารถ หมู่พยัคฆ์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
Wiroj.J@Chula.ac.th
Subjects: ของเสียอันตราย
ขยะติดเชื้อ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของหัวหน้าห้องปฏิบัติการชันสูตรทางคลินิกกลางในการจัดการของ เสียอันตรายของโรงพยาบาลขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในประเทศไทยทั้งหมด จำนวน 245 แห่ง สำรวจโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง และส่งกลับทางไปรษณีย์ที่ผ่านการทดสอบแล้ว เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2543 - 15 กุมภาพันธ์ 2544 จำนวนที่ตอบกลับทั้งสิ้น 161 แห่ง (ร้อยละ 65.7) จำแนกเป็น โรงพยาบาลขนาดกลาง 119 แห่ง (ร้อยละ 73.9) โรงพยาบาลขนาดใหญ่ 42 แห่ง (ร้อยละ 26.1) ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Unpaired t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าห้องปฏิบัติการฯเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย (1.14 :1) อายุเฉลี่ย 39.70 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 77.0) ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐบาล (ร้อยละ 64.6) ปฏิบัติงานตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ (ร้อยละ 85.8) มีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 11.45 ปี ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 89.8) มีความรู้ในการ จัดการของเสียอันตรายค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 48.5) มีเจตคติต่อการจัดการของเสียอันตรายดี (ร้อยละ 82.5) มีการปฏิบัติค่อนข้างดี (ร้อยละ 74.9) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าความรู้ และเจตคติของหัวหน้าห้องปฏิบัติการในการจัดการของเสียอันตรายไม่มีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับ ระดับการศึกษา สาขา ที่สำเร็จการศึกษา ประสบการณ์เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการ การฝึกอบรม ขนาด สังกัด ปริมาณของเสียอันตรายที่ครอบครอง และระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ ส่วนการจัดการ (ปฏิบัติ) ของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ประสบการณ์เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการ สังกัด และระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ (p=0.019 , 0.017 และ 0.009 ตามลำดับ) การศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการของเสียอันตราย ในห้องปฏิบัติการชันสูตรทางคลินิกกลาง ควรจัดให้มีการฝึกอบรมการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการให้กับหัว หน้าห้องปฏิบัติการอย่างทั่วถึง สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ และควรบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการไว้ใน หลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ถึงระดับมหาวิทยาลัย
Other Abstract: The purpose of this descriptive study was to determine knowledge, attitude, and practice of central clinical laboratory chiefs about hazardous waste management in medium and large hospitals in Thailand, 2000. The subjects were all of 245 central clinical laboratory chiefs. The pre-tested questionnaires were used. The data were collected by mailing questionnaires during 7 December, 2000 and 15 February, 2001. There were 161 respondents (response rate 65.7 %), consisted of 119 medium hospitals (73.9 %), and 42 large hospitals (26.1 %). Unpaired t-test and One-Way ANOVA were used for statistical analyses. The result of this study showed that the central clinical laboratory chiefs were female more than male (1.14 : 1). The mean age was 39.70 years. The majority of them got bachelor degree (77.0 %). Average of experience of central clinical laboratory chiefs was 11.45 years. Most of them were working in government hospital (64.6 %) , and technical medical science officers (85.8 %), but not trained about hazardous waste management in clinical laboratory (89.8 %). Knowledge of central clinical laboratory chiefs was rather low (48.5 %), attitude was good (82.5%) and practice was rather good (74.9 %). Knowledge and attitude of central clinical laboratory chiefs were not significantly associated with education level, the program they graduated, experience of central clinical laboratory chiefs, training, size of hospital, affiliation of hospital, amount of hazardous waste generated, and laboratory quality assurance system. Practice of central clinical laboratory chiefs were significantly associated with experience of central clinical laboratory chiefs, affiliation of hospital, and laboratory quality assurance system (p=0.019, 0.017 and 0.009, respectively). These results suggest that the knowledge and practice about hazardous waste management of central clinical laboratory chiefs should be improved by training on hazardous waste management, developing laboratory assurance system and integrating contents into curricula which teach about laboratory of high school through university.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10236
ISBN: 9741308531
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PoowanatMoo.pdf958.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.