Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10423
Title: วรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร : การวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์และการทดสอบการรับรู้
Other Titles: The tones of Thai in tracheoesophageal speech : acoustic analysis and perception
Authors: กุสุมา นะสานี
Advisors: กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: kalaya@chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- วรรณยุกต์
การพูด -- การทดสอบ
ภาษาไทย -- การออกเสียง
การพูดโดยใช้หลอดอาหาร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียง โดยผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารและนำมาเปรียบเทียบกับของผู้พูดปกติ พร้อมทั้งทดสอบการรับรู้วรรณยุกต์ของผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารโดยคนปกติ ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ค่าความถี่มูลฐาน ค่าความเข้ม และค่าระยะเวลา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารและผู้พูดปกติกลุ่มละ 3 คน รายการคำที่ใช้เป็นคำพยางค์เดียวจำนวน 80 คำ ใช้โปรแกรม Praat v.3.9.10 และ Microsoft Excel 2000 ในการวิเคราะห์และประมวลผล และใช้โปรแกรม SPSS for Windows v.10 ในการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANOVA) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญของความต่างที่ .05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางกลสัทศาสตร์แบ่งผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารที่เป็นผู้บอกภาษาในงานวิจัยนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้พูดกลุ่มที่ 1 มีลักษณะทางกลสัทศาสตร์แตกต่างจากผู้พูดปกติอย่างชัดเจน กล่าวคือ มีค่าความถี่มูล-ฐานต่ำและพิสัยแคบ การทดสอบความแตกต่างทางสถิติแสดงว่า วรรณยุกต์ตรีแตกต่างจากวรรณยุกต์สามัญ วรรณยุกต์เอกและวรรณยุกต์โทอย่างมีนัยสำคัญ กรณีค่าความเข้มของวรรณยุกต์ทั้ง 5 หน่วยเสียงนั้น มีการเพิ่มลดค่าใกล้เคียงกันมาก การทดสอบความแตกต่างทางสถิติยืนยันว่าวรรณยุกต์ของผู้พูดกลุ่มที่ 1 มีค่าความเข้มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่าระยะเวลานั้นมีเพียงวรรณยุกต์โทที่มีค่าแตกต่างจากวรรณยุกต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีของผู้พูดกลุ่มที่ 2 ค่าความถี่มูลฐาน ค่าความเข้มและค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์แตกต่างกันมากกว่าของผู้พูดกลุ่มที่ 1 และคล้ายคลึงกับของผู้พูดปกติ อย่างไรก็ดีเมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า ค่าความถี่มูล-ฐานของวรรณยุกต์สามัญกับวรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์สามัญกับวรรณยุกต์โท วรรณยุกต์ตรีกับวรรณยุกต์จัตวา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่าความเข้มนั้น พบว่า วรรณยุกต์จัตวาแตกต่างจากวรรณยุกต์อื่น และวรรณยุกต์โทแตกต่างจากวรรณยุกต์สามัญและวรรณยุกต์ตรีอย่างมีนัยสำคัญ และค่าระยะเวลาของวรรณยุกต์โทแตกต่างจากวรรณยุกต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ การทดสอบการรับรู้วรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารใช้ผู้ฟังจำนวน 30 คน และใช้แบบทดสอบการรับรู้ 2 ลักษณะ คือ แบบ 2 ตัวเลือก และแบบ 5 ตัวเลือก ผลการวิจัยพบว่า ในกรณีของผู้พูดกลุ่มที่ 1 เมื่อใช้แบบทดสอบ 2 ตัวเลือก ผู้ฟังรับรู้ได้ค่อนข้างดี มีคะแนนการรับรู้ถูกต้องร้อยละ 72.29 และพบว่าผู้ฟังไม่สามารถจำแนกวรรณยุกต์จัตวาจากวรรณยุกต์อื่นๆ ทั้งวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับและวรรณยุกต์คงระดับ และไม่สามารถจำแนกวรรณยุกต์สามัญกับวรรณยุกต์เอก เมื่อทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ 5 ตัวเลือก พบว่า ผู้ฟังมีคะแนนการรับรู้ถูกต้องเพียงร้อยละ 37.39 ปัญหาที่พบเหมือนกับกรณีการทดสอบแบบ 2 ตัวเลือก ในกรณีของของผู้พูดกลุ่มที่ 2 เมื่อทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ 2 ตัวเลือก ผู้ฟังสามารถรับรู้ได้ถูกต้องมากถึงร้อยละ 93.38 โดยสามารถรับรู้วรรณยุกต์แยกจากกันได้ทุกหน่วยเสียง เมื่อใช้แบบทดสอบ 5 ตัวเลือก พบว่าสามารถรับรู้ได้ถูกต้องร้อยละ 74.11 วรรณยุกต์ที่ผู้ฟังสับสน คือ วรรณยุกต์สามัญกับวรรณยุกต์โท วรรณยุกต์สามัญกับวรรณยุกต์เอก และวรรณยุกต์จัตวากับวรรณยุกต์ตรี จากผลการวิจัยเห็นได้ว่าผลการวิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์และผลการทดสอบการรับรู้สอดคล้องกัน
Other Abstract: The objective of this research is to investigate the acoustic characteristics of tones in Thai produced by tracheoesophageal speakers,compared with those of normal speakers and also to test their perceptual efficacy. The acoustic characteristics studied in this research are fundamental frequency, intensity and duration. The data was collected from three tracheoesophageal speakers and three normal speakers.The uttterances are 80 citation forms of words,which were analyzed and processed by computer using the Praat v.3.9.10. and Microsoft Excel 2000 programs. ANOVA operating with a significance level of 0.05 was done by SPSS for Windows v.10 The results of the acoustic analysis divide tracheoesophageal speakers into two groups. In the first group, the acoustic characteristics of the five tones are clearly different from those of normal speakers.The fundamental frequency shapes are low and have a narrow range.The statistical test shows that the high tone is significantly different from the mid, low and falling tones. The intensity shapes are similar among the five tones. As for duration, the falling tone is shorter than the others.The statistical test supports these results.The intensity and the duration produced by the first group show no significant difference among the five tones,except for the duration of the falling tone. In the case of the second group,the shape of the fundamental frequency, intensity and the durations of the five tones are more different than those of the first group and similar to those of normal speakers. However, the statistical test shows that the fundamental frequency shapes of the mid and low tones,mid and falling tones,high and rising tones are not significantly different. As for intensity,only the rising tone shows a significant difference from the others.As for duration, only the falling tone is significantly shorter than the other tones. In the perception tests, 30 listeners identified the tones of tracheoesophageal speakers by using two types of test, two-way choices and five way choices.In the two-way test of the first group, the listeners were able to correctly identify the tones 72.29% of the time.They were not able to discriminate the rising tone from both static and dynamic tones. In addition they confused the mid and low tones. In the five-way test, the listeners correctly identified the tones 37.39% of the time, and tone confusions were similar to those of the two-way test. In the case of second groupʼs two-way test, the listeners had nearly perfect score of 93.38%.They could identify all five tones.In the five-way test, the listeners achieved 74.11%.The tone which were confused were the mid and falling, mid and low, rising and high. The findings of this research show agreement between acoustic characteristics and perception.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10423
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.399
ISBN: 9741714335
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.399
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kusuma.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.