Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10448
Title: ธรรมาภิบาลในความหมายของภาครัฐ เอกชน และประชาชน : กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน "หินกรูด"
Other Titles: Governance from the perspectives of government, private sector and civil society : a case of "Hin Krut" coal-fired power plant project
Authors: ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์
Advisors: พิทยา บวรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Bidhya.B@Chula.ac.th
Subjects: โรงไฟฟ้าหินกรูด
ธรรมรัฐ
ไทย -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของแนวคิดธรรมาภิบาลในสังคมไทย ในมุมมองของภาครัฐ เอกชน และประชาชนต่อกรณีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน "หินกรูด" โดยประยุกต์แนวคิดธรรมาภิบาลในการอธิบายปรากฏการณ์ความขัดแย้งของกรณีดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงปฏิบัติการ และข้อเสนอแนะเชิงทฤษฎีสำหรับแนวคิดธรรมาภิบาลในสังคมไทย โดยผู้วิจัยใช้องค์ประกอบธรรมาภิบาล 8 ประการที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งประกอบด้วยหลักนิติธรรม ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม ความเสมอภาค และฉันทานุมัติมาเป็นกรอบในการวิจัย โดยวิเคราะห์ผ่านบทบาทของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ผลของการวิจัยที่ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการโรงไฟฟ้า "หินกรูด" วิเคราะห์ได้ว่า หลักนิติธรรมคือศูนย์กลางของหลักต่างๆ ในการสร้างธรรมาภิบาลในมุมมองของภาครัฐ จะเห็นได้ว่าในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูดนี้ ประเด็นในการอ้างอิงและชี้แจงของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะเน้นในเรื่องของสัญญาที่ผูกพันกับคู่สัญญา และการดำเนินการโครงการที่ชอบธรรมตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญเดิม ในส่วนของภาคเอกชน หลักธรรมาภิบาลที่ภาคเอกชนยึดถือและให้ความสำคัญเป็นพิเศษมากกว่าหลักอื่นๆ คือหลักนิติธรรมและหลักความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในขณะที่หลักการมีส่วนร่วมคือหัวใจของภาคประชาชนในการที่จะสร้างธรรมาภิบาล ภาคประชาชนเห็นว่าประชาชนควรได้รับโอกาสการมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย การพิจารณา ตลอดจน ขั้นตอนของดำเนินการโครงการ จากแบบจำลองที่ได้จากการวิเคราะห์ปรากฏการณ์กรณี หินกรูด ในทัศนะของภาคประชาชนแล้วหลักอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการสร้างธรรมาภิบาล เป็นแค่ส่วนประกอบที่อยู่รายรอบหลักการมีส่วนร่วมเท่านั้น
Other Abstract: The objectives of this dissertation are: to study the evolution of the concept of governance in Thailand from the perspectives of government, private sector and civil society through the case of "Hin Krut" coal-fired power plant project; utilize governance as a concept to highlight the "Hin Krut" project; and to develop operational models and theoretical suggestions for the concept of governance in Thailand. The researcher applies governance's eight components, which were integrated from existing body of knowledge on governance. The eight components of governance framework are rule of law, responsibility, transparency, accountability, efficiency and effectiveness, participation, equity and inclusiveness, and consensus oriented. The research results indicate that "rule of law" is the most important component from the perspectives of government actors. From the perspectives of the private sector both "rule of law" and "efficiency and effectiveness" are the priorities. On the other hand, the civil society considers "participation" as the heart of governance. The main lesson learnt from this case indicates that it is crucial that the civil society should have a channel to participate in every process of project formulation and implementation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10448
ISBN: 9741727062
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chartchai.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.