Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10451
Title: ผลของการใช้วิธีลดความรู้สึกอย่างเป็นระบบในการลดความวิตกกังวลในการสอบ
Other Titles: Effects of systematic desensitization in reducing test anxiety
Authors: นัยนา เหล่าสุวรรณ
Advisors: พรรณราย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความวิตกกังวล
จิตบำบัด
จิตวิทยาการศึกษา
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้วิธีลดความรู้สึกอย่างเป็นระบบในการลดความวิตกกังวลในการสอบ โดยมีสมมุติฐานว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกลดความรู้สึกอย่างเป็นระบบจะมีความวิตกกังวลในการสอบลดลงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2523 แห่งวิทยาลัยพยาบาลชัยนาทจำนวน 20 คน ที่ได้คะแนนจากแบบสำรวจความวิตกกังวลในการสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไม่ต่ำกว่า X+.5 S.D. แล้วนำมาจับฉลากเข้าอยู่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกลดความรู้สึกอย่างเป็นระบบจำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมงภายในเวลา 2 สัปดาห์ก่อนสอบปลายภาค ส่วนกลุ่มควบคุมมิได้รับการฝึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าที (t-test) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนที่ลดลงของแบบสำรวจความวิตกกังวลในการสอบในครั้งที่ทดสอบก่อนการทดลองและครั้งที่ทดสอบหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (t=1.947)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of systematic desenstitization in reducing test anxiety. The hypothesis was that the subjects who attended systematic desensitization would decrease their test anxiety than those who did not attend. The sample comprised of 20 first year nurse students of Chainat College of nurse who obtained the inventory of test anxiety scores not less than X + .5 S.D. and was randomly devided into two groups: an experimental group and a control group. The experimental group attended systematic desensitization for 6 sixty minute-sessions, for two weeks before the final examination. Randomized pretest-posttest control group design was used and the statistical method for data analysis was the t-test. The result indicated that the hypothesis was supported at the .05 level of significance (t = 1.947).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10451
ISBN: 9745609714
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana.pdf14.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.