Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10473
Title: | Role of contrast enhanced cranial CT scan on the management of patients with clinical diagnosis of stroke |
Other Titles: | บทบาทของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำในการวางแผนรักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอาการผิดปกติเฉียบพลันของระบบประสาทเนื่องจากสภาวะผิดปกติของหลอดเลือด |
Authors: | Sukalaya lerdlum |
Advisors: | Pirom Kamol-Ratanakul Somjai Wangsuphachart |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Medicine |
Advisor's Email: | Pirom.K@Chula.ac.th fmedsws@md2.md.chula.ac.th |
Subjects: | Cerebrovascular discase -- Tomography Cerebrovascular disease -- disease -- Treatment |
Issue Date: | 2002 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Objectives : To identify the therapeutic impact of contrast enhanced computed tomography (CECT) that the treatment plan made by clinicians are altered as a result of application of CECT in patient with clinical diagnosis of stroke. Design : Observational prospective descriptive study Setting : King Chulalongkorn Memorial Hospital Participants : Two hundreds and fifty seven adult patients, age more than 45 years old with clinical diagnosis of stroke who need CT scan for treatment plan were enrolled in this study. Methods : CT scans were performed with informed consent and interpreted by radiology residents. The treatments were planned by clinicians after CT result. Additional CECT were performed only in cases that clinicians request with various reasons. Outcome measures : Main outcome was proportion of cases which required CECT that change treatment plan from stroke to others and cost effectiveness analysis was evaluated. Results : In 257 cases of the patients with clinical diagnosis of stroke who need CT for treatment planning additional CECT were requested in 52 cases (20.2%). Only 5 cases that treatment plan were changed from ischemic stroke and hypertensive bleeding. By using cost effectiveness analysis the cost effectiveness ratio is about 29,000 Baht. By using sensitivity analysis, the cost effectiveness ratio of CECT will increase up to 31,500 Baht if nonionic contrast media is used instead of ionic contrast media. Conclusion : Only nonenhanced CT scan should be enough for treatment plan in neurologic condition of stroke in aging (more than 45 years old) if normal CT scan, typical patterns of ischemic stroke or hypertensive bleeding are demonstrated. However, experience in using criterial of clinical diagnosis and experience in CT interpretation are needed. |
Other Abstract: | วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ที่มีการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำร่วมด้วยต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาทอย่างเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีสาเหตุเนื่องจากสภาวะที่สมองขาดเลือด รูปแบบการวิจัย : การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณา สถานที่ทำการวิจัย : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประชากรที่ศึกษา : ผู้ป่วยอายุมากกว่า 45 ปี จำนวน 257 ราย ที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลัน ที่แพทย์ให้การวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีสาเหตุมาจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงและแพทย์ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมองเพื่อวางแผนการรักษา วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยได้รับการตรวจ CT โดยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจวินิจฉัย แพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาเป็นผู้ประเมินผล CT แพทย์ผู้ส่งตรวจจะวางแผนการรักษาผู้ป่วยเมื่อทราบผล CT โดยจะมีการตรวจ CT เพิ่มเติมหลังจากฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ ในกรณีที่แพทย์คิดว่าจำเป็นต่อการวางแผนการรักษา การวัดผล : สัดส่วนของผู้ป่วยที่ผลการตรวจ CT ซึ่งมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำร่วมด้วยที่ มีผลในการเปลี่ยนแปลงแผนการรักษาจากภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง รวมทั้งการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการตรวจวินิจฉัยที่มีผลต่อการวางแผนการรักษา ผลการวิจัย : จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่แพทย์ส่งตรวจ CT 257 ราย มีการฉีดสารทึบรังสีร่วมด้วย 52 ราย (20.2%) มีเพียง 5 ราย ที่ผลการตรวจดังกล่าวมีผลเปลี่ยนแปลงการวางแผนการรักษาจากภาวะที่มีการอุดตันของหลอดเลือด หรือภาวะเลือดออกจากความดันโลหิตสูงเป็นการรักษาแบบอื่น จากการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลพบว่า ต้องมีการใช้เงิน 29,000 บาท ต่อ 1 รายที่มีการเปลี่ยนแปลงการรักษา นอกจากนี้ในกรณีที่มีการใช้สารทึบรังสีชนิด nonionic แทนสารทึบรังสีชนิด ionic จะมีค่าต้นทุน-ประสิทธิผลเป็น 31,500 บาท สรุป : ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มอายุเกิน 45 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีอาการผิดปกติเฉียบพลันของระบบประสาทจากภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือมีเลือดออกในสมองจากผลของความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยสามารถใช้เพียงผลการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ ที่แสดงลักษณะความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดในตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง การอุดตันของหลอดเลือดขนาดเล็ก การมีเลือดออกในสมองในตำแหน่งเฉพาะเจาะจงจากภาวะความดันโลหิตสูง หรือไม่พบความผิดปกติจากการตรวจ CT ช่วยวางแผนในการรักษาได้ถ้าแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย และรังสีแพทย์มีหลัเกณฑ์การวินิจฉัยที่แม่นยำและมีประสบการณ์เพียงพอ |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2002 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Health Development |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10473 |
ISBN: | 9741715218 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukalaya.pdf | 3.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.