Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10503
Title: ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแล สาธารณูปโภคส่วนกลางโดยผู้ประกอบการ คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วม บริหาร
Other Titles: Attitude and satisfaction towards common expense collection by the developer, the village committee and the village committee which is co-operated by Tambon Administration
Authors: สมพิศ ดวงคำ
Advisors: สุปรีชา หิรัญโร
ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Supreecha.H@chula.ac.th
zooaey@hotmail.com, Yuwadee.S@Chula.ac.th
Subjects: ค่าใช้จ่าย
สาธารณูปโภค
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการวิจัยเรื่อง ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วน กลาง โดยผู้ประกอบการ, คณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร่วมบริหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการ ให้บริการดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ วิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ รวมทั้งการศึกษาทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรที่มีแนวทางการบริหารดูแล สาธารณูปโภคทั้ง 3 รูปแบบ จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัยใน หมู่บ้านที่บริหารโดยผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 คน มีสภาพในครัวเรือนเป็นหัวหน้าครอบครัวมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือน 35,000-40,000 บาท ที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดเนื้อที่ 20 ตารางวา และมีสถานะเป็นเจ้าของบ้านเอง กลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัยใน หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีสถานภาพในครัวเรือนเป็นหัวหน้าครอบครัว มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดเนื้อที่ 19 ตารางวา และมีสถานะเป็นเจ้าของบ้านเอง และกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่อาศัยใน หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วม บริหาร(อบต.) ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือน 3 คน มีสถานภาพในครัวเรือนเป็นผู้พักอาศัย ซึ่งเป็นญาติพี่น้องหรือเป็นผู้เช่าผู้อยู่อาศัยมีรายได้ของครอบครัวต่อ เดือน 5,000 - 10,000 บาท ที่พักอาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ขนาดเนื้อที่ 16 ตารางวา และมีสถานะเป็นผู้เช่า ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางพบว่า หมู่บ้านที่บริหารโดยผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางในเกือบทุกรายการ ยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนกลางเกี่ยวกับค่าสายตรวจตำรวจ ค่าลอกท่อระบายน้ำ และถึงแม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่รู้ถึงค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างก็ยังยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางข้างต้น เนื่องจากมีความพึงพอใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางในทุกรายการ และมีความยินดีที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ทุกรายการ เนื่องจากเห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จัดเก็บมีความเหมาะสมเพราะการจัดเก็บ คุ้มค่ากับการดูแล และการจัดเก็บไม่แพงมาก หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร (อบต.) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพียง 2 รายการ คือ ค่าเก็บขยะ และ ค่ารักษาความปลอดภัย แต่มีความยินดีที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ทุกรายการ เนื่องจากเห็นว่าค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคที่จัดเก็บมีความเหมาะสมเพราะการจัดเก็บไม่แพงมาก สรุปได้ว่าแม้ผู้อยู่อาศัยจะไม่รับรู้บางรายการในเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนกลางแต่ยังยินดีที่จะจ่ายเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิรของผู้อยู่อาศัย เช่น ค่าสายตรวจตำรวจ เป็นต้น ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสาธารณูปโภคและการให้บริการของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัยพบว่าหมู่บ้านที่บริหารโดยผู้ประกอบการ ผู้อยู่อากศัยเห็นว่าผู้ประกอบการมีการดูแลเอาใจใส่ในระดับสม่ำเสมอ แต่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้อยู่อาศัยเห็นว่าการบริหารจัดการยังไม่ดีพอ หมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและหมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร (อบต.) ผู้อยู่อาศัยเห็นว่ามีการดูแลเอาใขใส่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง เพราะเห็นว่าการจัดเก็บไม่แพง ข้อค้นพบประเด็นที่น่าสนใจ 1) ในด้านการดำเนินการจัดเก็บค่าใช้จ่าย เพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลางที่จัดเก็บโดย คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรสามารถจัดเก็บได้ตามจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร เพราะผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านทั้ง 2 แห่ง มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทน เข้ามาบริหารจัดการ 2) ในด้านวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภค พบว่า คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร จัดเก็บโดยใช้ยามรักษาความปลอดภยที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อยู่อาศัยเป็นผู้จัดเก็บ สำหรับหมู่บ้านที่มีการบริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมบริหาร (อบต.) เนื่องจากมีสภาพบังคับในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางรวมกับค่าน้ำ จึงทำให้สามารถเก็บได้ครบตามจำนวน ข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจในการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางขึ้นกับการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยทำให้เกิดการยอมรับในการที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเกิดความพึงพอใจที่จะจ่ายในระดับที่สูง ดังนั้นแนวทางหนึ่งซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางและทำให้ผ๔อยู่อาศัยมีความพึงพอใจได้นั้น คือ การปรับรูปแบบการบริหารจัดการสาธารณูปโภคโดยการให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมและร่วมรับรู้ในการบริหารจัดการด้วย
Other Abstract: The objectives of this study are to study an attitude and satisfaction towards common expense collection in the villages run by a developer, a village committee and a village committee which is co-operated by the Tambon Administration. It is found that most residents' family in the village run by developer comprise of 3 members. Most respondents live in a townhouse of 20 square wah. They are house owners, family leaders and earn a household income per month of 35,000 - 40,000 baht. Most residents' family in the village run by a village committee comprise of 4 members. Most respondents live in a townhouse of 19 square wah. They are house owners, family leaders and earn a household income per month of 5,000 - 10,000 baht. Most residents' family in the village run by a village committee which is co-operated by the Tambon Administration comprise of 3 members. Most respondents live in a townhouse of 16 square wah. They are relatives of the house owners or tenants, family leaders and earn a household income per month of 5,000 - 10,000 baht. Regarding opinions on common expense collection, most of those who live in the village run by a developer know almost all of common expenses except the expenses on the police patrolling the village and drain pipe cleaning. However, they are happy to pay the above expenses since they are satisfied with the village security. Most of those who live in the village run by a village committee know all of common expenses and are happy to pay all of them because of the common expense rate collected is suitable. Most of those who live in the village run by a village committee which is co-operated by the Tambon Administration know only 2 items of common expenses, which are a garbage collecting expense and a security expense, but are happy to pay all them since the rate is not too high. In conclusion, although some expenses are unknown, the residents are happy to pay them especially if the expenses are related to security of life and properties. Regarding opinions on utility management, most of residents who live in the village run by a developer think that the developer is consistent in managing the village utilities. However, they have moderate satisfaction with the management due to the perception that the management quality is not up to their expectation. Most of residents in the village run by a committee and the village run by a committee which is co-operated by the Tambon Administration think that management team puts moderate efforts in managing the village utilities and they have moderate satisfaction with the management due to the perception that the management quality is not up to their expectation and that the common expense rate collected is not too high. The interesting findings are as follows : 1) The common expense collection is best in the village run by village committee followed by the village run by village committee which is co-operated by the Tombon Administration. This is resulted from the participation by the residents in choosing a team to manage the village utility. 2) The effectiveness of the common expense collection of the village run by a village committee is due to a good connection of the security guard with the residents. For the village run by a village committee which is co-operated by the Tambon Administration the collection of the common expense is effective because it is included in the water bill. The recommendations are that the satisfaction in paying the common expenses depends on the participation made by the residents in setting the management committee. Therefore, in order to increase the effectiveness in the common expense collection, the change of the utility management structure which take into account the participation by the residents should be considered.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10503
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.304
ISBN: 9741731914
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.304
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompit.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.