Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10546
Title: การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง
Other Titles: A research and development of the evaluation system of student nurses' learning based on the collaborative evaluation approach
Authors: ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nonglak.W@Chula.ac.th
Suwimon.W@chula.ac.th
Subjects: การประเมิน
การเรียนรู้
นักศึกษาพยาบาล
การเรียนรู้ -- การประเมิน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สร้าง ทดลองใช้และตรวจสอบระบบการประเมินการเรียนรู้ ของนักศึกษาพยาบาลตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง แผนแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา การศึกษาผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้แผนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหัวหน้าฝ่าย 8 คน คณาจารย์ 34 คน และนักศึกษาพยาบาล 183 คน จากวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสำรวจ การบันทึกประจำวัน การระดมความคิด การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติภาคบรรยาย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากการใช้ระบบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลังเป็นเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ เมษายน-ตุลาคม 2545 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลังประกอบด้วย 4 ระบบย่อยได้แก่ ระบบการสร้างปฏิสัมพันธ์ ระบบฐานข้อมูล ระบบประเมินเชิงปฏิบัติการ และระบบการให้ข้อมูลป้อนกลับ (2) กระบวนการพัฒนาให้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เกิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลังประกอบด้วย การสร้างความตระหนักในคุณค่าของการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง การสนับสนุน การกำกับติดตาม และการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง (3) ค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ศึกษาทุกตัวเกี่ยวกับการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง ของทุกกลุ่มมีค่าสูงขึ้นจากระดับปานกลางก่อนการใช้ระบบ เป็นระดับค่อนข้างมากหลังการใช้ระบบ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นตัวแปรเกี่ยวกับการเปิดโอกาสในการให้ข้อมูลป้อนกลับ ความพร้อมที่จะพัฒนาองค์การและตนเองเรื่องการประเมิน ความสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ความสามารถแสดงหลักฐาน เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด การยอมรับความคิดเห็นที่ได้จากการอภิปรายหรือประชุมร่วมกัน และการมีส่วนร่วมในการสร้างคู่มือแนวทางหรือขั้นตอนการประเมิน ในกลุ่มของหัวหน้าฝ่าย (4) ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การขาดความเข้าใจในระบบของผู้บริหาร การขาดความตระหนักในคุณค่าและความพร้อมของผู้ใช้ระบบ และความไม่ต่อเนื่องของการนำระบบไปใช้ (5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง ในกลุ่มคณาจารย์และนักศึกษาพยาบาลได้แก่ ปัจจัยส่งเสริมจากภายนอก ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของผู้ประเมิน และปัจจัยเงื่อนไขการทำงาน (6) กระบวนการพัฒนาให้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจเกิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง และการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลังที่เหมาะสม คือรูปแบบที่สนับสนุนกระบวนการกลุ่มในการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ทางเลือกที่ยืดหยุ่นหลายทางเลือก การแก้ปัญหาร่วมกัน และการสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย และดำเนินกิจกรรมการประเมินทั้ง 16 ขั้นตอน
Other Abstract: To develop, experiment, and validate the evaluation system of student nurses' learning based on the collaborative evaluation approach. The research design was a research and development. The design for studying the results of the developed system was a quasi-experiment. The sample consisted of 8 administrators, 34 teachers, and 183 student nurses from the Police Nursing College. Data was collected by means of observation, interview, survey, diary, and data recording from document. Content analysis was employed for qualitative data, whereas descriptive statistics, comparison of means, analysis of variance and multiple regression analysis were employed for quantitative data. Practicing the developed system for 7 months: April-October, 2002, resulted as follows (a) the evaluation system of student nurses' learning consisted of 4 sub-systems: interaction building, data base, action evaluation, and feedback; (b) the development processes to support the Police Nursing College for the collaborative evaluation included awareness building, supporting, monitoring, and feedback; (c) there were statistically significant differences between posttest means and pretest means in all variables of collaborative evaluation in all groups except the opportunity to feedback, the readiness to develop the institution and himself in evaluation, the capacity to advice the evaluation method and to resolve misconception, the acceptance in consensus, and the participation to make guidelines of the administrator group; (d) the problems and obstacles from using developed system were lack of understanding system of administrators, lack of awareness and readiness of system user, and inconsistent use of system; (e) the factors that influenced on the successful collaborative evaluation in the teacher and the student nurse group were supporting, ability to evaluate, and working condition; (f) the appropriate development processes to support the Police Nursing College for the collaborative evaluation and the pattern of the evaluation system of student nursesʼ learning were the processes which encouraged group process in goal setting, many flexible choices, shared problem solving, and democratic setting with 16- step pattern.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10546
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.777
ISBN: 9741730446
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.777
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thipkhumporn.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.