Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10639
Title: การวิเคราะห์แนวโน้มของการสร้างปริมาณการค้า และการหันเหทิศทางการค้า จากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (กรณีศึกษา : ประเทศไทย)
Other Titles: The analysis of trend in trade creation and trade diversion under AFTA scheme (case study : Thailand)
Authors: พัตเนตร รามางกูร
Advisors: สมชาย รัตนโกมุท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เขตการค้าเสรีอาเซียน
กลุ่มประเทศอาเซียน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ได้ประยุกต์ทฤษฎีการสร้างปริมาณการค้าและการหันเหทิศทางการค้าของ Balassa เพื่อประมาณผลกระทบที่เกิดจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยได้แบ่งช่วงเวลาที่ศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือช่วงแรกเป็นช่วงก่อนที่จะมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (1980-1992) และช่วงที่สองเป็นช่วงหลังจากที่เขตการค้าเสรีอาเซียนได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว (1993-2001) จากนั้นจึงนำค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์การนำเข้าสินค้าต่อรายได้ประชาชาติของข้อมูลทั้ง 2 ช่วงเวลามาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจากทฤษฎีการสร้างปริมาณการค้าและการหันเหทิศทางการค้าของ Balassa นั้น ได้อธิบายว่า การสร้างปริมาณการค้าจะเกิดขึ้น ถ้าหลังจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแล้ว ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์การนำเข้าสินค้าต่อรายได้ประชาชาติมีค่าเพิ่มขึ้น และการหันเหทิศทางการค้าจะเกิดขึ้น ถ้าหลังจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแล้ว ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์การนำเข้าสินค้าต่อรายได้ประชาชาติมีค่าลดลง จากการศึกษาพบว่า การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ส่งผลกระทบกับรูปแบบการนำเข้าสินค้าของประเทศไทยหลายชนิด โดยได้เกิดการสร้างปริมาณการค้าขึ้นกับประเทศภาคีอาเซียนในหลายสินค้า และได้เกิดการหันเหทิศทางการค้ากับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ AFTA ในหลายสินค้าเช่นกัน การศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบกับรูปแบบการนำเข้าสินค้าของประเทศไทย โดยใช้การประยุกต์แบบจำลองกราวิทัต พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์กับมูลค่าการนำเข้าสินค้าหลายชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานของแบบจำลองกราวิทัตดั้งเดิม และอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับมูลค่าการนำเข้าสินค้าหลายชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งหมายความว่าสินค้านำเข้าสามารถนำมาใช้แทนสินค้าที่ผลิตเองในประเทศได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: This study adopted Balassa's quantitative approach in estimating the trade creation and trade diversion effects of AFTA scheme. We refered to 1980-1992 period as the pre-integration, and 1993-2001 period as the post-integration. Then, we compare income elasticity of import demand of both periods. Significant positive change between income elasticity of import demand implied trade creation while significant negative change between income elasticity of import demand trade diversion. The result study indicated that there were many commodities that have significant trade creation effect while some commodities that have significant trade diversion effect. A reduced-form gravity model was modified to evaluate the determinant of trade flows of selected commodities and this model was evaluated by using both time series and cross section data. Our study showed that both variables including exchange rates and inflation rate of Thailand were major determinants of trade flows in many commodities. Exchange rate was negatively related to value import in all of commodities while inflation rate was negatively related to value import in many commodities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10639
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.520
ISBN: 9741706367
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.520
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattanatr.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.