Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1065
Title: การสื่อสารเชิงวัจนะในการพูดต่อหน้าชุมชนของเด็กไทยอายุ 6-12 ปี
Other Titles: Verbal communication in public speaking of 6-12 year-old Thai children
Authors: ปณิธาร วงศาสุลักษณ์, 2524-
Advisors: นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Nongluck.C@chula.ac.th
Subjects: พัฒนาการทางการพูด
การพูดในชุมนุมชน
ความสามารถทางภาษา
การพูด
พัฒนาการของเด็ก
การพูดในชุมนุมชน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบุคลิกภาพการพูดต่อหน้าชุมชนของเด็กไทยอายุ 6-12 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป ปัญหา และแนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพการพูดเชิงวัจนะของเด็กในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ฟังในการประเมินการพูดต่อหน้าชุมชนของกลุ่มตัวอย่างเด็กไทยอายุ 6-12 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 156 คน ลักษณะต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินการพูดเชิงวัจนะมี 13 ลักษณะ คือ ความดังของเสียง ระดับเสียงสูง/ต่ำ ความชัดเจนในการออกเสียง การใช้อักขระควบกล้ำ ความคล่องในการพูด โทนเสียง น้ำเสียงและหางเสียง จังหวะในการพูด การกล่าวทักทาย การกล่าวนำเข้าสู่เรื่องลำดับความคิดในการพูด การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ฟัง และการกล่าวสรุปปิดท้าย ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะการสื่อสารเชิงวัจนะในการพูดต่อหน้าชุมชนของเด็กไทยอายุ 6-12 ปี ในด้านความชัดเจนในการออกเสียง ความคล่องในการพูด น้ำเสียงและหางเสียง จังหวะในการพูด และการกล่าวนำเข้าสู่เรื่อง จัดอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนด้านความดังของเสียง ระดับเสียงสูง/ต่ำ โทนเสียง การกล่าวทักทายลำดับความคิดในการพูด การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ฟัง การกล่าวสรุปจัดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และในด้านการใช้อักขระควบกล้ำ จัดอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง 2. ปัญหาที่พบมากที่สุดในการสื่อสารเชิงวัจนะในการพูดต่อหน้าชุมชนของเด็กไทยอายุ 6-12 ปี คือ การออกเสียงอักขระควบกล้ำไม่ถูกต้อง 3. สาเหตุที่สำคัญที่สุดของปัญหาในการสื่อสารเชิงวัจนะในการพูดต่อหน้าชุมชนของเด็กไทยอายุ 6-12 ปี คือ ความเคยชินในการใช้ภาษาที่ผิดและไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง 4. แนวทางในการพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงวัจนะในการพูดต่อหน้าชุมชนของเด็กไทยอายุ 6-12 ปี คือ การปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการพูดต่อหน้าชุมชนเพื่อให้เด็กมีความกล้า ความมั่นใจ และมีความต้องการแก้ไขและพัฒนาการใช้ภาษาให้ถูกต้อง
Other Abstract: This present study was a part of the research project on "personality development in public speaking for 6-12 year-old Thai children." The specific purposes of this study were to investigate general characteristics of the children's verbal communication, to identify related problems, and to provide guidelines associated with the means to improve the children's verbal communication personality in public speaking. Data were collected from a group of audience who were asked to evaluate verbal abilities in public speaking of the 156 students who were studying at the levels of Prathom 1-6. The verbal abilities which were investigated were such criteria as loudness, clarity, fluency, and vocal variety of rate, pitch, and tone. In addition, the children were evaluated on some aspects of how well they could organize their talk, gain attention from the audience, describe what they wanted to say, and make an impressive conclusion. Results of the study indicated that the children needed to be improved on language usage and encouraged to develop more confidence and more positive attitudes toward public speaking.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1065
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1134
ISBN: 9741769342
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1134
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parnitarn.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.