Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10772
Title: ผลของรูปแบบการควบคุมเวลาการฝึกปฏิบัติในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีระดับประเมินความสามารถตนเองทางคณิตศาสตร์ต่างกัน
Other Titles: Effects of time control formats in drill and practice computer-assisted instruction lesson upon learning achievement of mathayom suksa one students with different levels of mathematics self-evaluation
Authors: โชคชัย กิ่มโสม
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sugree.R@chula.ac.th
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสามารถในตนเอง
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของรูปแบบการควบคุมเวลาการฝึกปฏิบัติในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีระดับประเมินความสามารถตนเองทางคณิตศาสตร์ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับประเมินความสามารถตนเองทางคณิตศาสตร์สูง จำนวน 40 คน และกลุ่มนักเรียนที่มีระดับประเมินความสามารถตนเองทางคณิตศาสตร์ต่ำ จำนวน 40 คน ในแต่ละกลุ่มแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ ผู้เรียนที่ควบคุมเวลาการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จำนวน 20 คน และผู้เรียนที่ควบคุมเวลาการฝึกปฏิบัติโดยโปรแกรม จำนวน 20 คน ผู้วิจัยได้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการ ทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-way ANOVA จากผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีการควบคุมเวลาการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง และโดยโปรแกรมในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีระดับประเมินความสามารถตนเอง ทางคณิตศาสตร์ในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการควบคุมเวลาการฝึกปฏิบัติ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับระดับประเมินความสามารถตนเอง ทางคณิตศาสตร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the effects of time control formats in drill and practice computer-assisted instruction lesson upon learning achievement of mathayom suksa one students with different levels of mathematics self-evaluation. The samples were randomly selected from mathayom suksa one students at Benchamaratrangsarid school in Chachoengsao province for the total number of 80. They were divided into two groups, 40 each, according to their levels of mathematics self-evaluation. Each group was further divided into two ; one group of 20 was allowed to time control by means of self selection formats and the other of 20 time control by means of programmed formats.The subjects' achievement were measured before and after the computer-assisted instruction. The data were analyzed by two-way analysis of variance. The results were as follows 1. Between the two sub-groups of self selection formats and programmed formats, they were found to differ significantly at .05 level. 2. Between the two sub-groups of high self-evaluation and low self-evaluation, they were found to differ significantly at .05 level. 3. There was an interaction between time control formats in drill and practice computer-assisted instruction lesson with different levels of mathematics self-evaluation upon learning achievement significantly at .05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10772
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.775
ISBN: 9741710356
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.775
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chokchai.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.