Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10782
Title: | เครือข่ายพ่อค้าผ้าชาวอินเดียในสังคมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2400-2490 |
Other Titles: | The network of Indian textile merchants in Thai society from 1857 to 1947 |
Authors: | อินทิรา ซาฮีร์ |
Advisors: | ปิยนาถ บุนนาค ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Piyanart.B@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การค้า -- ไทย -- 2400-2490 พ่อค้า พ่อค้า -- ไทย ชาวอินเดีย -- ไทย ผ้า -- อินเดีย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามา การค้า การปรับตัวของพ่อค้าผ้าชาวอินเดียในสังคมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2400-2490 และศึกษาเครือข่ายการค้าของพ่อค้าเหล่านั้น ทั้งเครือข่ายภายในและภายนอกสังคมไทย ผลของการศึกษาพบว่า เครือข่ายพ่อค้าผ้าชาวอินเดียในสังคมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2400-2490 แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะการสร้างเครือข่าย (ทศวรรษ 2400-2430) ระยะการขยายตัวของเครือข่าย (ทศวรรษ 2440-2470) และระยะการปรับตัวของเครือข่าย (ทศวรรษ 2480) ในระยะการสร้างเครือข่ายผู้ที่มีบทบาททางการค้าคือพ่อค้าผ้าชาวอินเดียมุสลิมจากตอนตะวันตกและตอนใต้ของอินเดีย โดยพ่อค้าจากตอนใต้ทำการค้ากับกลุ่มคนในเมือง ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายการค้าออกนอกกลุ่มของตน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียมุสลิมจากตะวันตกที่ทำการค้ากับประชาชนทั่วไปจึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายการค้า แต่ด้วยการมีสมาชิกในเครือข่ายไม่มาก พ่อค้ากลุ่มนี้จึงต้องสร้างความสัมพันธ์ข้ามกลุ่มไปยังกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ต่อมาจะเกิดการขยายตัวของเครือข่าย จากการที่มีพ่อค้าชาวอินเดียกลุ่มอื่นๆ เข้ามาร่วมทำการค้าเพิ่มขึ้น พร้อมกับการนำวิธีการค้าแบบใหม่มาใช้คือการค้าเร่ ทำให้พ่อค้าเหล่านั้นสามารถเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากนั้นปัจจัยภายในสังคมไทยยังมีส่วนส่งเสริมทั้งการขยายตัวในการใช้ผ้า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแต่งกาย การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ตลอดจนการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราต่ำทำให้สินค้าผ้าที่นำเข้ามาราคาไม่แพงทำให้คนทุกกลุ่มในสังคมสามารถซื้อได้ ระยะการปรับตัวของเครือข่ายเป็นเวลาที่เครือข่ายของพ่อค้าผ้าชาวอินเดียเข้าไปมีส่วนร่วมกับขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ทำให้พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับผลกระทบจากรัฐบาลไทยแต่กลับมีความสัมพันธ์กับรัฐไทยมากขึ้น เครือข่ายพ่อค้าผ้าชาวอินเดียในสังคมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2400-2490 จึงมีลักษณะเป็นเครือข่ายเฉพาะที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องเลือกสรรผู้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายและพ่อค้าเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันข้ามกลุ่มศาสนา เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในระดับต่างๆ เพื่อให้เกิดพลังของกลุ่มที่จะช่วยผลักดันให้การค้าประสบความสำเร็จ |
Other Abstract: | The aim of this thesis is to study patterns of immigration and trade together with the process of adaptation of the Indian cloth merchants within Thai society during 1857-1947 A.D. The main focus is on the formation of trading networks among the Indian cloth merchants, both within and outside Thai society. The result of this study shows that the development of trading networks among the Indian cloth merchants can be divided into three periods: the formative period, the expansion period and the period of adaptation. In the initial stage, Indian cloth merchants who were active, were the groups of Indian Muslim merchants from the West and the South of India. Merchants from the South catered for an urban market and for specific cliental group. For this reason, they created an in-group trading link which did not extend towards other Indian merchants or those of other nationalities. This is different from Western Indian cloth merchants who traded with the general public. They had to extend their trading network. Since the number of Indian merchants was still small at that time, they had to form a trading link with the Chinese who take up the position of distributors. During the second period, the Indian Muslim cloth merchants began to concentrate more on import-export business of various goods, clothing and other kinds. Nevertheless, the coming of new groups of Indian merchants, together with the use of "traveling salesman" who brought clothing directly to clients enabled the Indian cloth merchants to compete with the Chinese and still controlled substantial share of the fabric market. At the same time, the Indian cloth merchants' trading network continue to expand due to the increase of population, the demand for fabric, and a low rate of import taxes which made clothing accessible to all groups of population. In the period of adaptation, the Indian cloth merchants took part in the Indian Independent Movement in this region. They were not affected by the involvement of Thailand in the Second World War. They also had closer relationship with the Thai government. The Indian cloth merchants' trading network during 1857-1947 A.D. was characterized by mutual business interest, making it necessary to select its members. The relationship among these merchants was made across religious sects, linking the networks of each sect together in order to exchange business cooperation. This is the foundation upon which commercial success was built. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10782 |
ISBN: | 9741749759 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Inthira.pdf | 3.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.