Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10788
Title: พฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กหลังถูกไฟไหม้
Other Titles: Behaviors of reinforced concrete beams after fire
Authors: ทรงเกียรติ หาญสันติ
Advisors: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcecst@eng.chula.ac.th
Subjects: คานคอนกรีต
คอนกรีต -- สมบัติทางความร้อน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของระยะเวลาที่เผาไฟซึ่งจำลองสภาพไฟไหม้ตามมาตรฐาน ASTM E119 ที่มีต่อค่ากำลังอัดของลูกคอร์คอนกรีตหลังเผาไฟ พฤติกรรมการรับแรงดึงของเหล็กเสริมหลังเผาไฟ ค่ากำลังยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมหลังเผาไฟ พฤติกรรมการับแรงเฉือนและแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กหลังเผาไฟ และความเหมาะสมในการประเมินความเสียหายของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ถูกเผาไฟด้วยการทดสอบแบบไม่ทำลาย โดยทดสอบตัวอย่างจำนวน 10 ตัวอย่างเพื่อศึกษาค่ากำลังอัดของลูกคอร์คอนกรีต และพฤติกรรมการรับแรงดึงของเหล็กเสริมที่ฝังไว้หลังการเผาไฟ ตัวอย่างคอนกรีตเพื่อศึกษาค่ากำลังยึดเหนี่ยว ระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมหลังเผาไฟ จำนวน 72 ตัวอย่างด้วยวิธี direct pull-out test และตัวอย่างคานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 15x30x210 ซม. จำนวน 10 ตัวอย่างซึ่งมีปริมาณการเสริมเหล็กเก่ากัย 0.195 เท่าของที่สภาวะสมดุลย์ จำนวน 10 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนและแรงดันของคานคอนกรีตเสริมเหล็กหลังเผา ไฟ ผลการทดสอบพบว่า 1) กำลังอัดของลูกคอร์คอนกรีตที่ได้จากการเจาะตัวอย่าง มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาที่เผาไฟ และมีแนวโน้มมีความสัมพันธ์กับค่าความเร็วที่ได้จาก การทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธี utrasonic pulse velocity 2) ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อพฤติกรรมของเหล็กเสริมภายหลังเผาไฟ เพราะช่วยป้องกันความร้อนจากไฟ โดยระยะคอนกรีตหุ้ม 25 มม. ที่ทดสอบความสามารถช่วยคงคุณสมบัติกำลังดึงคราก และกำลังดึงประลัยภายหลังเผาไฟให้ลดลงในไม่เกิน 5% สำหรับการเผาไฟไม่เกิน 90 นาที และจากการทดสอบพบว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นภายหลังเผาไฟ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในนัยสำคัญ 3) กำลังยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมหลังเผาไฟ มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาที่เผาไฟ โดยเหล็กกลมจะสูญเสียกำลังยึดเหนี่ยวมากกว่าเหล็กข้ออ้อยที่ระยะเวลาเผาไฟ และที่ระยะคอนกรีตหุ้มเดียวกัน กำลังยึดเหนี่ยวของเหล็กกลมจะเหลือไม่ถึง 50% หลังจากเผาไฟ 15 นาทีสำหรับทุกระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมที่ศึกษาและหลังจากเผาไฟ 60 นาทีเหล็กกลมแทบไม่เหลือกำลังยึดเหนี่ยวเลย 4) กำลังเฉือนของคานตัวอย่างที่ทดสอบมีแนวโน้มลดลงประมาณ 10% ทุกๆ 30 นาทีที่เผาไฟไม่เกิน 60 นาทีเมื่อเทียบกับกำลังเฉือนที่ได้จากข้อกำหนด ACI 318 คำนวนจากกำลังอัดของคอนกรีตที่ 28 วัน แต่อย่างไรก็ดีค่ากำลังเฉือนตามข้อกำหนด ACI 318 ดังกล่าวยังคงมีดัชนีความปลอดภัยที่ระดับ 1.23 ที่ระยะเวลาเผาไฟ 60 นาที 5)การเผาไฟที่ไม่เกิน 60 นาที ไม่ส่งผลต่อค่าโมเมนต์ครากและโมเมนต์ประลัยของคานตัวอย่างที่ศึกษา แต่ที่ระยะเวลาในการเผาไฟ 90 นาทีค่าโมเมนต์ครากและโมเมนต์ประลัยของคานตัวอย่างที่ทำการศึกษาจะลดลง 16% และ 15% ตามลำดับ
Other Abstract: To investigate the effects of fire duration on behavior of reinforced concrete members. Fire curve according ro ASTM E119 was used in fire sumulution of the sutdy. Behavior of reinforce concrete stdied in this research include compressive strength of coring concrete specimens, tensile behaviors of reinforced bars, bond strength between concrete and reinforcing bars, shear and flexure behaviors of reinforced conctete beams. Effectiveness of different nondestructive assessment methods on fire damaged reinforced conctrete beams were also studied. Ten specimens were tested in the study of compressive strength of coring concrete specimens and tensile behaviors of reinforcing bars. Seventy two specimens were tested by method of direct pull-put test for the study of bond strength. Ten 15x30x210 cm. reinforced concrete beams with flexural steel reinforcement equal to 0.195 times the amount of reinforcing stell at balance condition and with different amount of shear reinforcement were tested to study shear and flexural behaviors of reinforced concrete beams after fire. Findings from the experiemental program are summarized as follows 1) Compressive strength of coring concrete specimens decreased as fire duration increased. Correlation was observed between compressive strenth of coring specimens and results form ultrasonic pulse velocity tests. 2) Concrete covering had a significant role in protecting reinforcing bars from fire. Yield strength and ultimate strength of reinforcing steel with 25 mm. concrete cover and subjected to 90 minute fire decreased from its orginal values less than 5%. Elastic modulus of reinforcing stell was not changed when subjected to fire between 0 and 120 minutes. 3) Bond strength between concrete and reinfoceing bars decreaed as fire duration increased. Round bars lost bond strength more than deformed bars at the same fire duration and concrete covering. Round bars lost almost 50% and 100% of bond strenghth after subjected to 15 min. and 60 min. fire. 4) For the first 60 minutes, shear strength of tested beams decreased about 10% for every 30 minutes of fire duration. Shear strength of the beam that was subjected to 60 minute fire was about 1.23 time shear strength acording to ACI 318-99. 5) Yeild moment and ultimate moment of the tested beams were not affected by fire duration not exceeding 60 min. Yield moment and ulimate moment of the beam sujbected to 90 minute fire decreased 16% and 15% respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10788
ISBN: 9740305334
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songkiat.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.