Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10820
Title: ความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยูในภาวะพึ่งพา : กรณีศึกษาในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Role strain of family caregivers of dependent elderly : a case study of the municipality of Sukhothai province
Authors: คัทรียา รัตนวิมล
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jiraporn.Ke@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การดูแล
ความเครียด (จิตวิทยา)
การเยี่ยมบ้าน
ผู้ดูแล
โรงพยาบาลสุโขทัย. หน่วยการพยาบาลปฐมภูมิ
Issue Date: 2545
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเครียดในบทบาทและความพร้อมในการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ใน ภาวะพึ่งพา 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำนวนครั้งที่ได้รับการเยี่ยม ความพร้อมในการเป็นผู้ดูแล และ 3) เพื่อศึกษาความเครียดในบทบาทจากมุมมองของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเครียด ในบทบาทสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุโขทัย ที่อยู่ในโครงการเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลสุโขทัย จำนวน 100 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้ สูงอายุและแบบวัดความพร้อมในการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .95 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ One Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความเครียดในบทบาทโดยรวมอยู่ในระดับเล็กน้อยและมีความ พร้อมในการเป็นผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับเล็กน้อย 2. เพศชาย และ เพศหญิง มีค่าเฉลี่ยความเครียดในบทบาทโดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ระดับอายุ ที่ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความเครียดในบทบาทโดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ระดับการศึกษา ที่ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความเครียดในบทบาทโดยรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ผู้ดูแลที่มีรายได้ไม่เพียงพอ มีค่าเฉลี่ยความเครียดในบทบาทโดยรวม มากกว่า ผู้ดูแลในกลุ่มที่มีรายได้พอใช้บ้างไม่พอใช้บ้างและผู้ดูแลในกลุ่มที่มีราย ได้พอใช้หรือมีรายได้เหลือเก็บ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ผู้ดูแลที่มีความพร้อมในการเป็นผู้ดูแลในระดับที่ต่ำ มีค่าเฉลี่ยความเครียดในบทบาทโดยรวม สูงกว่า กลุ่มผู้ดูแลที่มีความพร้อมในการเป็นผู้ดูแลในระดับที่สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. ผู้ดูแลที่ได้รับการเยี่ยมที่มากครั้ง มีค่าเฉลี่ยความเครียดในบทบาทโดยรวม ในระดับที่สูงกว่า กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยมที่น้อยครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 8. การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพจากมุมมองของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเครียดใน บทบาทสูงพบว่า ความเครียดในบทบาทมีประเด็นหลักครบทั้ง 9 ด้านตามกรอบแนวคิด
Other Abstract: The purposes of this study were 1) to study the family caregivers' role strain and preparedness in caregiving for the dependent elderly, 2) to compare the family caregivers' role strain by personal factors, amount of visit, preparedness of family caregivers (accirdubg to Archbold and Stewart, 1986, 1993) and 3) to explore viewpoints of family caregivers who had high level of role strain. Subjects were 100 family caregivers of dependent elderly received primary care services provided by Sukhothai Hospital. Content validity and reliability of the research instruments the Role Strain Scale and the Preparedness for Caregiving Scale were established. The Cronbach alpha coefficients were .95 and .85. The data were analyzed by t-test and One Way ANOVA. Major findings were as follows: 1. Role strain and preparedness in caregiving of family caregivers are at a low level. 2. There were no significant difference in the mean of total role strain among male and femal family caregivers. 3. There were no significant difference in the mean of total role strain among high and low level of age of family caregivers. 4. There were no significant difference in the mean of total role strain among high and low level of education of family caregivers. 5. There were significant difference at the level of .05 in the mean of total role strain, family caregivers who reported insufficient in income had the mean of total role strain more than those who are sufficient. 6. There were significant difference at the level of .05 in the mean of total role strain, family caregivers who low level of preparedness in caregiving had the mean of total role strain more than those who are high level. 7. There were significant difference at the level of .05 in the mean of total role strain, family caregivers who more visit from primary care service had the mean of total role strain more than those who are less visit. 8. Findings from qualitative study confirmed that family caregivers had 9 major components of role strain.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10820
ISBN: 9741711786
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cathareeya.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.