Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10832
Title: การสื่อสารประเด็นยาเสพติด ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงโดยผู้สื่อสาร ที่เป็นเยาวชนผู้เคยติดยาเสพติด
Other Titles: Drug issue communication vis radio program by Ex-Addict addlescents as communicator
Authors: ศิริพร เสรีกิตติกุล
Advisors: สุภาพร โพธิ์แก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Supaporn.Ph@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
ยาเสพติดกับเยาวชน
วิทยุกระจายเสียง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยชิ้นนี้เป็นการนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Researchหรือ PAR) มาใช้ในประเด็นยาเสพติดกับเยาวชนและสื่อมวลชน โดยมีเยาวชนผู้เคยติดยาเสพติด และกำลังบำบัดที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 16 คน เป็นผู้ร่วมปฏิบัติการ และมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.ศึกษากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการให้เยาวชนผู้เคยติดยาเสพติดเป็นผู้สื่อสารผ่านสื่อวิทยุ 2. ศึกษาประเด็นยาเสพติดในมุมมองของเยาวชนผู้เคยติดยาเสพติด และ 3.ศึกษารูปแบบการสื่อสารในรายการวิทยุที่เยาวชนผู้เคยติดยาเสพติดเป็นผู้สื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า การใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีผลให้ 1. บุคลิกของผู้ร่วมปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะผู้นำหรือผู้ตามถูกปรับให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน 2. ภาพในใจเกี่ยวกับรูปแบบและเนื้อหาของรายการวิทยุที่เคยฟังและชื่นชอบมาก่อนถูกลบให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุด 3. ผู้ร่วมวิจัยได้พัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์ และเกิดความมั่นใจในการแสดงออก 4. เมื่อเกิดความคุ้นเคยกันมากขึ้น ได้เปิดเผยความในใจมากขึ้น จึงเกิดข้อค้นพบใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น 5. ผู้ร่วมวิจัยเกิดความศรัทธาในความสามารถของตนเองมากขึ้น และ 6. ผู้วิจัยมีความเข้าใจผู้เคยติดยาเสพติดมากขึ้น ทำให้เกิดการปรับทัศนคติที่มีต่อผู้เคยติดยาเสพติดในแง่ดีขึ้น นอกจากนี้ เยาวชนผู้เคยติดยาเสพติดที่ร่วมปฏิบัติการสะท้อนมุมมองต่อประเด็นยาเสพติด ดังนี้ 1. ชีวิตที่ติดยาเสพติด ทำให้ผู้เสพเกิดความสูญเสีย 2. ครอบครัวคือพลังสำคัญในการหลีกห่างจากยาเสพติด 3. การเลิกเสพยาเสพติดต้องใช้ความพยายาม และต้องการกำลังใจอย่างมาก 4. การเสนอข่าวเกี่ยวกับยาเสพติดที่ผ่านมา ทำให้ผู้เคยติดยาเสพติดรู้สึกขมขื่น สิ้นหวัง 5. การติดยาเสพติดในบางราย อาจมีสาเหตุมาจากเยาวชนมีความมุ่งมั่นในความสำเร็จทางการกีฬา หรือการศึกษามากเกินไป 6. ยาบ้าออกฤทธิ์ดีด ไม่ใช่คลั่ง และ 7. กำลังใจและโอกาส คือสิ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหายาเสพติดได้สำหรับรายการวิทยุที่ร่วมกันผลิตขึ้น คือ "รายการรู้เท่าทันยาเสพติด" เยาวชนผู้เคยติดยาเสพติดได้ร่วมกันวางแผนและผลิตรายการขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายทางการสื่อสาร เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งต่อสาธารณชนทั่วไป และกลุ่มเยาวชนผู้ติดยาเสพติด ทั้งนี้ รายการสะท้อนให้เห็นว่า 1. ผู้สื่อสารปรารถนาจะสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย 2. ประเด็นเนื้อหาที่สื่อสารไปในรายการวิทยุคือ ชีวิตผู้ติดยาเสพติดเป็นชีวิตที่ขาดความไว้วางใจ ชีวิตที่ติดยาเสพติด เป็นชีวิตที่ย่ำแย่ และกำลังใจกับโอกาสเป็นสิ่งที่ขาดหายและปราถนา และ 3. วิธีการนำเสนอที่ผู้สื่อสารเลือกใช้คือนานาทัศนะ และสัมภาษณ์ทั้งประชาชนทั่วไป และผู้เคยติดยาเสพติด
Other Abstract: This qualitative research was participatory action research (PAR) in the issue of drug, youth and mass communication. Sixteen ex-addict adolescents participated in the research as communicator of the issue. The study aimed 1. to study PAR process in the matters of the ex-addict youths as communicator via radio program, 2. to study the ex-addict youths' views on drug issue and 3. to study communication form of the radio program produced by these ex-addict adolescents. The research found that by using the PAR process, 1. the relationship of this research's members either leading or following characteristic is adjusted to be equal participation. 2.Their ideas are not limited by the fix frame of their pre-favorite radio programs. 3.The participants have developed their own analytical thinking and have more confidence to express their feelings and attitudes. 4. The participants are more familiar with the researcher so that they trust to tell anything deeply. 5. They realize their own capacities. 6. the researcher's attitudes about the ex-addict have been adjusted in the better way because of more understanding. Moreover, the research includes 7 interesting points reflecting the participants' views on drug issue. 1.An addicted life is always lost. 2. Love and warm of family is a powerful anti-drug. 3. Putting a stop to drug addiction, the addict must try seriously and need much encouragement. 4. The drug news on mass communication leads the ex-addict feel bitter and hopeless. 5. Some cases of drug addiction are caused by youths' extreme intention to be success in sport or education. 6. An amphetamine affects symptom of hyperactive rather than being mad. 7. A public encouragement and social opportunities for drug addict can relieve drug problem. In addition, the radio program "Roo-Tao-Tan-Ya-Seap-Tid" was planned and produced by all participants aiming to communicate for the benefits of both general public and specific addicted youths. This program shows that 1.they wish to communicate with various groups of people. 2. There are 3 emphasised contents including in the program. 2.1 An addicted life is a lack of trustfulness life. 2.2 An addicted life is suffer and lost. 2.3 The ex-addict need a public encouragement and social opportunities to recover his life. 3. The selective presentations of the program are vox-pop and interview both public and ex-addicted adolescents.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10832
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.391
ISBN: 9741704836
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.391
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.