Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10948
Title: การใช้สีบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติอาหารขบเคี้ยววัยรุ่น
Other Titles: The use of color on packaging to communicate the flavor of snack for teenagers
Authors: มหิศรา อรุณสวัสดิ์
Advisors: ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suppakorn.D@chula.ac.th
Subjects: การบรรจุหีบห่อ -- การออกแบบ
บรรจุภัณฑ์อาหาร
สีในการออกแบบ
อาหารว่าง
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิธีการ สื่อสารรสชาติขนมขบเคี้ยวโดยการใช้สีเป็นสื่อ และศึกษาอิทธิพลของสีที่มีต่อการซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังต้องการศึกษาหาแนวทางการใช้สี กับการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารประเภทขนมขบเคี้ยวที่เหมาะสมกับวัยรุ่นไทย โดยอาศัยทฤษฎีการใช้สี Image Scale ในการศึกษาได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสีและความเข้าใจต่อการรับรู้เรื่องสี รวมทั้งศึกษาข้อมูลจิตวิทยาวัยรุ่น ศึกษาวิธีการใช้สีบนงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาด อย่างไรก็ตามเนื่องจากขนมขบเคี้ยวมีหลายตรายี่ห้อ ดังนั้นเพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการวิจัย จึงเลือกตราสินค้าที่ประสบความสำเร็จในตลาดในระดับแนวหน้า (โดยพิจารณาจากส่วนแบ่งทางการตลาด) การศึกษาเป็นรูปแบการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เนื่องจากต้องการนำข้อมูลจากคนจำนวนมาก มาเป็นเกณฑ์ในการศึกษาสีและกลุ่มของสีที่สามารถสื่อรสชาติที่เหมาะสมกับวัยรุ่น ตามรสชาติของอาหารที่มีอยู่ในท้องตลาด โดยเริ่มจากตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ (Delphi Panel) เพื่อหาแนวทางการเก็บข้อมูล สร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลโดยใช้โครงสร้างในการแบ่งกลุ่มของผังรสอาหารของ Kobayashi เพื่อเก็บข้อมูล ในการเก็บ ข้อมูลได้ออกแบบสอบถามเจาะลึกในส่วนของพฤติกรรมการบริโภค และกระบวนการที่ใช้ตัดสินใจในการเลือกซื้อ รวมถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ซื้อ นอกจากนี้ยังสอบถามความรู้สึกต่อกลุ่มสี ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงรสชาติของอาหาร โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มคนในช่วงอายุระหว่าง 12-24 ปี ระดับการศึกษาตั้งแต่นักเรียนถึงระดับปริญญาตรี เป็นจำนวน 400 ชุด ได้รับการตอบกลับ 198 ชุด มีความสมบูรณ์ 188 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS พบว่าอายุและการศึกษามีนัยสำคัญที่มีผลต่อการเข้าใจการสื่อรสชาติด้วยสี ผลจาการศึกษาวิจัย สรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในตลาดมีแนวทางการออกแบบดังนี้ 1. ตราสินค้า ตราสินค้าควรมีขนาดใหญ่ เป็นตัวหนา วางสีพื้นและมีขอบสีชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สีโทนร้อน เช่น แดง เหลือง ส้ม เป็นต้น และจะวางตราสินค้าในตำแหน่งกึ่งกลางค่อนไปทางด้านบนของซอง และอาจมีการทำกรอบสีซึ่งเป็นสีขาว หรือสีอ่อนเป็นพื้นหลัง 2. การใช้สีบนบรรจุภัณฑ์ การใช้สีส่วนมากมักเป็นการใช้สีหลักๆ 2-3 สี เช่นสีแดงเป็นหลัก และเหลืองเป็นสีประกอบ โดยใช้สีปูพื้นที่เป็นสีหลัก เพื่อทำให้สีเด่นเห็นจากระยะไกลได้ มีการไล่โทนสีเพื่อความกลมกลืนซึ่งทำให้รู้สึกสะดุดตา และมีการใช้เทคนิคของภาพ ซึ่งปกติมักใช้กลุ่มจุด (Half tone) และเทคนิคภาพเบลอ (Blur) 3. เส้นที่ใช้ประดับตกแต่งในการใช้เส้นตกแต่งบนบรรจุภัณฑ์มักเป็นเส้นตวัด หรือเส้นวาดด้วยมือ และเส้นคล้ายเขียนด้วยปากกาปากตัด หรือสีที่วาดบนพื้นผิวขรุขระเพื่อเกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวมีชีวิตชีวา 4. การระบุประเภทของขนมและรสชาติ การระบุมักแสดงประเภทของขนมในส่วนบนสุดของซอง การระบุรสชาติมักนิยมวางตัวหนังสือบอกไว้ข้างใต้ตราสินค้า หรือบริเวณที่ต่ำลงมาจนถึงมุมซองด้านขวา 5. ภาพประกอบ ภาพประกอบที่เป็นภาพถ่ายขนม ภาพที่ดีมักมีการเน้นแสงเงาและสีดูเหลืองน่ารับประทานและควรทำภาพให้ดูนูน มีมิติ เหมือนวางขนมจริงอยู่บนซอง ส่วนภาพประกอบเพื่อช่วยให้สื่อถึงรสชาติ ในกลุ่มของภาพพริกหรือขวดซอสควรมีขนาดที่ไม่รบกวนกับองค์ประกอบโดยรวม
Other Abstract: To study the utilization of color on packaging to represent taste of snack as well as to study the influence of color on buying behavior of consumers. Moreover, the study is also to find out the appropriate snack package design for Thai teenagers, based on Image Scale Theory. The researcher has collected basic data of color and the perception of human being on color teenager psychology based on the use of color on existing snack-package in the market. Due to time constraints, the research has to study by using successful brand or top brands on the market, considered by market share as sampling group. The study is mainly quantitative research since it requires using a large number of people as data source of study. The data were collected by different methods. Experts were used as Delphi Panel. Questionnaires developed by researcher were used to collect data based on Kobayashi chart. The samples of the study were the teenager's age between 12-24 years old studied in middle school to bachelor degree level. 400 questionnaires were distributed, 198 questionnaires were responded, and 188 questionnaires were completely answered. The anlysis of data found the correlation between the consumer's age and education level with color to communicate the flavor of snack. The result of the study showed that the successful brand in the market has the following design 1. Brand : Brand must be big and bold with clearly sharp edge mostly using intense color in warm such as red, yellow or orange and sometime use white or tint color as border. The position of the brand should be placed at middle top of the package. 2. Color on package : There are a few colors to be used as main colors, such as red as a main color and yellow as support factor. The main color must be dominant and be able to be seen easily. The decorative graphics is also used in the design by using half-tone effect or blur color in order to make main color more attractive. 3. Lines : Lines are mostly used to add movement of effective package in order to attract teenage consumers. 4. Indication of types or taste of snack : The type and taste of snack must be indicated clearly on the package. The type located at the top and the taste located anywhere form lower position of the brand to the bottom right hand corner of the package. 5. Pictures : Picture of products are also included in the design in order to motivate consumers or to communicate taste to consumers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10948
ISBN: 9741703355
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mahissara.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.