Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10976
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความคิดอัตโนมัติในด้านลบ การปรับตัวทางสังคม กับความซึมเศร้าในหญิงวัยหมดระดูโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between personal factors, health perception, negative autonomous thinking, social adjustment, and depression in menopausal women, govermental hospitals, Bangkok metropolis
Authors: บุญสม กองนิล
Advisors: อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Oraphun.L@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้าในสตรี -- ไทย
วัยหมดระดู -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ระดับการศึกษารายได้ สถานภาพสมรส ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของบุคคลในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความคิดอัตโนมัติด้านลบ และการปรับตัวทางสังคม กับความซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือหญิงวัยหมดระดูโรงพยาบาลของรัฐกรุงเทพมหานครได้จากการสุ่ม แบบอุบัติการณ์ จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินความซึมเศร้า แบบประเมินความคิดอัตโนมัติในด้านลบ และแบบประเมินการปรับตัวทางสังคม ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความตรงและความเที่ยง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความไม่เพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมาก ส่วนการไม่เจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของบุคคลในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำและความคิดอัตโนมัติด้านลบ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความซึมเศร้า (r = .222, .288, .655 ตามลำดับ) กับความซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความเพียงพอของรายได้มีความสัมพันธ์ระดับต่ำมาก การเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าของบุคคลในครอบครัวและการรับรู้ภาวะสุขภาพมีความ สัมพันธ์ทางลบระดับต่ำ และการปรับตัวทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลาง กับความซึมเศร้า (r = .212, .288, .305 และ .670 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study relationships between personal factors, health perception, negative autonomous thinking, social adjustment, and depression. The subjects consisted of 130 menopausal women in governmental hospitals Bangkok metropolis by accidental sampling. The instruments were personal data form, health perception questionnaire, depression test, negative autonomous thinking test, social adjustment test which had been tested for validity and reliability. Statistical methods used to analyze data included mean, standard deviation and Pearson's product correlation. Major findings were as follows: 1. The inadequated income, non depressive person in family, negative autonomous thinking were positive significantly related to depression in menopausal women (r = .222, .288, .655,) at .05 level. 2. The adequated income, Depressive person in family, health perception, and social adjustment were negative significantly related to depression in menopausal women (r = -.212, -.288, -.305, -.670) at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10976
ISBN: 9741711301
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonsom.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.