Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11044
Title: ภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Image of the Royal Thai Air Force as perceived by the people in Bangkok
Authors: วิภาวรรณ ทองเพชร
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: ภาพลักษณ์องค์การ
กองทัพอากาศ -- ไทย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพอากาศของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพอากาศของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 6) เพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถอธิบายภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 407 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมมติฐานโดยวิธีการทางสถิติ T-Test เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าตัวแปรอิสระ 2 กลุ่ม และใช้วิธีการทางสถิติ One-Way ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวน การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาตัวแปรที่สามารถทำนายสมการได้ ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มี อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพอากาศแตกต่างกัน 2. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มี อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศแตกต่างกัน 3. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มี อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกันมีภาพลักษณ์กองทัพอากาศแตกต่างกัน 4. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพอากาศจากสื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศ 5. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพอากาศจากสื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์กองทัพอากาศ 6. ความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศ มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์กองทัพอากาศ 7. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลสามารถอธิบายภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครได้ดีที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research were : 1) To study media exposure and the knowledge of the Royal Thai Air Force of the people in Bangkok. 2) To study image of the Royal Thai Air Force as perceived by the people in Bangkok. 3) To study the relationship between media exposure and the knowledge of the Royal Thai Air Force of the people in Bangkok. 4) To study the relationship between media exposure and the image of the Royal Thai Air Force as perceived by the people in Bangkok. 5) To study the relationship between the knowledge and the image of the Royal Thai Air Force as perceived by the people in Bangkok. 6) To seek the variable that could best explain the image of the Royal Thai Air Force as perceived by the people in Bangkok. Questionnaires were used to collect the data from 407 samples. Percentage, mean, T-Test, One-Way ANOVA, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression analysis were employed for the analysis of the data. SPSS program was used for data processing. The results of this research were as follows: 1. People different in age, material status, education level, occupation and income were exposed to information about the Royal Thai Air Force differently. 2. People different in age, material status, education level, occupation and income had knowledge of the Royal Thai Air Force differently. 3. People different in age, material status, education level, occupation and income perceived the image of the Royal Thai Air Force differently. 4. Exposure to information about the Royal Thai Air Force for interpersonal, mass and specialized media correlated with knowledge. 5. Exposure to information about the Royal Thai Air Force from interpersonal, mass and specialized media correlated with the image as perceived by the people. 6. Knowledge of the Royal Thai Air Force correlated with the image as perceived by people. 7. Exposure to information about the Royal Thai Air Force from interpersonal media could best explain the image as perceived by the people.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11044
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1289
ISBN: 9741736142
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1289
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipawan.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.