Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11148
Title: การฟ้อนของชาวภูไท : กรณีศึกษาหมู่บ้านวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
Other Titles: The dancing of Phu-tai : a case study of Waritchaphum village Waritchaphum district, Sakonnakorn Province
Authors: รัตติยา โกมินทรชาติ
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: การรำ -- ไทย -- สกลนคร
ผู้ไท -- ไทย -- สกลนคร
การรำ -- ไทย
หมู่บ้านวาริชภูมิ (วาริชภูมิ, สกลนคร)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา วิเคราะห์รูปแบบ และท่าฟ้อนที่เป็นนาฏยลักษณ์ เฉพาะ ตามแบบชาวบ้านดั้งเดิม โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ศิลปะด้านการฟ้อน และร่วมฝึกปฏิบัติการฟ้อนของชาวภูไทหมู่บ้านวาริชภูมิ ผลการศึกษาพบว่า ชาวภูไท หมู่บ้านวาริชภูมิมีศิลปะการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีการสืบทอดจนเกิดเป็นพัฒนาการมาจน ถึงปัจจุบัน มี 2 ประเภท คือ ฟ้อนภูไทในพิธีกรรม และฟ้อนภูไทในงานเฉพาะกิจ ฟ้อนภูไทในพิธีกรรม ปรากฏการฟ้อนในพิธีกรรมบูชาเจ้าปู่มเหสักข์ ในงานประเพณีภูไทรำลึก มีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ยุค คือ 1. ยุคดั้งเดิม พ.ศ. 2469-2596 เป็นการฟ้อนที่มีรูปแบบอิสระ ท่าฟ้อนมี 4 ท่า ได้แก่ ท่าเดิน ท่าดอกบัวตูม บัวบาน ท่าลอยน้ำ และท่ายอขาเดียว 2. ยุคฟื้นฟู พ.ศ. 2498-2520 เป็นการนำท่าฟ้อนที่มีอยู่เดิม มาจัด ระเบียบท่าฟ้อนให้มีรูปแบบชัดเจน และประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นใหม่ ซึ่งท่าฟ้อนเป็นการฟ้อนตีบท 3. ยุคปัจจุบัน พ.ศ. 2521-ปัจจุบัน พ.ศ. 2547 รูปแบบ และองค์ประกอบการฟ้อน มีการปรับเปลี่ยนเพื่อ ความเหมาะสม ท่าฟ้อนยังคงยึดท่าฟ้อนเดียวกันกับการฟ้อนภูไทในพิธีกรรมยุคฟื้นฟู ฟ้อนภูไทเฉพาะกิจ ปรากฏการฟ้อน 2 รูปแบบ คือ 1. ฟ้อนภูไทเฉพาะกิจเพื่อความบันเทิงสำหรับถวายหน้าพระที่นั่งกษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2514 ยังคงยึดท่าฟ้อนเดียวกันกับการฟ้อนภูไทในพิธีกรรมยุคฟื้นฟู 2. การฟ้อนภูไทเฉพาะกิจ เพื่อความบันเทิงโดยทั่วไป ปรากฏการฟ้อนอยู่ 2 โอกาส คือ 1. ฟ้อนภูไทสำหรับถ่ายทอดทางโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรม ในปี พ.ศ. 2521 รูปแบบ และท่าฟ้อนยังยึดท่าฟ้อนเช่นเดียวกันกับยุคฟื้นฟู 2. ฟ้อนภูไท ในงานรวมน้ำใจสกลนคร ในปี พ.ศ. 2535 ยังคงยึดท่าฟ้อนเช่นเดียวกันกับการฟ้อนภูไทในพิธีกรรม ยุคปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่า เอกลักษณ์การฟ้อนภูไทหมู่บ้านวาริชภูมิ คือ การวาดฟ้อนในลักษณะ วงกว้าง ก่อนที่จะหยุดนิ่งในท่าฟ้อนแต่ละท่า โดยใช้ศีรษะและลำตัวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ การใช้มือและเท้า ซึ่งเอกลักษณ์การใช้เท้ามี 3 ลักษณะ คือการย่ำเท้าอยู่กับที่ การย่ำเท้าก้าวเดิน ในลักษณะต่อส้นเท้า และการยอขาข้างเดียว ในส่วนเนื้อร้องจะใช้เนื้อร้อง และสำเนียงการร้องเป็น ภาษาภูไท งานวิจัยฉบับนี้เป็นประวัติศาสตร์ทางด้านนาฏยศิลป์อีสาน ในแบบชาวบ้านดั้งเดิมอันเป็น แนวทางในการศึกษาฟ้อนอีสานต่อไป
Other Abstract: This thesis aims at studying the background of the Phu-Tai traditional folk dance and analyzing its unique forms and postures. The study is conducted by examining documents, interviews of those who are involved in the Phu-Tai dance and practices of the Phu-Tai dance in Waritchaphum Village. The study has found that the Phu-Tai ethnic group in Waritchaphum Village has its unique dance style and the dance has been handed down from the older generation to the present time and it has developed, as seen nowadays, into two types: the Phu-Tai dance for religious rites and the Phu-Tai dance performed during special occasions. The Phu-Tai dance for religious rites was originally performed in homage of Chao Poo Mahaesuk during the festival held in commemoration of the Phu-Tai tradition. The dance has been developed during three stages; namely. 1. The original stage, 1926-1953, presents a free-form dance which consists of four dance postures-walking, lotus buds and lotus blossoms, floating in the water and lifting one leg while bending the knee. 2. The restoration period, 1955-1977, is when original dance postures were rearranged to make their forms more outstanding and to create new dance postures according to the roles of dancers. 3. The contemporary period, 1988 to the present time, is when the forms and elements of the dance have been changed and modified as appropriate. The dance postures still rely on those of the restoration period. The Phu-Tai dance performed during special occasions comes in two forms; namely, 1. The Phu-Tai dance for entertainment in the royal presence of His Majesty the King in 1971. It relies on the dance postures of the Phu-Tai dance for religious rites during the restoration period. 2. The Phu-Tai dance performed during special occasions were presentedtwice: 1. The Phu-Tai dance televised on the Bang Kunprom television station, Channel 4 in 1978. The forms and postures were those of the restoration period. 2. The Phu-Tai dance during the Gathering of the People from Sakon Nakorn Province in 1992. It relies on the dance postures of those of the contemporary period. The research has found that the unique characteristics of the Phu-Tai dance in Waritchaphum are the broadened arm movement of dancers before they remain still to present each dance posture while their head and body are inclined in the same direction as the hands and feet. The movement of the feet comes in three types-tramping the feet in the same place, walking in a line while the tip of the toes of the dancer in the back touches the sole of the front dancer and lifting one leg while bending the knee. The lyrics and tune are of the Phu-Tai dialect and style. This research is significant for the study of the original northeastern dance. It will serve as a prototype for studies of other forms of northeastern folk dance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11148
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1289
ISBN: 9741426216
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1289
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattiya_Ko.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.