Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11198
Title: พฤติกรรมความต่อเนื่องของระบบแผ่นพื้นอัดแรงสำเร็จรูปหน้าตัดกลวง
Other Titles: Continuity behavior of precast prestressed hollow core slab system
Authors: มนต์เกียรติ์ ชนินทรลีลา
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Ekasit.L@Chula.ac.th  
Subjects: แผ่นพื้นอัดแรง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมความต่อเนื่องของระบบแผ่นพื้นอัดแรงสำเร็จรูปหน้าตัดกลวง ด้วยการทดสอบแผ่นพื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 2 ช่วง จำนวน 8 ตัวอย่างทดสอบ บรรทุกน้ำหนักแบบสถิตจนถึงจุดวิบัติ ใช้ตัวอย่างทดสอบหน้าตัดกลวงหนา 15 ซม. กว้าง 60 ซม. ยาว 400 ซม. แยกตัวแปรเป็น 3 ชุด ชุดแรกใช้ปริมาณเหล็กเสริมเป็นตัวแปร ชุดที่สองให้ระยะห่างของชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นตัวแปร และชุดสุดท้ายเป็นตัวอย่างทดสอบช่วงเดียว ใช้เป็นตัวอย่างการทดสอบอ้างอิง ความยาวช่วงทดสอบกำหนดที่ 375 ซม. บรรทุกน้ำหนักเป็นจุดที่กลางช่วง มีช่วงแรงเฉือน 187.5 ซม. ผลทดสอบจะเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีความเครียดสอดคล้อง ให้การกระจายหน่วยแรงอัดในคอนกรีตตามที่เสนอโดย Hognestad ของหน้าตัดธรรมดา และตาม Popovics ของหน้าตัดที่มีการโอบรัด ส่วนค่าหน่วยแรงดึงในเหล็กเสริมใช้ผลการทดสอบแรงดึงจากตัวอย่างทดสอบจริง ผลการทดสอบพบว่ารอยต่อจะมีกำลังสูงตามปริมาณเหล็กที่ใช้ แต่ความโค้งที่จุดวิบัติคำนวณจากค่าการแอ่นตัวจะลดค่าลงตามลำดับ ในตัวอย่างทดสอบที่มีปริมาณเหล็กเสริมมากอาจวิบัติด้วยแรงเฉือนได้ หากค่าหน่วยแรงเฉือนทางราบเกินพิกัด เปรียบเทียบผลการทดสอบกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการดัดชี้ชัดว่า กำลังดัดแตกร้าว กำลังดัดที่จุดคราก และค่าสติฟเนสก่อนการคราก สอดคล้องกันอย่างมาก โดยค่าความแตกต่างอยู่ในพิกัดไม่เกินร้อยละ 5 การกำหนดค่าดัชนีความเหนียวจากการต่อเนื่องเกินกว่า 3 เพื่อให้เกิดจุดหมุนพลาสติกได้ พบว่าจะต้องมีปริมาณเหล็กเสริมไม่เกิน 0.41 ของปริมาณที่ภาวะสมดุล และปริมาณเหล็กเสริมขั้นต่ำเพื่อควบคุมการแตกร้าวและการกระจายซ้ำไม่เกินร้อยละ 20 ตาม ACI 318R-99 จะต้องไม่น้อยกว่า 0.23 ของปริมาณที่ภาวะสมดุล ในกรณีที่มีความกว้างรอยต่อเป็นตัวแปรที่ 5, 15 และ 25 ซม. มีผลให้การลดแรงดัดที่ศูนย์กลางแท่นรองรับของรอยต่อลงร้อยละ 11, 13 และ 15 ตามลำดับ อนึ่งพฤติกรรมการโอบรัดของหน้าตัดรอยต่อ พบว่ามีนัยสำคัญต่อกำลังดัดประลัยน้อยมาก แต่จะมีผลต่อความเหนียวทางโครงสร้างในเชิงอนุรักษ์มากขึ้น แนวทางการออกแบบรอยต่อของแผ่นพื้นสำเร็จรูปหน้าตัดกลวงอาจพิจารณาคำนวณโมเมนต์ดัดที่รอยต่อด้วยน้ำหนักบรรทุกจรได้สูงถึง 1.75 ของพื้นช่วงเดียว ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบแรงเฉือนทางราบที่ผิวสัมผัสก่อนด้วยค่าประลัยไม่เกิน 0.61 (กก./ตร.ซม.) การคำนวณออกแบบสามารถใช้วิธีการตามมาตรฐานการออกแบบทั่วไปได้ ที่ต้องตรวจสอบปริมาณเหล็กสูงสุดและปริมาณเหล็กต่ำสุด อีกทั้งจะต้องมีการตรวจสอบการแอ่นตัวด้วยค่าโมเมนต์ความเฉื่อยแตกร้าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหน้าตัดเต็ม เทียบกับพิกัดตามมาตรฐานการออกแบบทั่วไปได้
Other Abstract: This research has concentrated on continuity behavior of precast prestressed hollow core slab system by means of static loading tests up to failure. The specimens are two span continuous slab with rectangular section of 15x60 cm. and 400 cm. in length. Three test series were carried out of eight specimens; first amount of steel is variable, second space between precast element is variable and the last simply supported slab is tested as the control. Test set-up is arranged for clear span length of 375 cm. with midspan point load and a shear span of 187.5 cm. The test result will be compared with the analysis by means of strain compatibility method, using stress-strain distributions as the Hognestad's model for unconfined section and the Popovics's one for confine sections, Tension responses are conforming to the tensile testing from each test sample. The results have indicated that the joint strength increases with amount of the reinforcement but the curvature at failure calculated from corresponding deflection are decreased except the one where shear failure has exhibited the mode of failure for high percentage of reinforcement. The test results as compared to the analysis ones have shown moment at cracking, yield and the stiffness before yielding to be very good agreement. The ductility index for continuity of continuous slab is higher than 3, to form the plastic hinged, then the reinforcements should not exceed 0.41 of the amount at balance condition. The minimum reinforcement to control cracks and the redistribution of moment according to ACI 318R-99, is determined at 0.23 of the one at balance condition. Spaces of the precast elements at 5, 15 and 25 cm. are influenced the reduction of bending moment to 11, 13 and 15 % of the moment at center respectively. Confinement behavior of joint subjected to the compression face on the support has no significant effect on the ultimate moment but they are greatly influence its on ductility. The design concept of the joint for continuity of hollow core slab, the action for ultimate capacity can be as high as 1.75 times design live load of simple span, but the horizontal shear must be checked not to exceed 0.61 (ksc.). The design method can employ the conventional standard considering the maximum and minimum reinforcements. The deflection should also be checked using the effective moment of inertia not less than 25% of the gross one to conformed with the design standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11198
ISBN: 9740312705
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monkiat.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.