Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11212
Title: แนวทางการพัฒนาที่ตั้งและโครงข่ายท่าข้าว : กรณีศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Other Titles: The development guildelines for location and network of rice market : the case study of lower northeast region
Authors: สร้อยสุข พงษ์พูล
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Banasopit.M@Chula.ac.th
Subjects: ท่าข้าว -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ข้าว -- การค้า
ข้าว -- การตลาด
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดที่ตั้งและโครงข่ายท่าข้าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร โดยสรุปและเสนอแนะพื้นที่ที่เหมาะสมกับการจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของท่าข้าว ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น สำหรับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดที่ตั้งและโครงข่ายท่าข้าว ได้จากการศึกษาปัจจัยจากทฤษฎีแหล่งที่ตั้ง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตลาดข้าวจากหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับท่าข้าวในภูมิภาคอื่น สรุปเป็นปัจจัยที่ใช้กำหนดที่ตั้งและโครงข่ายท่าข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดที่ตั้งท่าข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะประกอบด้วย ปัจจัยด้านแหล่งที่ตั้ง ปัจจัยด้านแรงงาน ปัจจัยด้านการคมนาคม ปัจจัยด้านโรงสี ปัจจัยด้านการบริการขั้นพื้นฐาน ปัจจัยด้านตลาดส่งออก ปัจจัยด้านท่าเรือ ปัจจัยด้านขอบเขตตลาด ปัจจัยด้านการรวมกลุ่มของเกษตรกร ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสถาบันการเงิน ปัจจัยทั้งหมด ถูกนำมาลำดับความสำคัญ โดยจัดทำแบบสอบถามความต้องการของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาทั้ง 9 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร จำนวน 120 ราย กลุ่มผู้ประกอบการโรงสีข้าว จำนวน 32 ราย กลุ่มผู้ประกอบกิจการตลาดข้าว จำนวน 7 ราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดข้าว จำนวน 80 ราย จำแนกเป็นพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 27 ราย เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด จำนวน 34 รายและเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัด จำนวน 19 ราย รวมแบบสอบถามทั้งหมด 239 ราย ข้อมูลจากการจัดลำดับความสำคัญโดยกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาจะถูกแปลงเป็นค่าน้ำหนัก เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ โดยการเฉลี่ยอัตราส่วนร้อยละของแต่ละปัจจัย พร้อมกับการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ศึกษา ปรับฐานข้อมูลให้เป็นฐานเดียวกันโดยใช้ค่ามาตรฐาน นำมาให้ค่าน้ำหนักตามลำดับความสำคัญของปัจจัย สรุปเป็นที่ตั้งและโครงข่ายท่าข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดที่มีศักยภาพสูงที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา รองลงมา คือ จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุบลราชธานี เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นศูนย์กลางท่าข้าวระดับภูมิภาค โดยมีอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด มีศักยภาพสูงที่สุดในการจัดตั้งเป็นศูนย์กลางท่าข้าวในระดับท้องถิ่น
Other Abstract: To study the factors that define locations and network of rice market in the lower northeast region, composing of Chaiyaphum, Nakhon Ratchasima, Buri Ram, Surin, Si Sa Ket, Ubon Ratchathani, Yasothon, Amnat Charoen and Mukdahan. Form analyzing the factor upon utilizing "Location theory", a summary of recommendation of proper lacation for building rice network center for the region and local area is then reached. A research concerning the rice market from the public and private sector, including a comparison of study of rice network from other regions are summarized as the factor in identifying the best location and network of rice market in the lower northeast region. Factors concerning the guidelines for location and network of rice in the lower northeast region composed of factors regarding to location, labour, transportation, rice mill, basic management, export values, sea ports, marketing limitation, people federation of agriculturer, communication and finance. All these factors are collected in order to conduct questionnaires for a target group within 9 provinces in which composing of : Agricuture group : 120, Rice mills : 32, Rice marketing : 7, Network concerning with the rice market : 80 ; 27 fields were identified as the employees of United Bank of agriculture while 34 were agriculture officers, and 19 were commercial officers. The total questionnaries of 239. To analyze the potential of the right location by Average Percentage Weighting of the total factors, each factors were indexed and transfered into weight value. Together with the analysis of basic study without transfering factors into weight value but rather on the level of consequence of each factor to summarize the proper location and network of rice market for the lower northeast region. The most classified province is Nakon Ratchasima, Ubon Ratchathani, Buri Ram, Surin, Si Sa Ket, Chaiyaphum, Yasothon, Amnat Charoen and Mukdahan, Nakhon Ratchasima and Ubon Ratchathani are the most suitable location for establishing regional rice center in which each municiple is suitable for establishing local rice center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11212
ISBN: 9746357662
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soysook_Ph_front.pdf808.04 kBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_ch1.pdf717.9 kBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_ch2.pdf927.63 kBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_ch3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_ch5.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_ch6.pdf820.33 kBAdobe PDFView/Open
Soysook_Ph_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.