Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11216
Title: กฎหมายระหว่างประเทศกับปัญหาการใช้สิทธิในวงโคจรสถิตย์ของดาวเทียม
Other Titles: International law and problems concerning rights in geostationary satellite orbit
Authors: ชูเกียรติ น้อยฉิม
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
สรจักร เกษมสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อวกาศ
ดาวเทียมในโทรคมนาคม
กฎหมายระหว่างประเทศ
วงโคจรสถิตย์
กฎหมายอวกาศ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาถึงปัญหาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเข้าใช้สิทธิประโยชน์ในวงโคจรสถิตย์ของดาวเทียมที่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมโลก ผลของการศึกษาวิจัยพบว่า วงโคจรสถิตย์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศและเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดซึ่งมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ ที่ทุกประเทศมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสำรวจและเข้าใช้ประโยชน์ ถึงแม้ว่านับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เป็นต้นมา สังคมโลกจะได้พยายามร่วมมือกันสร้างระบบกฎเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแผนงานและใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ประโยชน์จากวงโคจรสถิตย์ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับการเข้าใช้ประโยชน์จากวงโคจรสถิตย์ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอโดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากความไม่ชัดเจนและช่องโหว่ของกฎเกณฑ์ที่นำมาปรับใช้กับเรื่องนี้ ดังนั้น จึงทำให้บางประเทศได้อาศัยเป็นช่องทางในการดำเนินการตีความกฎเกณฑ์ต่างๆ ไปในทางที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับตนเองจนเกินขอบเขตแห่งความมุ่งหมายของกฎเกณฑ์เหล่านั้น โดยจะเห็นได้ว่าบางประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตรได้มีการกล่าวอ้างอำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือพื้นที่ในวงโคจรสถิตย์ที่อยู่ใกล้กับอาณาเขตของตน นอกจากนี้บางประเทศยังได้อาศัยหลักเกณฑ์ที่ว่าใครมาก่อนได้สิทธิก่อนและหลักเสรีภาพในห้วงอวกาศมาใช้กล่าวยืนยันถึงความถูกต้องของตนเองต่อสังคมโลกในการที่จะเข้าใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่ตั้งของดาวเทียมในวงโคจรสถิตย์ให้มากและยาวนานที่สุดจนดูเหมือนว่าจะเป็นการเข้าครอบครองที่ถาวร ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากการกระทำดังกล่าวแล้วจะพบว่าการกระทำบางอย่างแม้จะไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ทางกฎหมายก็ตามแต่หากพิจารณาในแง่ของความชอบธรรมและการอยู่รวมกันโดยสันติแล้วดูเหมือนจะไม่เป็นธรรม รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศอื่นๆ ด้วย ดังนั้นหากหล่อยให้มีการดำเนินการอยู่เช่นเดิมอีกโดยไม่มีการแก้ไขปรับปรุงใดๆ ในอนาคตอาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกก็ได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอว่าสังคมโลกควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎเกณฑ์ที่มีอยู่และให้มีการพิจารณาบัญญัติกฎเกณฑ์โดยเฉพาะขึ้นมาที่เกี่ยวกับการเข้าใช้ประโยชน์จากวงโคจรสถิตย์ เพื่อนำมาใช้อุดช่องโหว่ของกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นและควรที่จะมีการกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างห้วงอวกาศและห้วงอวกาศให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรม
Other Abstract: The main purpose of this research is to study international problems related to the right to use a geostationary satellite orbit (GSO) that may affect the global community. The geostationary satellite orbit (GSO), as part of outer space, is a limited natural resource that has both economic value and value for space technology development. All countries have equal rights for use and exploration of GSO. Although the world community has been making concerted efforts to develop a system for planning and regulating the use of GSO since 1963, there have been principal problems associated with the right to use the GSO. These problems stem from ambiguities and loopholes in relevant legal principles. Some countries have taken advantage of these ambiguities and loopholes in the law in order to further their interests from the GSO by over-interpreting such principles in ways that were not originally intended. Some countries, particularly the equatorial nations, claim sovereignty over corresponding segments of the GSO superjacent to their territories. Other countries concurrently appeal to the first-come, first-served principle and the freedom of outer space in order to confirm their rights for using more and longer orbital positions or to preserve more orbital slots than needed. Thus, this situation is that the actual use appears as a permanent rather than the intended temporary occupation of orbital positions. Consequently, when some activities are considered, they are found not to conflict with principles of law but conflict with fairness, peaceful co-habitation as well as affecting other's interests. Hence, if the global community does not take action in order to solve these problems, international problems will arise again in the future. It is recommended that the global community, in order to be rid of the ambiguities and to close the loopholes associated with the principles of law and therefore to promote fairness and equity, should review the existing rules and establish a new rule as a sui generis regime for planning and regulating the use of the GSO. A definite agreement on the delimitation of air space and outer space on global basis would also be equally desirable
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11216
ISBN: 9746358758
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chukeat_No_front.pdf821.69 kBAdobe PDFView/Open
Chukeat_No_ch1.pdf714.43 kBAdobe PDFView/Open
Chukeat_No_ch2.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Chukeat_No_ch3.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Chukeat_No_ch4.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Chukeat_No_ch5.pdf895.13 kBAdobe PDFView/Open
Chukeat_No_back.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.