Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1132
Title: | การสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547 |
Other Titles: | Communication of Foundation for Women on violence against women (B.E.2527-2547) |
Authors: | นิรมล บางพระ, 2524- |
Advisors: | อวยพร พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Uayporn.P@chula.ac.th |
Subjects: | มูลนิธิผู้หญิง การสื่อสาร ความเสมอภาค ความรุนแรงต่อสตรี |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสตรี พ.ศ. 2527-พ.ศ. 2547 เป็นการวิจัยที่ใช้วิจัยแบบสหวิธีการ (Multiple Methodology) ด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ในส่วนของการศึกษาจากเอกสาร ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของมูลนิธิผู้หญิงต่อสตรีที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, สื่อวิดีทัศน์, ข่าวที่นำเสนอโดยสื่อมวลชนเรื่องความเคลื่อนไหวของมูลนิธิผู้หญิงและแฟ้มประวัติการเข้ารับบริการของสตรีที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนการศึกษาของแบบสอบถามได้สอบถามสมาชิกจดหมายข่าวศูนย์ข่าวผู้หญิงจำนวน 100 คน และในส่วนการศึกษาของการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก คือ การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่มูลนิธิผู้หญิง 5 คน และการสัมภาษณ์สตรีที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวที่เข้าใช้บริการที่มูลนิธิผู้หญิง 10 คน ผลการวิจัยพบว่าการใช้สื่อในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของสตรีมีการจัดทำขึ้นและมีความหลากหลายของสื่อในการใช้งานในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย แต่สื่อที่ดีที่สุดในการสื่อสารระหว่างมูลนิธิผู้หญิงกับสตรีที่เข้ารับบริการคือ สื่อบุคคล เพราะสื่อบุคคลนั้นเป็นผู้ที่จะเข้าถึงผู้ที่ประสบปัญหาได้เนื่องจากผู้ประสบปัญหามีความเชื่อใจและสามารถปรึกษาแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ สื่อบุคคลที่สำคัญอีกสื่อคือ อาสาสมัครของมูลนิธิที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมูลนิธิกับประชาชนในพื้นที่ ในการให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องในสิ่งที่มูลนิธิต้องการสื่อสารให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจและบรรลุวัตถุประสงค์ที่มูลนิธิตั้งไวั จากการดำเนินการกว่า 20 ปี ที่ผ่านมาของมูลนิธิผู้หญิงพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการสื่อสารกับสตรีที่ประสบปัญหาครอบครัวที่ให้ทั้งความรู้ควบคู่กับการรณรงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับสตรีประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยอมรับในเรื่องของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวว่าไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวอีกต่อไปสังคมต้องมีส่วนในการร่วมดูแลจึงทำให้เนื้อหาของสารและสื่อที่นำเสนอจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วย |
Other Abstract: | The research of the communication of Foundation for Women in 2527-2547 is a multiple methodology research by studying from documentary research, questionnaire and in-dept interviews. In the documentary study, the researcher have collected all information about the communication of the Foundation for Women such as public medias, electronic medias, video cassette including the news of foundation movement and service files. The study especially focus on abused women from their families. In the questionnaire study, 100 women from Women News Center answer by direct mail, The in-dept interview the researcher has got from 5 officers from Foundation for Women, 10 abused women from the foundation service. The result from this research show that using the mass medias by means of protecting and solving womens problem are different in any target groups but the best way of communication between the Foundation for Women and abused women who got service is the personal medias. The personal medias can reach them in detailand make them more comfort to consult each other. Another important, personal medias is the foundation volunteer who have to connect with people in their area. They have to communicate in order to give knowledge and right information of the foundation to the target groups and make them understand and get through foundation. 20 Years past, The Foundation for Women have change to communicated with women who have familys problem by giving a knowledge and claiming women right campaign at the same time. The changing in society causes everyone to accept the violent problem in families. It isnt the individual problem anymore but everyone in the society take part to handle and adjust the message for communicated and medias present follow by eras. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1132 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.276 |
ISBN: | 9745313688 |
DOI: | 10.14457/CU.the.2004.276 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Niramon.pdf | 7.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.