Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11542
Title: | การอ้างอิงวรรณคดีในบทละครโนที่มีที่มาจากเรื่องอิเซะ โมะโนะงะตะริ |
Other Titles: | Allusions in the Ise Monogatari plays of the Noh theatre |
Authors: | สุนิศา ธรรมาวิวัฒน์ |
Advisors: | เสาวลักษณ์ สุริยะวงศ์ไพศาล รังสิมา บุญสินสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Saowalak.S@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ละครโนะ บทละครญี่ปุ่น วรรณคดีญี่ปุ่น |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาวิธีการอ้างอิงวรรณคดีต่างๆ ในบทละครโนที่มีที่มาจากเรื่องอิเซะโมะโนะงะตะริ และเพื่อศึกษาคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่เกิดจากการอ้างอิงวรรณคดีในบทละครโน โดยศึกษาจากบทละครโน 2 เรื่อง จำนวน 3 ฉบับ คือ เรื่องคะกิท์ซุบะตะ เรื่องอุนรินอินฉบับใหม่และเรื่องอุนรินอินฉบับเดิม ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะวิธีการอ้างอิงวรรณคดีในบทละครของทั้ง 2 เรื่องมี 2 ลักษณะดังนี้ 1. อ้างอิงจากเนื้อเรื่องที่เป็นร้อยแก้ว 2. อ้างอิงจากบทกวี โดยแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ อ้างอิงจากบทกวีทั้งบทและอ้างอิงจากบทกวีเพียงบางส่วน การนำบทกวีมาอ้างอิงเพียงบางส่วนในบางกรณีนั้นทำให้อารมณ์ ความรู้สึก และความหมายของบทกวีแตกต่างไปจากต้นฉบับเดิมแต่กลมกลืนไปกับบริบทใหม่ในบทละคร และคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่เกิดจากการอ้างอิงในบทละครโนคือทำให้บทละครนั้นๆ เพิ่มความไพเราะ ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ ทำให้ผู้อ่านละครสามารถโยงความคิดเข้าใจเรื่องราวได้ถูกต้องรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นการอ้างอิงวรรณคดียังทำให้ภาพพจน์ และความหมายในบทละครชัดเจนมากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | This thesis aims at studying 3 texts of the Ise monogatari plays of the Noh theatre: Kakitsubata, Unrin'in:a new version and Unrin'in:an old version in order to know the means of literary allusions as well as to evaluate their literary values. The study comes up with two means of literary allusions as follows: 1. prose allusions 2. poetic allusions which can be divided into full and partial allusions. Partial poetic allusions, in some cases, create emotion different from the original poems, but harmonize with the new context in the play. The literary values of allusions in Noh plays include more beautiful images and emotional impact on the readers. The readers can also associate idea and understand the play precisely and quickly. Moreover, the allusions can also reinforce the play's images and meanings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่น |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11542 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.362 |
ISBN: | 9740310818 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.362 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunisa.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.