Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11639
Title: การประหยัดจากขนาดและจากการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย
Other Titles: Scale and scope economies of the property and casualty insurance business in Thailand
Authors: รณกมล อายุวัฒนากุล
Advisors: ฐิติวดี ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Thitivadee.C@Chula.ac.th
Subjects: ประกันภัย
ประกันวินาศภัย
การจัดการธุรกิจ
การประกันวินาศภัย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการประหยัดจากขนาดและจากการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย จำนวน 61 บริษัท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536-2541 โดยจะศึกษาภาพรวมของธุรกิจ และแบ่งขนาดบริษัทเป็นบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็กด้วยเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา 4 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยตัวเรือและสินค้า การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ซึ่งใช้แบบจำลอง Translog Cost Function ร่วมกับสมการส่วนแบ่งต้นทุน (Cost Share Equations) และในการประมาณค่าใช้วิธี Iterative Seemingly Unrelated Regression ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ต้นทุนการดำเนินงาน ผลผลิต โดยแบ่งตัวแทนผลผลิตเป็น 2 กรณี คือเบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน และปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย ปัจจัยแรงงาน ปัจจัยทุนและวัตถุดิบ ปัจจัยทุนทางการเงิน และปัจจัยอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบและเมื่อแบ่งตามขนาดบริษัท มีการประหยัดจากขนาดการผลิตโดยรวมทั้ง 2 กรณีตัวแทนผลผลิต สำหรับการประหยัดจากขนาดการผลิตโดยเฉพาะแต่ละประเภทพบว่าควรขยายการรับประกันภัยตัวเรือและสินค้าเพิ่มมากกว่าการรับประกันภัยประเภทอื่น เนื่องจากยังใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ไม่เต็มประสิทธิภาพ และพบว่าปัจจัยแรงงานโดยเฉพาะตัวแทนและนายหน้ารับประกันภัยเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญต่อธุรกิจดังกล่าวด้วย ผลการศึกษาการประหยัดจากการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจของธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบ และแบ่งตามขนาดบริษัททั้ง 2 ขนาดพบว่า การใช้ปัจจัยการผลิตทุกประเภทร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมการรับประกันภัยและการลงทุนนั้นไม่ก่อให้เกิดการประหยัดจากการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นไปได้ที่ว่าการนำปัจจัยการผลิตมาใช้ร่วมกันนั้น มิได้ก่อให้เกิดการประหยัด เมื่อธุรกิจประกันวินาศภัยขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจไปในประเภทอื่นๆ
Other Abstract: The objective of this research is to study the scale and scope economies of the property and casualty insurance business in Thailand on a sample of 61 companies over the period 1993-1998. The property and casualty insurance industry was stratifies by net written premiums. This study covers four lines of insurance business : fire, hull and cargo, automobile and miscellaneous. A translog cost function and cost share equations are estimated using iterative seemingly unrelated regression method. Data for this study consist of the operation cost, premium and claim by line as proxies of outputs, and labor, physical capital and material, financial capital, and miscellaneous input as proxies of inputs. The results show that property and casualty insurance industry on overall basis and as classified by size have economies of scale. Product-specific scale economies of hull and cargo insurance should increase production more than the other lines. That is the hull and cargo insurance business is still not efficient. The results imply that labor is an important input factor especially agents and brokers. The finding on the scope economies indicates that we observe diseconomies of scope for overall non-life insurance business and two size-stratified companies. It is possible that sharable input factors are not the purpose of cost saving for the property and casualty insurance industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประกันภัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11639
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.375
ISBN: 9740313043
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.375
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ronkamol.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.