Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11782
Title: ความตระหนักและทัศนคติของอาจารย์ในเรื่องบริการตอบคำถาม ของหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Faculty awareness and attitudes on reference service of The Central Library, Chulalongkorn University
Authors: ทิพวรรณ กาลกฤษณ์
Advisors: นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หอสมุดกลาง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาจารย์ -- ทัศนคติ
บริการตอบคำถาม
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มี 3 ประการคือ 1) ศึกษาความตระหนักของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่องบริการตอบคำถามของหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ 2) ศึกษาการใช้และจุดประสงค์ในการใช้บริการตอบคำถามของอาจารย์ 3) ศึกษาทัศนคติความต้องการและความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อบริการตอบคำถาม สมมติฐานในการวิจัยมีดังนี้ 1) อาจารย์ส่วนใหญ่มีความตระหนักในบริการตอบคำถามประเภทต่างๆ ปานกลาง 2) ตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มสาขาวิชา อัตราความถี่ของการใช้บริการตอบคำถาม ระยะเวลาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย และจุดประสงค์ของการใช้บริการตอบคำถามที่แตกต่างกัน มีผลทำให้ความตระหนักของอาจารย์เรื่องบริการตอบคำถามแตกต่างกัน 3) ทัศนคติของอาจารย์ที่มีต่อบริการตอบคำถามอยู่ในระดับดี วิธีวิจัยใช้การสำรวจและเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นอาจารย์ประจำของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเฉพาะที่เป็นสมาชิกหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ ประจำปีการศึกษา 2526/2527 จำนวน 308 คน (50 เปอร์เซ็นต์) จากจำนวนอาจารย์ที่เป็นสมาชิกทั้งสิ้น 616 คน แบบสอบถามที่ส่งไป 308 ชุดนั้นได้รับคืนมา 197 ชุด คิดเป็น 63.96 เปอร์เซ็นต์ แต่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 192 ชุด คิดเป็น 62.034 เปอร์เซ็นต์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้สถิติค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต มัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาเบสิคที่เขียนขึ้นเพื่อการวิจัยครั้งนี้โดย เฉพาะ ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า 1. อาจารย์ส่วนใหญ่ (77.8 เปอร์เซ็นต์) ใช้บริการตอบคำถามนานๆ ครั้ง โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดเพื่อค้นหาข้อสนเทศประกอบการสอน 2. เมื่ออาจารย์ประสบปัญหาการใช้ห้องสมุด อาจารย์ส่วนใหญ่จะขอคำแนะนำจากบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่บริการตอบคำถาม รองลงมาคือ การอ่านป้ายคำแนะนำและคู่มือการใช้ห้องสมุด สำหรับสาเหตุที่อาจารย์บางรายไม่ขอคำแนะนำจากบริการตอบคำถามเพาะอาจารย์เห็น ว่า ขอบเขตแหล่งข้อสนเทศของบริการตอบคำถามมีจำกัด และไม่ลึกซึ้งเพียงพอที่จะแก้ปัญหาและอาจารย์รู้สึกเกรงใจบรรณารักษ์มีท่าที ที่ไม่เป็นมิตร ตามลำดับ 3. จากการศึกษาความตระหนักถึงบริการตอบคำถามของอาจารย์พบว่า บริการตอบคำถาม 7 บริการได้แก่ บริการตอบคำถามที่โต๊ะบริการ บริการหนังสือจอง บริการแนะนำการใช้ห้องสมุดเป็นทางการ บริการแนะนำวิธีรวบรวมบรรณานุกรม การทำรายงานและวิทยานิพนธ์บริการขอถ่ายเอกสารจากบทความหรือหนังสือที่มีใน ห้องสมุดต่างประเทศ บริการขอสาระสังเขปและเอกสารจากห้องสมุดอื่นภายใน ประเทศ และป้ายนิเทศ เป็นบริการที่มีจำนวนผู้ตระหนักถึงปานกลาง 4. เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ตระหนักถึงบริการตอบคำถามจำแนกตามกลุ่มตัวแปรอิสระต่าง ๆ พบว่า ความแตกต่างของสาขาวิชา ตำแหน่งทางวิชาการ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยอัตราความถี่ของการใช้บริการตอบคำถาม และจุดประสงค์ในการใช้บริการตอบคำถาม มีผลทำให้จำนวนผู้ตระหนักถึงบริการตอบคำถามแต่และบริการแตกต่างกัน ผลจากการศึกษาข้อนี้สนับสนุนสมมติฐาน 5. อาจารย์มีความเห็นพ้องว่า บริการตอบคำถามเป็นประโยชน์มากต่อการปฏิบัติงาน และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการ ข้อค้นพบนี้สนับสนุนสมมติฐาน นอกจากนี้อาจารย์ต้องการให้หอสมุดกลางจัดบริการค้นหาและรวบรวมข้อสนเทศเพื่อ การวิจัย และการทำสำเนาหน้าสารบาญวารสารทางวิชาการฉบับล่าสุด ส่งไปตามภาควิชาและคณะ ข้อเสนอแนะ 1. หอสมุดกลาง ควรวางแผนประชาสัมพันธ์บริการตอบคำถามที่มีผู้ตระหนักถึงน้อย แต่อาจารย์เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานมาก เช่น บริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการข่าวสารทันสมัย บริการตอบคำถามทางไปรษณีย์และโทรศัพท์ เป็นต้น ให้อาจารย์ได้รับทราบถึงการให้บริการเหล่านี้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 2. หอสมุดกลาง ควรเตรียมพร้อมที่จะให้บริการตอบคำถามตามที่ประชาสัมพันธ์ออกไป ควรฝึกอบรมบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจถึงกระบวนการสื่อสารระหว่าง บุคคล เพื่อสามารถเชื่อมโยงความต้องการของผู้ใช้บริการกับแหล่งข้อสนเทศ รวมทั้งพิจารณาจัดเตรียมการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เช่น โทรศัพท์ ที่นั่งอ่านและทำงาน และการติดป้ายประกาศต่าง ๆ ประโยชน์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ในการประชาสัมพันธ์งานบริการตอบคำถามให้ แพร่หลาย ตลอดจนเพื่อการพัฒนางานบริการที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น และเสนอบริการใหม่ๆ ที่จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการมากที่สุด
Other Abstract: Studies the extent of Chulalongkorn University instructors'awareness of the reference services rendered by the Central Library, Academic Resource Center, including the extent to which they avail themselves of the service and their purposes in doing so explores their attitudes towards and their needs and satisfaction for the service. Questionnaires were sent to 308 full-time faculty members who were also members of the Central Library, Academic Resource Center, during the academic year 1983/1984, and 197 or 63.96 percnet were returned. Conducts the data analysis by employing statistics percentage, arithmetic mean average, and standard deviation. Presents the results as follows : the majority of faculty members rarely avail themselves of the reference service, and when they do, it is mainly to look for information which relates to their lectures; most faculty members turn to the librarians of the reference service counter for advice and the rest seek guidance by reading suggestion announcement on the bulletin board or a handbook on library use; a moderate number of respondents is aware of the seven types of reference service, and the difference in the respondents' has direct effect on the different degrees of their awareness; and the respondents are all agreed that reference service proves very useful to their undertakings.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11782
ISBN: 9745644293
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tippawan.pdf11.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.